เมนู

ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้กว่าจะแตก นี้เป็นสามีจิกรรมใน
เรื่องนั้น.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์


[131] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ
งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ
โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นพระะเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วย
ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
บาตรที่ชื่อว่า มีแผลหย่อนห้า คือ ไม่มีแผล มี 1 แผล มี 2
แผล มี 3 แผล หรือมี 4 แผล

บาตรที่ชื่อว่า ไม่มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวยาวไม่ถึงสององคุลี
บาตรที่ชื่อว่า มีแผล ได้แก่ บาตรที่มีรอยร้าวยาวถึงสององคุลี
บาตรที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงบาตรที่ขอเขามา.
บทว่า ให้จ่าย คือ ขอเขา เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ เป็น
นิสสัคคีย์ด้วยได้บาตรมา จำต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทุกรูปพึงถือบาตรที่อธิษฐานแล้วไปประชุม อย่าอธิษฐาน
บาตรเลว ด้วยหมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ถ้าอธิษฐานบาตรเลว ด้วย
หมายจะได้บาตรที่มีราคามาก ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละบาตร


[132] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ ของข้าพเจ้ามีบาตรมีแผลหย่อนห้า ให้
จ่ายมาแล้วเป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับ
อาบัติ สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ให้เป็นผู้เปลี่ยนบาตร

องค์ 5 ของภิกษุผู้เปลี่ยนบาตร


องค์ 5 นั้น คือ 1. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ 2.
ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง 3. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย
4. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ 5. รู้จักว่าทำอย่างไร เป็นอัน
เปลี่ยนหรือไม่เป็นอันเปลี่ยน