เมนู

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน...ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน...ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[152] ภิกษุผู้ได้รับไปนั้นให้คืนเองก็ดี ภิกษุเจ้าของเดิมถือวิสาสะ
แก่ผู้ได้รับไปนั้นก็ดี 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 5


พรรณนาจีวรอัจฉินทนสิกขาบท


จีวรอัจฉินทนสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในจีวรอัจฉินทนสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
หลายบทว่า ยํปิ ตฺยาหํ ตัดบทเป็น ยํปิ เต อหํ แปลว่า เรา
ได้ให้จีวรแม้ใดแก่ท่าน. ไ่ด้ยินว่า พระอุปนนท์นั้น คิดว่า ภิกษุนี้จัก
นำบาตร จีวร รองเท้า และผ้าปูนอนเป็นต้นของเรา ไปสู่ที่จาริกกับ
เรา จึงได้ให้แล้ว; เพราะเหตุนั้นแล เธอจึงได้กล่าวอย่างนั้น.

[ว่าด้วยการชิงคืน ของภิกษุผู้ให้จีวร]


บทว่า อจฺฉินฺทิ แปลว่า ได้ถือเอาแล้วโดยพลการ. แต่เพราะ
ถือเอาด้วยสำคัญว่าของตน จึงไม่เป็นปาราชิกแก่เธอ. เพราะเธอทำให้
ลำบากแล้วถือเอาจีวร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติอาบัติไว้.

ข้อว่า สยํ อจฺฉินฺทติ นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ มีความว่า สำหรับ
ภิกษุผู้ชิงเอาจีวรผืนเดียว และมากผืนซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน เป็นอาบัติ
ตัวเดียว. เมื่อภิกษุชิงเอาจีวรมากผืนซึ่งไม่เนื่องเป็นอันเดียวกัน และตั้ง
อยู่แยกกัน และเมื่อใช้ให้ผู้อื่นนำมาให้โดยสั่งอย่างนี้ว่า เธอจงนำสังฆาฎิ
มา, จงนำผ้าอุตราสงค์มา เป็นอาบัติมากตัวตามจำนวนวัตถุ. แม้เมื่อ
กล่าวว่า เธอจงนำจีวรทั้งหมดที่เราให้เเล้วคืนมา ก็เป็นอาบัติจำนวนมาก
เพราะคำพูดคำเดียวนั่นแล.
ข้อว่า อญฺญํ อาณาเปติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า สั่งว่า
เธอจงถือเอาจีวร เป็นทุกกฏตัวเดียว. ภิกษุผู้รับสั่งถือจีวรหลายตัว, ก็
เป็นปาจิตตีย์ตัวเดียว เมื่อภิกษุกล่าวว่า เธอจงเอาสังฆาฎิมา, จงเอา
อุตราสงค์มา เป็นทุกกฏ ทุก ๆ คำพูด. เมื่อกล่าวว่า เธอจงเอาจีวรที่เรา
ให้ทั้งหมดคืนมา เป็นอาบัติจำนวนมาก เพราะคำพูดคำเดียว.
สองบทว่า อญฺญํ ปริกฺขารํ มีความว่า บริขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
เว้นจีวรอย่างเล็กที่ควรจะวิกัปได้ โดยที่สุดแม้แต่เข็ม. แม้ในจำพวกเข็ม
ที่ห่อเก็บไว้ ก็เป็นทุกกฏหลายตัวตามจำนวนวัตถุ. ในเข็มที่ห่อไว้หลวม ๆ
(ก็เป็นทุกกฏมากตัวตามจำนวนวัตถุ) อย่างนั้นเหมือนกัน . ในมหาปัจจรี
ท่านกล่าวว่า ก็ในเข็มทั้งหลายที่เขามัดไว้เเน่นเป็นทุกกฏตัวเดียวเท่านั้น.
แม้ในเข็มที่เขาใส่ไว้ในกล่องเข็ม ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ถึงแม้ใน
เภสัชมีเครื่องเผ็ดร้อน 3 ชนิด ที่เขาใส่ไว้ในถุงย่ามมัดไว้หย่อน และมัด
ไว้เป็น ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

[อธิบายการคืนให้เเก่เจ้าของเดิมแห่งภิกษุผู้รับไป]


สองบทว่า โส วา เทติ มีความว่า ให้คืนอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ !