เมนู

[อธิบายคำว่าสังฆาทิเสส]


คำว่า สังฆาทิเสส เป็นชื่อของกองอาบัตินี้. เพราะเหตุนั้น
ผู้ศึกษาพึงทราบสัมพันธ์ในสิกขาบทนี้อย่างนี้ว่า การปล่อยสุกกะมีความ
จงใจเว้นความฝันอันใด, อันนี้เป็นกองแห่งอาบัติชื่อสังฆาทิเสส. ก็แล
เนื้อความเฉพาะคำในบทว่า สังฆาทิเสส นี้ ว่า สงฆ์อันภิกษุ
พึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่งกองอาบัตินั้น;
เพราะฉะนั้น กองอาบัตินั้น จึงชื่อสังฆาทิเสส. มีคำอธิบายอย่างไร ?
มีคำอธิบายว่า ภิกษุต้องอาบัตินี้แล้วพึงปรารถนาสงฆ์ เพื่อประโยชน์
แก่ปริวาสในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัติ ของผู้ใคร่จะออก และ
เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตรวม
กับมูลายปฏิกัสสนา ในกรรมอันเป็นท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่อัพภาน
ในกรรมที่สุด ซึ่งเหลือจากกรรมเป็นเบื้องต้น เพราะว่า บรรดากรรม
เหล่านี้ กรรมแม้อันหนึ่ง เว้นสงฆ์เสียแล้ว ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำได้.
สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และกรรมที่เหลือแห่งกอง
อาบัตินั้น. เพราะฉะนั้น กองอาบัตินั้น จึงชื่อว่าสังฆาทิเสส.
ก็แล เพื่อไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะ แสดงแต่ใจความเท่านั้น พระ-
มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า สังฆาทิเสส นั้น ดังนี้ว่า
สงฆ์แล ย่อมให้ปริวาส เพื่ออาบัตินั้น ย่อมชักเข้าหาอาบัติเดิม ย่อมให้
มานัต ย่อมอัพภาน, ไม่ใช่ภิกษุมากรูป ไม่ใช่บุคคลผู้เดียว; เพราะเหตุ
นั้น อาบัตินั้น ท่านจึงเรียกว่า สังฆาทิเสส. และตรัสเหตุแห่งคำไว้ใน
คัมภีร์ปริวารว่า

อาบัติที่เรากล่าวว่า สังฆาทิเสส, ท่านจงฟังอาบัตินั้น
ตามที่ได้กล่าวแล้ว, สงฆ์เท่านั้น ย่อมให้ปริวาส ย่อมชักเข้า
หาอาบัติเดิม ย่อมให้มานัต ย่อมอัพภาน; เพราะเหตุนั้น
อาบัตินั้น บัณฑิตเรียกว่า สังฆาทิเสส.

สองบทว่า ตสฺเสว วา อาปตฺตินิกายสฺส มีความว่า (อีกอย่างหนึ่ง
กรรมเป็นชื่อสำหรับเรียก) ประชุมแห่งอาบัตินั้นนั่นเอง. ในพระบาลีนั้น
อาบัตินี้ มีเพียงตัวเดียว แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นนิกายศัพท์ท่านกล่าวด้วย
รุฬหิศัพท์ หรือด้วยโวหารที่เรียกส่วนทั้งหลายรวมกัน อย่างขันธศัพท์
ในคำว่าว่า เวทนาขันธ์หนึ่ง วิญญาณขันธ์หนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกสิกขาบทที่พระองค์ทรงอุเทศ
ไว้ตามลำดับอย่างนั้นแล้ว บัดนี้ จึงตรัสคำว่า อชฺฌตฺตรูเป โมเจติ เป็น
อาทิ เพื่อแสดงอุบาย กาล ความประสงค์และวัตถุแห่งความประสงค์ของ
ภิกษุผู้ถึงการปล่อยสุกกะนี้

[อธิบายบทภาชนีย์ว่าด้วยเหตุให้ปล่อยสุกกะ]


จริงอยู่ ในส่วนทั้ง 4 มีอุบายเป็นต้นนี้ อุบายทรงแสดงแล้ว
ด้วย 4 บท มีอัชฌัตตรูปเป็นต้น เพราะว่า ภิกษุพึงปล่อยในรูปภายใน
บ้าง ในรูปภายนอกบ้าง ในรูปทั้งสองบ้าง พึงแอ่นเอวในอากาศปล่อย
บ้าง. อุบายอื่นนอกจากนี้ ย่อมไม่มี. ในอุบายนั้น ภิกษุพยายามปล่อย
ในรูปก็ดี พยายามปล่อยด้วยรูปก็ดี พึงทราบว่า "ปล่อยในรูปทั้งนั้น"
เพราะว่าเมื่อมีรูป เธอจึงปล่อยได้, ไม่ได้รูป ปล่อยไม่ได้ ฉะนี้แล.
ส่วนกาลทรงแสดงด้วย 5 บท มีราคะอุปถัมภ์เป็นต้น. จริงอยู่