เมนู

ไม่อาจจะปิดริมฝีปากได้, เมื่อภิกษุพยายามที่ฟันนั้นก็ดี พยายามที่ลิ้นซึ่งยื่น
ออกไปข้างนอกก็ดี เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. แม้ในสรีระที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อ
พยายามที่ลิ้นซึ่งยื่นออกไปข้างนอก เป็นถุลลัจจัยเหมือนกับ. แต่ถ้าฟันที่ลิ้น
ซึ่งยื่นออกไปข้างนอกไว้มิดชิดแล้วจึงสอดเข้าไปในปาก เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
เมื่อสอดองคชาตเข้าไปบนคอทางส่วนล่างแม้แห่งซากศพที่มีศีรษะขาด ถูกเพ-
ดาน เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
ในเรื่องกระดูก มีวินิจฉัยดังนี้ :- แม้เมื่อภิกษุกำลังเดินไปยัง
สุสาน เป็นทุกกฏ เมื่อรวบรวมกระดูกมาไว้ก็ดี กองไว้ก็ดี พยายามที่นิมิต
ด้วยความกำหนัดในเมถุนก็ดี พยายามด้วยความกำหนัดในอันเคล้าคลึงกายก็ดี
อสุจิจะเคลื่อนออกหรือไม่ก็ตาม เป็นทุกกฏทั้งนั้น แต่เมื่อพยายามด้วยความ
กำหนัดในอันปล่อย เมื่อสุจิเคลื่อนออกเป็นสังฆาทิเสส เมื่อไม่เคลื่อนออก
เป็นถุลลัจจัย.
ในเรื่องนาคตัวเมีย มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุเสพเมถุนธรรม ใน
จำพวกสัตว์ทั้งปวง จะเป็นนางนาคมาณวิกา หรือบรรดานางกินรีเป็นต้น
ตนใดตนหนึ่งก็ตาม เป็นปาราชิก.
ในเรื่องนางยักษิณี มีวินิจฉัยดังนี้ :- เทวดาแม้ทั้งหมด ก็คือนาง
ยักษิณีนั่นเอง.

[ภิกษุเสพเมถุนธรรมในหญิงเปรตเป็นต้นเป็นปาราชิก]


ในเรื่องหญิงเปรต มีวินิจฉัยดังนี้ :- เปรตทั้งหลายมีนิชฌามตัณหิก-
เปรตเป็นต้น ใคร ๆ ไม่สามารถแม้จะแตะต้องได้. แต่นางวิมานเปรตทั้งหลาย
มีอยู่ อกุศลกรรมของนางวิมานเปรตเหล่าใดให้ผลอยู่ในข้างกาฬปักข์ นาง
วิมานเปรตเหล่านั้นย่อมได้เสวยสมบัติ ในข้างชุณหปักข์ เหมือนเทวดา ฉะนั้น.

ถ้าการเห็น การจับ การลูบคลำ การถูกต้อง และการกระทบ ของหญิงเปรต
หรือของนางยักษิณีผู้เห็นปานนั้นปรากฏได้ เป็นปาราชิก. ถ้าแม้ไม่มีการเห็น
แต่กิจนอกนี้ปรากฏ ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง การเห็นและการจับ ไม่ปรากฏ แต่เปรตทำบุคคลนั้น
(คือภิกษุ) ให้ปราศจากสัญญา (หมดสติ) ด้วยการลูบคลำ ถูกต้องและกระทบ
ที่ปรากฏอยู่ ให้สำเร็จมโนรถของตนแล้วก็ไป ความพยายามนี้ ชื่อว่าไม่ใช่วิสัย
เพราะฉะนั้น ในข้อนี้จึงไม่เป็นอาบัติ เพราะไม่ใช่วิสัย.
เรื่องบัณเฑาะก์ ปรากฏชัดแล้วแล.
ในเรื่องภิกษุมีอินทรีย์พิการ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อุปหตินฺทฺริโย ความว่า เธอมีกายประสาทถูกโรคเบียดเบียน
แล้ว ย่อมไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์ เหมือนตอไม้และท่อนไม้ ฉะนั้น. แม้เมื่อเธอ
ไม่รู้สึก ก็เป็นอาบัติ เพราะอำนาจเสวนจิต.
ในเรื่องเพียงถูกต้องกาย มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ภิกษุรูปใด คิดในใจว่า เราจักเสพเมถุนธรรม จึงจับมาตุคาม
คลายความกำหนัดในเมถุนแล้วเป็นผู้มีความวิปฏิสาร ภิกษุรูปนั้น เป็นทุกกฏ
เท่านั้น. เพราะว่า กิจทั้งหลายมีการจับมือเป็นต้น เป็นปุพพประโยคแห่ง
เมถุนธรรม ย่อมตั้งอยู่ในทุกกฏ ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงที่สุด เมื่อถึงที่สุดแล้ว
จึงเป็นปาราชิก. จริงอยู่ ทุกกฏเท่านั้น ใกล้ต่อปฐมปาราชิก. บรรดาอาบัติ
ทั้ง 3 นอกนี้ (ทุกกฏ ถุลลัจจัย สังฆาทิเสส) ถุลลัจจัย ก็ใกล้ต่อปฐมปาราชิก
ส่วนภิกษุรูปนี้ปราศจากความกำหนัดในเมถุนธรรมแล้ว พึงทราบว่า ยินดี
เฉพาะการเคล้าคลึงกาย. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็น
อาบัติสังฆาทิเสส.

[เรื่องภิกษุอรหันต์ชาวภัททิยนครจำวัดหลับ]


ในเรื่องภิกษุชาวเมืองภัททิยะ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
นครชื่อว่าภัททิยะ. นครนั้น ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะมีพุ่มดอกมะลิชาติ
ที่ชื่อว่า ชาติยาวัน หนาแน่น. ป่านั้นมีอยู่ใกล้อุปจารแห่งพระนครนั้น. ภิกษุ
รูปนั้นพักจำวัดอยู่ที่ป่านั้น แล้วก้าวลงสู่ความหลับสนิท เพราะถูกลมรำเพยพัด
นั้น. ภวังคจิตมีกระแสเดียวเท่านั้นแล่นไป.
สองบทว่า กิลินฺนํ ปสฺสิตฺวา ความว่า เห็นองคชาตเปรอะเปื้อน
ด้วยอสุจิ.
5 เรื่อง ถัดจากเรื่องภิกษุชาวเมืองภัททิยะนี้ไป คือ เรื่องที่ปฏิสังยุต
ด้วยความยินดีมี 4 เรื่อง และเรื่องไม่รู้สึกตัวมี 1 เรื่อง มีเนื้อความชัดเจน
แล้วทีเดียว.
ในเรื่องไม่ยินดีอีก 2 เรื่อง มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า สหสา วุฏฺฐาสิ ความว่า ภิกษุรูปนั้นรีบลุกขึ้นทันที
เหมือนถูกอสรพิษกัดและเหมือนถูกไฟไหม้ ฉะนั้น.
สองบทว่า อกฺกมิตฺวา ปวฏฺเฏสิ ความว่า ภิกษุผู้ไม่ประมาท
เริ่มเจริญวิปัสสนา ควบคุมสติไว้เฉพาะหน้า รีบลุกขึ้นทันที ยันให้กลิ้งกลับ
เลื่อนตกไปบนพื้นดิน. อันกัลยาณปุถุชนทั้งหลาย ควรรักษาจิตไว้ ในฐานะ
เห็นปานนี้. และภิกษุรูปนี้ เป็นบรรดากัลยาณปุถุชนเหล่านั้นรูปใดรูปหนึ่ง
ซึ่งเป็นเช่นกับยอดนักรบในสงคราม.

[เรื่องภิกษุเปิดประตูจำวัด]


ในเรื่องเปิดประตูจำวัด มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า ทิวา ปฏิสลฺลิยนฺเตน ความว่า ผู้จะพักจำวัดใน
กลางวัน.