เมนู

ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะเภสัช ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
และน้ำอ้อย ที่สามารถแผ่ไปเพื่อสำเร็จอาหารกิจ ซึ่งทรงอนุญาตไว้ โดย
ชื่อแห่งเภสัชอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตเภสัช 5. เภสัช 5
เหล่านั้น ภิกษุรับประเคนแล้ว พึงบริโภคได้ตามสบายในปุเรภัตในวัน
นั้น, ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป เมื่อมีเหตุ พึงบริโภค ได้ตลอด 7 วัน โดย
นัยดังกล่าวแล้ว.

[อธิบายบทภาชนีย์และอนาปัตติวาร]


ข้อว่า สตฺตาหาติกฺกนฺเต อติกฺกนฺตสญฺญี นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ
มีความว่า แม้ถ้าว่า เภสัชนั้นมีประมาณเท่าเมล็คพันธุ์ผักกาด พอจะเอา
นิ้วแตะแล้วลมด้วยลิ้นคราวเดียว อันภิกษุจำต้องเสียสละแท้ และพึง
แสดงอาบัติปาจิตตีย์เสีย.
ข้อว่า น กายิเกน ปริโภเคน ปริภุญฺชิตพฺพํ มีความว่า ภิกษุ
อย่าพึงเอาทาร่างกาย หรือทาแผลที่ร่างกาย. แม้บริขารมีผ้ากาสาวะ
ไม้เท้า รองเท้า เขียงเช็ดเท้า เตียงและตั่งเป็นต้น ถูกเภสัชที่เป็นนิสสัคคิย-
วัตถุเหล่านั้นเปื้อนแล้ว เป็นของไม่ควรบริโภค ในมหาปัจจรี กล่าวว่า
ที่สำหรับมือจับแม้ในบานประตูและหน้าต่างก็ไม่ควรทำ. ในมหาอรรถ-
กถาท่านกล่าวว่า แต่ผสมลงในน้ำฝาดแล้วควรทาบานประตูและหน้าต่าง
ได้.
ข้อว่า อนาปตฺติ อนฺโตสตฺตาหํ อธิฏฺเฐติ มีความว่า ในภายใน
7 วัน ภิกษุอธิษฐานเนยใส น้ำมัน และเปลวมันไว้เป็นน้ำมันทาศีรษะ
หรือเป็นน้ำมันสำหรับหยอด, อธิษฐานน้ำผึ้งไว้เป็นยาทาแผล น้ำอ้อย

เป็นเครื่องอบเรือน ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าภิกษุประสงค์จะรินน้ำมันที่อธิษฐาน
เอาไว้แล้ว ลงในภาชนะใส่น้ำมันที่ยังไม่ได้อธิษฐาน, ถ้าในภาชนะมี
ช่องแคบ น้ำมันที่ค่อย ๆ ไหลเข้าไป ถูกน้ำมันเก่าล้นขึ้นมาท่วม, พึง
อธิษฐานใหม่. ถ้าภาชนะปากกว้าง น้ำมันมาก ไหลเข้าไปอย่างรวดเร็วจน
ท่วมน้ำมันเก่า ไม่มีกิจที่จะต้องอธิษฐานใหม่. แท้จริง น้ำมันนั้น มีคติ
อย่างน้ำมันที่อธิษฐานแล้ว. ผู้ศึกษาพึงทราบแม้การรินน้ำมันที่ไม่ได้
อธิษฐานลงในภาชนะใส่น้ำมันที่อธิษฐานแล้วโดยนัยนี้.
ในบทว่า วิสฺสชฺเชติ นี้มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าเภสัชนั้นเป็นของ
สองเจ้าของ ภิกษุรูปหนึ่งรับประเคนไว้ ยังไม่ได้แบ่งกัน, ในเมื่อล่วง
7 วันไปไม่เป็นอาบัติแม้ทั้ง 2 รูป, แต่ไม่ควรบริโภค. ถ้ารูปใดรับ
ประเคนไว้ รูปนั้นกล่าวกะอีกรูปหนึ่งว่า ท่านผู้มีอายุ ! น้ำมันนี้ถึง 7วัน
แล้ว, ท่านจงบริโภคน้ำมันนั้นเสีย ดังนี้ และเธอก็ไม่ทำการบริโภค จะ
เป็นอาบัติแก่ใคร ? ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ใคร ๆ ทั้งนั้น. เพราะเหตุไร ?
เพราะรูปที่รับประเคนก็สละแล้ว แสะเพราะอีกรูปหนึ่งก็ไม่ได้รับประ-
เคน.
บทว่า วินสฺเสติ ได้แก่ เป็นของบริโภคไม่ได้.
ในคำว่า จตฺเตน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- เภสัชอันภิกษุสละ
แล้ว ปล่อยแล้ว ด้วยจิตใด, จิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า
สละแล้ว ทิ้งแล้ว ปล่อยแล้ว. ตรัสเรียกบุคคลผู้ไม่มีความห่วงใยด้วยจิต
นั้น. อธิบายว่า ผู้ไม่มีความห่วงใยอย่างนั้นให้แล้วแก่สามเณร. คำนี้ตรัสไว้
เพราะเหตุไร ? ท่านพระมหาสุมเถระกล่าวว่า ตรัสไว้เพื่อแสดงว่าไม่เป็น

อาบัติ แก่ภิกษุผู้ให้แล้วในภายใน 7 วันอย่างนั้น ภายหลังได้คืนมา
แล้วฉัน.
ส่วนท่านพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า น้ำมันนี้ ภิกษุไม่ควรขอ.
ด้วยว่าในเพราะการบริโภคใหม่ ซึ่งน้ำมันที่ให้ไปแล้วในภายใน 7 วัน
ไม่มีอาบัติเลย, แต่ตรัสคำนี้ไว้ ก็เพื่อแสดงว่าไม่เป็นอาบัติในเพราะบริโภค
น้ำมันที่ล่วง 7 วันไป. เพราะเหตุนั้น เภสัชที่เขาถวายแล้วอย่างนี้
ถ้าสามเณรปรุงแล้ว หรือไม่ได้ปรุง ถวายแก่ภิกษุนั้นเพื่อกระทำการนัตถุ์.
ถ้าสามเณรเป็นผู้เขลา ไม่รู้เพื่อจะถวาย, ภิกษุอื่นพึงบอกเธอว่า แน่ะ
สามเณร ! เธอมีน้ำมันหรือ ? เธอรับว่า ขอรับ มีอยู่ ท่านผู้เจริญ !
ภิกษุนั้นพึงบอกเธอว่า นำมาเถิด, เราจักทำยาถวายพระเถร ะ. น้ำมัน
ย่อมควรแม้ด้วย (การถือเอา) อย่างนี้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เป็นอกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3
มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
เภสัชชสิกขาบท จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 4
เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[145] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพ-