เมนู

มีคติอย่างน้ำผึ้งเหมือนกัน. แมลงผึ้งตัวยาวมีปีก ชื่อว่า จิริกะ, แมลงภู่
ใหญ่ตัวดำมีปีกแข็ง มีชื่อว่า ตุมพละ. ในรังของแมลงผึ้งเหล่านั้น มีน้ำผึ้ง
คล้ายกับยาง. น้ำผึ้งนั้นเป็นยาวชีวิก.

[อธิบายเภสัชว่าด้วยน้ำอ้อย]


ข้อว่า ผาณิตนินาม อจฺฉุมฺหา นิพฺพตฺตํ มีความว่า น้ำอ้อยชนิด
ที่ยังไม่ได้เคี่ยว หรือที่เคี่ยวแล้วไม่มีกาก หรือที่ไม่มีกากแม้ทั้งหมดจน
กระทั่งน้ำอ้อยสดพึงทราบว่า น้ำอ้อย. น้ำอ้อยนั้นที่ภิกษุรับประเคนก่อน
ฉัน แม้เจืออามิส ก็ควรในปุเรภัต. ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป ไม่เจืออามิสเลย
จึงควรตลอด 7 วัน . ในเมื่อล่วง 7 วันไป เป็นนิสสัคคีย์ตามจำนวนวัตถุ.
ก้อนน้ำอ้อยแม้มากภิกษุย่อยให้เเหลกแล้ว ใส่ไว้ในภาชนะเดียวกัน ย่อม
จับรวมกันแน่น, เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว. น้ำอ้อยที่เป็นอุคคหิตก์
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. พึงน้อมเข้าไปในกิจอื่นมีการอบ
เรือนเป็นต้น .
ผาณิตที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสดที่ยังไม่ได้กรอง ซึ่งภิกษุรับประเคนไว้
ในเวลาก่อนฉัน ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิส ก็ควร. ถ้าภิกษุทำเอง
ไม่เจืออามิสเลย จึงควร. ก็จำเดิมแต่ปัจฉาภัตไป ไม่ควรกลืนกิน เพราะ
เป็นของรับประเคนทั้งวัตถุ. แม้ในเมื่อล่วง 7 วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ.
แม้ที่เขาทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่ภิกษุรับประเคนทั้งที่ยังไม่ได้กรองในปัจฉาภัต
ก็ไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน . แม้ในเมื่อล่วง 7 วันไปก็ไม่เป็นอาบัติ แม้
ในผาณิตที่ภิกษุรับประเคนอ้อยลำทำ ก็มีนัยอย่างนี้.
ก็ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยสดที่กรองและรับประเคนไว้ในกาลก่อนฉัน

ถ้าอนุปสัมบันทำ แม้เจืออามิส ก็ควรในปุเรภัต. ตั้งแต่ปัจฉาภัตไป
ไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด 7 วัน. ที่ทำเองไม่เจืออามิสเลย ย่อมควร
แม้ในปุเรภัต, จำเดิมแต่ปัจฉาภัตไปไม่เจืออามิสเหมือนกัน ควรตลอด
7 วัน. แต่ผาณิตทำด้วยน้ำอ้อยสด ที่กรองและรับประเคนแล้ว ใน
ปัจฉาภัต ปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควรตลอด 7 วัน, ผาณิตที่เป็น
อุคคหิตก์ มีดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
ในมหาอรรถกถาท่านกล่าวว่า ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยเผาก็ดี ผาณิต
ที่ทำด้วยน้ำอ้อยหีบก็ดี ควรแต่ในปุเรภัตเท่านั้น. ส่วนในมหาปัจจรี
ท่านตั้งคำถามว่า ผาณิตที่เคี่ยวทั้งวัตถุ (กาก) นี้ ควรหรือไม่ควร ? ดังนี้
แล้วกล่าวว่า ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยสด ชื่อว่าไม่ควรในปัจฉาภัต ย่อม
ไม่มี. คำนั้นถูกแล้ว.
ผาณิตดอกมะซางที่เขาทำด้วยน้ำเย็น แม้เจืออามิส ก็ควรในปุเรภัต.
จำเดิมแต่ในปัจฉาภัต ไป ไม่เจืออามิสเลย จึงควรตลอด 7 วัน. ในเมื่อ
ล่วง 7 วันไป เป็นทุกกฏตามจำนวนวัตถุ, ส่วนผาณิตมะซางที่เขาเติม
นมสดทำ เป็นยาวกาลิก. แต่ชนทั้งหลายตักเอาฝ้า (ฟอง) นมสดออก
แล้ว ๆ ชำระขัณฑสกรให้สะอาด; เพราะฉะนั้น ขัณฑสกรนั้น ก็ควร.
ส่วนดอกมะซางสดย่อมควรแม้ในปุเรภัต คั่วแล้วก็ควร . คั่วแล้วตำผสมด้วย
ของอื่นมีเมล็ดงาเป็นต้น หรือไม่ผสม ก็ควร.
แต่ถ้าว่า ชนทั้งหลายถือเอามะซางนั้นประกอบเข้ากัน (ปรุง) เพื่อ
ต้องการเมรัย, ดอกมะซางที่ปรุงแล้วนั้น ย่อมไม่ควรตั้งแต่พืช. ผาณิต
แห่งผลไม้ที่เป็นยาวกาลิกทั้งหมด มีกล้วย ผลอินทผลัม (เป้งก็ว่า) มะม่วง

สาเก ขนุน และมะขามเป็นต้น เป็นยาวกาลิกเหมือนกัน ชนทั้งหลาย
ทำผาณิตด้วยพริกสุก, ผาณิตนั้นเป็นยาวกาลิก.
สองบทว่า ตานิ ปฏิคฺคเหตฺวา มีความว่า ถ้าภิกษุรับประเคน
เภสัช 5 อย่าง มีเนยเป็นต้นแม้ทั้งหมด เก็บไว้ไม่แยกกันในหม้อเดียว
ในเมื่อล่วง 7 วันไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์เพียงตัวเดียว, เมื่อแยกกันเก็บ
เป็นนิสสัคคีย์ 5 ตัว. เอาเภสัช 5 นี้ ยังไม่ล่วง 7 วัน ภิกษุผู้อาพาธก็ดี
ไม่อาพาธก็ดี ควรบริโภคตามสบาย โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

[อธิบายข้อที่ทรงอนุญาตไว้เฉพาะ 7 อย่าง]


ก็ข้อที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะ มี 7 อย่าง คือ อนุญาตเฉพาะ
อาพาธ 1 เฉพาะบุคคล 1 เฉพาะกาล 1 เฉพาะสมัย 1 เฉพาะประเทศ 1
เฉพาะมันเปลว 1 เฉพาะเภสัช 1.
บรรดาอนุญาตเฉพาะ 7 อย่างนั้น ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธ
ได้แก่ ข้อที่ทรงอนุญาตเฉพาะอาพาธอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เราอนุญาตเนื้อสด เลือดสด ในเพราะอาพาธอันเกิดจากมนุษย์*. เนื้อสด
และเลือดสดนั้น ควรแก่ภิกษุผู้อาพาธด้วยอาพาธนั้นอย่างเดียว ไม่ควร
แก่ภิกษุอื่น. ก็แล เนื้อสดและเลือดสดนั้นเป็นกัปปิยะก็ดี เป็นอกัปปิยะ
ก็ดี ย่อมควรทั้งนั้น ทั้งในกาลทั้งในวิกาล.
ที่ชื่อว่าทรงอนุญาตเฉพาะบุคคล ได้แก่ ข้อที่ทรงอนุญาตเฉพาะ
บุคคลอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตการเรออวกแก่ภิกษุผู้
มักเรออวก, ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ที่เรออวกมานอกทวารปากแล้ว ไม่ควร
* วิ. มหา. 5/35