เมนู

เป็นต้น ที่มาในพระบาลี จะกล่าวถึงเนยใสก่อน ที่ภิกษุรับประเคน
ก่อนฉัน ควรจะฉันเจืออามิสก็ได้ ปราศจากอามิสก็ได้ ในเวลาก่อนฉัน
ในวันนั้น. ตั้งแต่ภายหลังฉันไป พึงฉันปราศจากอามิสได้ตลอด 7 วัน.
แม้เพราะล่วง 7 วันไป ถ้าภิกษุเก็บไว้ในภาชนะเดียว เป็นนิสสัคคีย์
ตัวเดียว. ถ้าเก็บไว้ในภาชนะมากหลาย เป็นนิสสัคคีย์หลายตัว ตาม
จำนวนวัตถุ.
เนยใสที่ภิกษุรับประเคนภายหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิสเลย
ตลอด 7 วัน. ภิกษุจะกลืนกินเนยใสที่ตนทำให้เป็นอุคคหิตก์ เก็บไว้ใน
เวลาก่อนฉัน หรือหลังฉัน ย่อมไม่ควร. พึงน้อมไปใช้ในกิจอื่นมีการ
ใช้ทาเป็นต้น. แม้เพราะล่วง 7 วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะถึงความ
เป็นของไม่ควรกลืนกิน. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า เป็นของควรลิ้ม.
ถ้าอนุปสัมบันทำเนยใสด้วยเนยข้นที่รับประเคนไว้ ในเวลาก่อน
ฉันถวาย, จะฉันกับอามิสในเวลาก่อนฉัน ควรอยู่. ถ้าภิกษุทำเอง, ฉัน
ไม่เจืออามิสเลย ย่อมควรแม้ตลอด 7 วัน. แต่เนยใสที่บุคคลใดคนหนึ่ง
ทำด้วยเนยข้นที่รับประเคนในเวลาหลังฉัน ควรฉันได้ไม่เจืออามิสตลอด
7 วันเหมือนกัน.

[อธิบายวิธีปฏิบัติในเนยใสและเนยข้น]


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในเนยใสที่ทำด้วยเนยข้น (ซึ่งภิกษุทำให้)
เป็นอุคคหิตก์ โดยนัยแห่งเนยใสล้วน ๆ ดังที่กล่าวแล้วในก่อนนั้นแล.
เนยใสทำด้วยนมสดที่ภิกษุรับประเคนไว้ก่อนฉันก็ดี ด้วยนมส้มก็ดี ที่

อนุปสัมบันทำ ควรฉันได้ แม้เจืออามิส ในเวลาก่อนฉันวันนั้น. ที่
ภิกษุทำเอง ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียว, ในภายหลังฉันไม่ควร.
จริงอยู่ เมื่อภิกษุอุ่นเนยข้น ไม่จัดเป็นสามปักกะ. แต่จะฉัน
อามิสกับด้วยเนยข้นนั้นที่เป็นสามปักกะ ย่อมไม่ควร. ตั้งแต่หลังฉันไป
ก็ไม่ควรเหมือนกัน. ไม่เป็นอาบัติ แม้ในเพราะล่วง 7 วันไป เพราะ
รับประเคนทั้งวัตถุ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า รับประเคนเภสัชเหล่านั้นแล้ว
เป็นต้น, แต่เนยใสที่ทำด้วยนมสดและนมส้มที่ภิกษุรับประเคนในเวลาฉัน
ควรน้อมไปใช้ในกิจมีการทาตัวเป็นต้น. เนยใสที่ทำด้วยนมสดนมส้มซึ่ง
เป็นอุคคหิตก์ แม้ในเวลาก่อนฉัน (ก็ควรน้อมเข้าไปใช้ในกิจมีการทาตัว
เป็นต้น). ไม่เป็นอาบัติ แม้เพราะเนยใสทั้งสองอย่าง 7 วันไป. ในเนย
ใสของพวกสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน . แต่มี
ความแปลกกันดังต่อไปนี้:-
เป็นนิสสัคคีย์ ด้วยเนยข้นและเนยใสที่มาแล้วในพระบาลีใด, ใน
พระบาลีนั้น เป็นทุกกฏด้วยเนยใสของพวกสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะนี้.
ในอรรถกถาอันธกะ ท่านคัดค้านเนยใสและเนยข้นของมนุษย์ไว้ทำให้
สมควรแก่เหตุ. เนยใสและเนยข้นของมนุษย์นั้น ท่านคัดค้านไว้ไม่ชอบ
เพราะพระอาจารย์ทั้งหลาย อนุญาตไว้ในอรรถกถาทั้งปวง. และแม้การ
วินิจฉัยเนยใสและเนยข้นของมนุษย์นั้น จักมาข้างหน้า. แม้เนยข้นที่มา
แล้วในพระบาลี ภิกษุรับประเคนในเวลาก่อนฉัน จะฉันแม้เจือกับ
อามิสในเวลาก่อนฉันในวันนั้น ควรอยู่, ตั้งแต่ภายหลังฉันไป ไม่เจือ
อามิสเลย จึงควร. เพราะล่วง 7 วันไป ในเนยข้นที่เก็บไว้ในภาชนะ
ต่าง ๆ กัน เป็นนิสสัคคีย์ ตามจำนวนภาชนะ, ในเนยข้นที่เก็บไว้อย่าง

เป็นก้อน ๆ ไม่คละกัน แม้ในภาชนะเดียว ก็เป็นนิสสัคคีย์ ตามจำนวน
ก้อน. เนยข้นที่ภิกษุรับประเคนไว้ในเวลาหลังฉัน ผู้ศึกษาพึงทราบโดย
นัยแห่งเนยใสเหมือนกัน .
ส่วนความแปลกกันในเนยข้นนี้ มีดังนี้:- ก้อนนมส้มบ้าง หยาด
เปรียงบ้าง มีอยู่; เพราะฉะนั้น พวกพระเถระจำนวนครึ่ง จึงได้กล่าวว่า
ที่ฟอกแล้วจักควร. ส่วนพระมหาสีวเถระกล่าวว่า ตั้งแต่เวลาที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว เนยข้นพอยกขึ้นจากเปรียงเท่านั้น ภิกษุ
ทั้งหลายขบฉันได้. เพราะเหตุนั้น ภิกษุจะฉันเนยขึ้นพึงชำระ คือตักเอา
นมส้ม เปรียงแมลงวัน และมดแดงเป็นต้นออกแล้วฉันเถิด. ภิกษุใคร่
จะเจียวให้เป็นเนยใสฉัน จะเจียวแม้เนยข้นที่ยังไม่ฟอกก็ควร. ในเนยขึ้น
นั้นสิ่งใดที่เป็นนมส้มก็ดี ที่เป็นเปรียงก็ดี สิ่งนั้นจักถึงความหมดสิ้นไป.
ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ยังไม่ชื่อว่ารับประเคนพร้อมทั้งวัตถุ อธิบายดังกล่าว
มานี้ เป็นอธิบายในคำของพระมหาสีวเถระนี้. แต่ภิกษุทั้งหลายผู้มัก
รังเกียจ ย่อมรังเกียจแม้ในเนยข้นที่เจียวนั้น เพราะเจียวพร้อมทั้งอามิส.
บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงถือเอานัยเเห่งอาบัติ อนาบัติ การบริโภค และไม่
บริโภคในเนยข้นที่จับต้องแล้วเก็บไว้ ในเนยข้นที่ภิกษุรับประเคนนมสด
และนมส้มก่อนฉันแล้วทำ ในเนยข้นที่ภิกษุรับประเคนนมสดนมส้มนั้น
ในภายหลังฉันแล้วทำ ในเนยข้นที่ทำด้วยนมสดและนมส้ม ที่เป็นอุคคหิตก์
และในเนยข้นของพวกสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะ ทั้งหมดโดยลำดับดัง
กล่าวแล้วในเนยใสนั่นแล. พวกชาวบ้าน ย่อมเทซึ่งเนยใสบ้าง เนยข้น
บ้าง น้ำมันที่เคี่ยวแล้วบ้าง น้ำมันที่ยังไม่ได้เคี่ยวบ้าง ลงในเนยใสนั้น
นั่นเอง ของภิกษุทั้งหลายผู้เข้าไป เพื่อภิกษาน้ำมัน. หยาดเปรียงและ

นมส้มบ้าง เมล็ดข้าวสุกบ้าง รำข้าวสารบ้าง จำพวกแมลงวันเป็นต้นบ้าง
มีอยู่ในเนยใสนั้น. เนยใสนั้น ภิกษุทำให้สุกด้วยแสงแดดแล้วกรองเอาไว้
จัดเป็นสัตตาหกาลิก.
ก็การที่ภิกษุจะเคี่ยวกับเภสัชที่รับประเคนไว้ แล้วทำการนัตถุ์เข้า
ทางจมูก ควรอยู่. ถ้าในสมัยฝนพรำ สามเณรผู้ลัชชี เมื่อจะเปลื้องการ
หุงต้มอามิสให้พ้นไป อย่างที่พวกภิกษุไม่หุงต้มข้าวสารและรำเป็นต้น
ที่ตกลงไปในเนยใสนั้น ทำให้ละลายในไฟแล้วกรองไว้ เจียวถวายใหม่
ย่อมควรตลอด 7 วัน โดยนัยก่อนเหมือนกัน.

[อธิบายวิธีปฏิบัติในเภสัช คือน้ำมัน]


บรรดาจำพวกน้ำมัน จะว่าถึงน้ำมันงาก่อน ที่รับประเคนก่อน
ฉัน แม้เจืออามิส ย่อมควร ในเวลาก่อนฉัน. ตั้งแต่หลังฉันไปปราศจาก
อามิสเท่านั้นจึงควร. ผู้ศึกษา พึงทราบความที่น้ำมันงานั้นเป็นนิสสัคคีย์
ด้วยจำนวนภาชนะ เพราะล่วง 7 วันไป. น้ำมันงาที่รับประเคนภายหลังฉัน
ปราศจากอามิสเท่านั้น จึงควร ตลอด 7 วัน. จะดื่มกินน้ำมันงาที่ทำ
ให้เป็นอุคคหิตก์เก็บไว้ไม่ควร. ควรน้อมเข้าไปในกิจมีการทาศีรษะ
เป็นต้น. แม้ในเพราะล่วง 7 วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ. น้ำมันที่ภิกษุรับ
ประเคน เมล็ดงาในปุเรภัตทำ เจืออามิสย่อมควร ในปุเรภัต. ตั้งแต่
ปัจฉาภัตไปเป็นของไม่ควรกลืนกิน. พึงน้อมไปในกิจมีการทาศีรษะ
เป็นต้น . แม้ในเมื่อล่วง 7 วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ. น้ำมันที่ภิกษุรับ
ประเคนเมล็ดงาในปัจฉาภัตแล้วทำ เป็นของไม่ควรกลืนกินเหมือนกัน
เพราะรับประเคนทั้งวัตถุ. แม้ในเมื่อล่วง 7 วันไป ก็ไม่เป็นอาบัติ.