เมนู

หลายบทว่า ทฺวารํ สํวริตฺวา ปฏิสลฺลิยิตุ ความว่า เพื่อให้ปิด
ประตูก่อนจึงจำวัดได้. ก็ในเรื่องเปิดประตูจำวัดนี้ ในพระบาลีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ปรับอาบัติไว้ว่า เป็นอาบัติชื่อนี้ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น พระเถระ
ทั้งหลายก็ปรับเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อนพักผ่อน เพราะเมื่อเรื่อง
เกิดขึ้น เพราะโทษที่เปิดประตูนอน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะพักผ่อนในกลางวัน ปิดประตูเสียก่อนจึง
พักผ่อนได้.
จริงอยู่ พระเถระทั้งหลาย มีพระอุบาลีเถระเป็นต้น ทราบพระประสงค์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย จึงได้ตั้งอรรถกถาไว้. ก็คำที่ว่า เป็นทุกกฏแก่
ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อน พักผ่อน นี้ สำเร็จแล้วแม้ด้วยคำนี้ว่า มีอาบัติ
ที่ภิกษุต้องในกลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน.

[อธิบายประตูเช่นไรควรปิดและไม่ควรปิด]


ถามว่า ก็ประตูเช่นไรควรปิด ? เช่นไรไม่ควรปิด?.
แก้ว่า ประตูเวียนที่เขาเอาบรรดาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่ง มีไม้เลียบ
ไม้ไผ่เลียบ ลำแพนและใบไม้เป็นต้น ทำเป็นบานประตูแล้วสอดลูกล้อครกไว้
ตอนล่างและห่วงบนไว้ตอนบนนั่นแล ควรปิด. ประตูชนิดอื่นเห็นปานนี้ คือ
ประตูลิ่มสลักไม้และประตูหนาม ที่คอกฝูงโค ประตูล้อเลื่อนสำหรับกั้นบ้าน
ในบ้าน ประตูแผงเลื่อนที่เขาทำประกอบลูกล้อ 2-3 อันไว้ที่แผ่นกระดาน
หรือที่กันสาด ประตูแผงลอยที่เขาทำยกออกได้ เหมือนอย่างในร้านตลาด
ประตูลูกกรงที่เขาร้อยซี่ไม้ไผ่ไว้ในที่ 2-3 แห่ง ทำไว้ที่บรรณกุฎี (กระท่อม
ใบไม้) ประตูม่านผ้า ไม่ควรปิด.