เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตรนั้น
อย่างนี้:-

วิธีสมมติภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร


พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

คำสมมติ


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้
เป็นผู้เปลี่ยนบาตร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้สงฆ์สมมติให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตรแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงให้เปลี่ยนบาตร พึงกราบเรียนพระเถระ
ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงเปลี่ยนบาตร ถ้าพระเถระเปลี่ยน พึง
ถวายบาตรพระเถระ ให้พระทุติยเถระเปลี่ยน อันภิกษุจะไม่เปลี่ยน
เพราะความสงสารภิกษุนั้นไม่ได้ ภิกษุใดไม่ยอมเปลี่ยน ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่พึงให้ภิกษุผู้ไม่มีบาตรเปลี่ยน พึงให้เปลี่ยนเลื่อนลงมาโดยอุบายนี้แล
ตลอดถึงพระสังฆนวกะ ก็แลบาตรใดเป็นใบสุดท้ายแห่งภิกษุบริษัทนั้น
พึงมอบบาตรนั้น แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์นั้น ด้วยสั่งกำชับ

ว่า ดูก่อนภิกษุ นี้บาตรของเธอ พึงใช้ไปกว่าจะแตก ดังนี้ ภิกษุนั้น
อย่าเก็บบาตรใบนั้นไว้ในที่อันไม่ควร อย่าใช้โดยอาการอันไม่ควร อย่า
ทอดธุระว่าบาตรใบนี้จะเป็นอย่างไรก็ตาม คือ จะหาก็ช่าง จะฉิบหาย
ก็ช่าง จะแตกก็ช่าง ถ้าเก็บไว้ในที่ ๆ ไม่ควรก็ดี ใช้อย่างที่เขาไม่ใช้กัน
ก็ดี ปล่อยทิ้งเสียก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ
บทว่า นี้เป็นสามีกรรมในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกยิ่งใน
เรื่องนั้น .

บทภาชนีย์


บาตรไม่มีแผล


[133] ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่ไม่มีแผล เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล 1 แห่ง เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล 2 แห่ง เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล 3 แห่ง เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุมีบาตรไม่มีแผล ขอบาตรที่มีแผล 4 แห่ง เป็นนิสสัคดีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์