เมนู

ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล 4 แห่ง


ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล 4 แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล 4 แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล 1 แห่ง
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล 4 แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล 2 แห่ง
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล 4 แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล 3 แห่ง
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล 4 แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล 4 แห่ง
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[137] ภิกษุมีบาตรหาย 1 ภิกษุมีบาตรแตก 1 ภิกษุขอต่อญาติ 1
ภิกษุขอต่อคนปวารณา 1 ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น 1 ภิกษุ
จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่
ต้องอาบัติแล.
ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 2 จบ

ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 2


พรรณนาอูนปัญจพันธนสิกขาบท


อูนปัญจพันธนสิกขาบทว่า เตน สนเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในอูนปัญจพันธนสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า น ยาเปติ มีความว่า นัยว่า ช่างหม้อนั้นถูกภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้นรบกวนอย่างนี้ ถ้าจักไม่ได้เป็นพระอริยสาวกแล้ว คงจักถึงความ
เสียใจเป็นอย่างอื่นไปก็ได้. แต่เพราะเขาเป็นโสดาบัน ตัวเองอย่างเดียว
เท่านั้นไม่พอเลี้ยงชีพ. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก.

[อธิบายบาตรที่มีผูกหย่อน 5 แห่งเป็นต้น]


ใน บทว่า อูนปญฺจพนฺธเนน นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- บาตรที่
ชื่อว่า มีที่ผูกหย่อน 5 แห่ง เพราะมีแผลหย่อน 5 แห่ง. อธิบายว่า
บาตรนั้นมีแผลยังไม่ครบเต็ม 5 แห่ง. มีบาตร มีแผลหย่อน 5 นั้น.
(บทนี้เป็น) ตติยาวิภัตติ ลงในลักษณะแห่งอิตถัมภูต, ในพากโยปัญญาส
นั้น แม้บาตรยังไม่มีแผล จะมีแผลครบ 5 แห่ง ไม่ได้ เพราะยังไม่มี
โดยประการทั้งปวง; ฉะนั้น ในบทภาชนะพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
คำว่า อพนฺธโน วา เป็นต้น และเพราะตรัสคำว่า มีแผลหย่อน 5 แห่ง
ดังนี้ ภิกษุใดมีบาตรมีแผลครบ 5 แห่ง. บาตรนั้นของภิกษุนั้น ไม่จัด
เป็นบาตร; เพราะฉะนั้น จึงควรขอบาตรใหม่ได้. ก็เพราะขึ้นชื่อว่าแผล
นี้เมื่อมีท่าจะมีแผล จึงมีได้ เมื่อไม่มีท่าจะมีแผล ก็ไม่มี; ฉะนั้น เพื่อ
จะทรงแสดงลักษณะแห่งผลนั้น จึงตรัสคำว่า อพนฺธโนกาโส นาม
เป็นต้น.
คำว่า ทฺวงฺคุลราชิ น โหติ ได้แก่ ไม่มีรอยร้าวแม้รอยเดียว ยาว
ประมาณสององคุลี ภายใต้ขอบปาก.
คำว่า ยสฺส ทฺวงฺคุลราชิ โหติ มีความว่า บาตรที่มีรอยร้าวรอย