เมนู

หลายบทว่า ทฺวารํ สํวริตฺวา ปฏิสลฺลิยิตุ ความว่า เพื่อให้ปิด
ประตูก่อนจึงจำวัดได้. ก็ในเรื่องเปิดประตูจำวัดนี้ ในพระบาลีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ปรับอาบัติไว้ว่า เป็นอาบัติชื่อนี้ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น พระเถระ
ทั้งหลายก็ปรับเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อนพักผ่อน เพราะเมื่อเรื่อง
เกิดขึ้น เพราะโทษที่เปิดประตูนอน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะพักผ่อนในกลางวัน ปิดประตูเสียก่อนจึง
พักผ่อนได้.
จริงอยู่ พระเถระทั้งหลาย มีพระอุบาลีเถระเป็นต้น ทราบพระประสงค์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย จึงได้ตั้งอรรถกถาไว้. ก็คำที่ว่า เป็นทุกกฏแก่
ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อน พักผ่อน นี้ สำเร็จแล้วแม้ด้วยคำนี้ว่า มีอาบัติ
ที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน.

[อธิบายประตูเช่นไรควรปิดและไม่ควรปิด]


ถามว่า ก็ประตูเช่นไรควรปิด ? เช่นไรไม่ควรปิด?.
แก้ว่า ประตูเวียนที่เขาเอาบรรดาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่ง มีไม้เลียบ
ไม้ไผ่เลียบ ลำแพนและใบไม้เป็นต้น ทำเป็นบานประตูแล้วสอดลูกล้อครกไว้
ตอนล่างและห่วงบนไว้ตอนบนนั่นแล ควรปิด. ประตูชนิดอื่นเห็นปานนี้ คือ
ประตูลิ่มสลักไม้และประตูหนาม ที่คอกฝูงโค ประตูล้อเลื่อนสำหรับกั้นบ้าน
ในบ้าน ประตูแผงเลื่อนที่เขาทำประกอบลูกล้อ 2-3 อันไว้ที่แผ่นกระดาน
หรือที่กันสาด ประตูแผงลอยที่เขาทำยกออกได้ เหมือนอย่างในร้านตลาด
ประตูลูกกรงที่เขาร้อยซี่ไม้ไผ่ไว้ในที่ 2-3 แห่ง ทำไว้ที่บรรณกุฎี (กระท่อม
ใบไม้) ประตูม่านผ้า ไม่ควรปิด.


ก็ประตูม่านผ้าชนิดเดียวเท่านั้น ไม่ทำให้ต้องอาบัติ ในเวลาที่ภิกษุ
มีบาตรมีมือผลักบานประตู. เมื่อผลักประตูที่เหลือต้องอาบัติ. แต่ประตูเวียน
นั่นแล ทำให้ต้องอาบัติแก่ภิกษุผู้พักผ่อนในกลางวัน. ประตูที่เหลือ เมื่อภิกษุ
ปิดก็ตาม ไม่ปิดก็ตามแล้วจำวัด อาบัติหามีไม่ แต่ควรปิดเสียก่อน จึงจำวัด
ข้อนี้เป็นธรรมเนียม.
ถามว่า ก็ประตูเวียน ย่อมเป็นอันปิดดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณ
เท่าไร ?
แก้ว่า เมื่อใส่ลูกดาลและลิ่มสลักแล้ว ก็เป็นอันปิดด้วยดีทีเดียว
อีกประการหนึ่ง แม้เมื่อใส่เพียงลูกดาลแล้วจะพักจำวัดก็ควร แม้เมื่อใส่เพียง
ลิ่มสลักแล้ว จะพักจำวัดก็ควร แม้เมื่อปิดพอให้บานประตูจดกันแล้ว จะพัก
จำวัดก็ควร แม้เมื่อปิดแง้มไว้เล็กน้อยแล้ว จะพักจำวัดก็ควร ด้วยวิธีอย่าง
หลังที่สุด แม้เมื่อปิดประตูแง้มไว้ขนาดพอศีรษะสอดเข้าไม่ได้ จะพักจำวัด
ก็ควรฉะนี้แล.
ถ้าสถานที่นั้น เป็นที่ใช้ของคนหมู่มาก แม้จะพูดกะภิกษุหรือสามเณร
ว่า อาวุโส ! จงช่วยกันรักษาประตู แล้วจำวัดก็ควร. ถ้าแม้จะทำความผูกใจ
ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งทำจีวรกรรม หรือกิจอะไรอื่นอยู่ เธอเหล่านั้น
จักช่วยรักษาประตูนั่น ดังนี้ แล้วจำวัด ก็ควร.
ส่วนในอรรถกถากุรุนที ท่านกล่าวว่า จะบอกแม้กะอุบาสกหรือจะ
ทำความผูกใจไว้ว่า อุบาสกนี้จะช่วยรักษา แล้วจำวัด ก็ควร จะบอกภิกษุณี
หรือมาตุคามอย่างเดียวไม่ควร.
ถ้าลูกล้อหรือห่วงบนประตูเสียหายไป หรือไม่ตั้งอยู่ (ในที่เดิม)
จึงไม่อาจจะปิดได้ ก็อีกอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่นวกรรม เขาทำกองอิฐ


หรือกองดินเหนียวเป็นต้นไว้ภายในประตู หรือผูกนั่งร้านไว้ โดยที่ไม่อาจจะ
ปิด (ประตู) ได้ ในอันตรายเห็นปานนั้น แม้จะไม่ปิดประตู พักจำวัดก็ควร.
ก็ถ้าไม่มีบานประตู เป็นอันได้ข้ออ้างแท้. เมื่อจะจำวัดข้างบนควรยกม่านขึ้น
ไว้ จึงจำวัด. ถ้าข้างบนม่าน มีไม้สำหรับกั้นไว้ ควรกั้นไว้ จึงจำวัด. เมื่อ
จะจำวัดในห้อง จะปิดประตูหรือประตูหน้ามุขอย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้วจำวัด
ก็ควร.
ถ้าที่ข้างทั้งสองในเรือนมีฝาด้านเดียว เขาทำใช้หลายประตู, ควรรักษา
ทั้งสองประตู. ในปราสาทแม้ 3 ชั้น ควรรักษาประตูเดียวเท่านั้น. ถ้าภิกษุ
มากรูป กลับจากเที่ยวภิกขาจาร เข้าไปยังประสาท เช่นโลหปราสาท เพื่อ
พักผ่อนกลางวัน, พระสังฆเถระ ควรสั่งผู้รักษาประตูว่า จงช่วยรักษาประตู
หรือจะทำความผูกใจไว้ว่า การรักษาประตู เป็นภาระของนายทวารบาลนั่น
แล้วพึงเข้าไปจำวัดเถิด. ภิกษุทั้งหลายควรทำอย่างนั้นเหมือนกันจนถึงพระ-
สังฆนวกะ. ผู้ที่เข้าไปก่อนแม้จะทำความผูกใจไว้อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษา
ประตู เป็นภาระของผู้มาภายหลัง ดังนี้ ก็ควร.
เมื่อภิกษุ ไม่ทำการบอกเล่าหรือความผูกใจไว้ แล้วพักจำวัดภายใน
ห้องที่ไม่ได้ปิดประตูหรือภายนอกห้อง เป็นอาบัติ. แม้ในเวลาจำวัดในห้อง
หรือในภายนอกห้อง ทำความผูกใจไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าการรักษาประตู ในประตู
ใหญ่ เป็นภาระของนายทวารบาล ดังนี้ แล้วจำวัด ควรเหมือนกัน. แม้ภิกษุ
ผู้จะจำวัดที่พื้นอากาศ (ดาดฟ้า) ในสถานที่มีโลหปราสาทเป็นต้น ควรปิด
ประตูแท้ทีเดียว.
ก็ในเรื่องเปิดประตูจำวัดนี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :- การพักผ่อน
ในกลางวันนี้ ท่านกล่าวไว้ในสถานที่มีระเบียบ ซึ่งล้อมด้วยกำแพงหรือรั้ว

อย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้จะจำวัดในที่แจ้งโคนต้นไม้ หรือ
มณฑปที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งมีระเบียง ควรปิดประตูเสียก่อน จึงจำวัด, ถ้าเป็น
บริเวณใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุมของคนหมู่มาก เช่นลานมหาโพธิ์และลาน
โลหปราสาท, ในสถานที่ใด ประตูแม้ที่เขาปิดแล้ว ก็ไม่ตั้งอยู่ในที่ ๆ ปิด
(คือปิด ๆ เปิด ๆ) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ประตูถึงต้องเที่ยวปีนขึ้นกำแพงไป,
ในสถานที่นั้น ไม่มีกิจที่จะต้องปิด (ประตู).
ภิกษุเปิดประตูจำวัดตลอดคืน ลุกขึ้นแล้วในเวลารุ่งอรุณ ไม่เป็น
อาบัติ. แต่ถ้าตื่นแล้วหลับซ้ำอีกเป็นอาบัติ. ส่วนภิกษุรูปใดกำหนดไว้ทีเดียว
ว่า เมื่อรุ่งอรุณแล้วจักลุกขึ้น ไม่ได้ปิดประตูจำวัดตลอดคืน แต่ลุกขึ้นทัน
ตามกำหนดนั่นเอง, ภิกษุรูปนั้น เป็นอาบัติทีเดียว. ส่วนในอรรถกถามหา-
ปัจจรีท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อจำวัดด้วยอาการอย่างนั้น ไม่พ้นจากทุกกฏเพราะไม่
เอื้อเฟื้อ.
ส่วนภิกษุใด รักษา (พยาบาล) ภิกษุอาพาธเป็นต้น หลายราตรี
ทีเดียว หรือเดินทางไกล มีร่างกายอิดโรยทั้งวัน นั่งบนเตียงแล้ว พอยกเท้า
ยังไม่พ้นจากพื้นดินเลย ก็จำวัดหลับ เพราะอำนาจความหลับ (ครอบงำ),
ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ. ถ้าเธอก้าวลงสู่ความหลับทั้งไม่รู้สึกตัว พอยกเท้าขึ้น
เตียง ก็เป็นอาบัติทีเดียว. เมื่อนั่งพิงหลับไปไม่เป็นอาบัติ. อีกอย่างหนึ่ง
ภิกษุรูปใด เดินจงกรมด้วยตั้งใจว่า จักบรรเทาความง่วง แล้วล้มลง รีบลุก
ขึ้นทันที, แม้ภิกษุรูปนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ. ส่วนภิกษุรูปใด ล้มลงแล้ว นอน
อยู่ในสถานที่นั้นนั่นเองไม่ยอมลุกขึ้น, ภิกษุรูปนั้น เป็นอาบัติ.
ถามว่า ใครพ้น (จากอาบัติ) ? ใครไม่พ้น?

แก้ว่า ในอรรถกถามหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ก่อนว่า ผู้ที่จำวัดโดยพับ
ไปข้างเดียวนั่นแลย่อมพ้น, ส่วนที่ยกเท้าพ้นจากพื้นดินแล้วจำวัด จะเป็นผู้ที่
ถูกยักษ์เข้าสิงก็ตาม เป็นผู้ปราศจากสัญญา (หมดสติ) ก็ตาม ย่อมไม่พ้น.
ในอรรถกาถากุรุนที ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ถูกมัดให้นอนเท่านั้น ย่อมพ้น. ส่วน
ในมหาอรรถกถา พระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า ภิกษุรูปใดเดินจงกรมอยู่
สลบล้มลง แล้วหลับอยู่ในสถานที่นั้นนั่นเอง, อาบัติย่อมไม่ปรากฏแก่ภิกษุ
รูปนั้น เพาะเธอไม่มีอำนาจ, แต่พระอาจารย์ทั้งหลายมิได้กล่าวว่า ; เพราะ
ฉะนั้น จึงเป็นอาบัติทีเดียว. ส่วนภิกษุ 2 รูป คือ ผู้ที่ยักษ์เข้าสิง 1 ผู้ที่ถูก
มัดให้นอน 1 ย้อมพ้นจากอาบัติแท้แล.

[เรื่องภิกษุฝันได้เสพเมถุนธรรม]


ในเรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า อนาปตฺติ สุปินนฺเตน ความว่า ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติ
เพราะความฝันด้วยอาการอย่างนี้ เพราะไม่ใช่วิสัย ; เหตุดังนั้น พระอุบาลีเถระ
จึงได้วินิจฉัยเรื่องนี้ แม้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เคยทรงวินิจฉัยเลย โดย
ความถือเอาตามนัย. และแม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับ (เรื่องที่ท่าน
พระอุบาลีเถระวินิจฉัยนั้นแล้ว) ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อุบาลีกล่าวไว้
ชอบแล้ว, อุบาลีกล่าวแก้ปัญหานี้ ดุจทำรอยเท้าไว้ในที่ไม่มีรอยเท้า ดุจแสดง
รอยเท้าไว้ในอากาศ ฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในเอตทัคคะว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงวินัย อุบาลีนี้เป็นเยี่ยม.1
เรื่องทั้งหลายมีเรื่องนางสุปวาสาเป็นต้น2 ถัดจากเรื่องภิกษุชาวเมือง
ภารุกัจฉะนี้ไป มีเนื้อความชัดเจนแล้วทีเดียว.
1. องฺ. เอก. 20/32. 2. บาลีเดิมเป็น สุปัพพา.