เมนู

บรรดาเรื่องเหล่านั้น สองเรื่องข้างต้น มีเนื้อความดังที่ตรัสไว้แล้ว
ในอนุบัญญัตินั่นเอง.
ในเรื่องที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า คิหิลิงฺเคน คือ เป็นผู้นุ่ง
ห่มผ้าขาวอย่างคฤหัสถ์.
ในเรื่องที่ 4 ไม่มีคำอะไร ๆ ที่ควรกล่าวไว้.
ในผ้า 7 ชนิด ถัดจากเรื่องที่ 4 นั่นไป มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ผ้าที่เขาร้อยหญ้าคาทำ ชื่อว่า ผ้าคากรอง. ผ้าเปลือกไม้ของพวกดาบส
ชื่อว่าผ้าเปลือกปอ. ผ้าที่เขาเย็บทำติดกันเป็นแผ่น มีสัณฐานดังแผ่นกระดาน
ชื่อว่าผ้าทอเป็นแผ่น. ผ้ากัมพลที่เขาเอาเส้นผม (มนุษย์) ทำเป็นเส้นด้ายทอ
ชื่อว่าผ้ากัมพลทำด้วยเส้นผม. ผ้ากัมพลที่เขาทอทำด้วยขนหางสัตว์จามรี ชื่อว่า
ผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์. ผ้านุ่งที่เขาเอาขนปีกนกเค้าทำ ชื่อว่าผ้านุ่งทำ
ด้วยขนปีกนกเค้า. หนังเสือและมฤคพร้อมทั้งขนและกีบเล็บ ชื่อว่าผ้าหนังเสือ.
ในเรื่องที่ 12 มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า สารตฺโต ได้แก่ ผู้มีความกำหนัดด้วยความกำหนัดในอัน
เคล้าคลึงกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความกำหนัดนั้นแล้ว จึงตรัสว่า
เป็นอาบัติสังฆาทิเสส.

[เรื่องนันทมาณพเสพเมถุนธรรมในนางอุบลวรรณาเถรี]


ในเรื่องที่ 13 มีวินิจฉัยดังนี้ :- พระเถรีนั้น ชื่อว่าอุบลวรรณา
เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองสาวัตถี สมบูรณ์ด้วยอภินิหารตั้งแสนกัลป์. แม้
โดยปกติ พระเถรีนั้น มีผิวกาย สีคล้ายดอกอุบลเขียว น่าดูยิ่งนัก. ก็พระเถรีนั้น
ย่อมรุ่งเรืองยิ่งนัก เพราะไม่มีความเร่าร้อนด้วยกิเลสในภายใน. นางได้ชื่อว่า
อุบลวรรณา เพราะความที่นางมีผิวงดงามนั่นเอง.

บทว่า ปฏิพพฺธจิตฺโต ความว่า มาณพนั้น มีใจกำหนัดตั้งแต่เวลา
ยังเป็นคฤหัสถ์. ได้ยินว่า นันทมาณพนั้น เป็นชายหนุ่ม ซึ่งเป็นญาติของ
พระเถรีนั้น.
ศัพท์ว่า อถโข เป็นนิบาต ลงในอรรถว่าลำดับ ฯ มีคำอธิบายว่า
ในลำดับแห่งพระเถรีนั่งบนเตียงนั่นแล. จริงอยู่ เวลากลางวัน เมื่อบุคคลมา
จากภายนอกเปิดประตูแล้วนั่ง ความมืดจะมีขึ้น. อธิบายว่า มาณพนั้น ได้ทำ
อย่างนั้นตลอดเวลาที่ความมืดนั้นของพระเถรีนั้น ยังไม่หายไปนั่นเอง.
บทว่า ทูเสสิ แปลว่า ได้ข่มขืนแล้ว. ส่วนพระเถรีเป็นผู้หาโทษ
มิได้ เริ่มตั้งสมณสัญญาไม่ยินดี นั่งอยู่ ถูกความประสงค์อสัทธรรมสัมผัส
ดุจกองเพลิง เสาหินและตอไม้ตะเคียน ฉะนั้น. ฝ่ายนันทมาณพนั้น ครั้นให้
ความพอใจของตนสำเร็จบริบูรณ์แล้วก็ไป.
เมื่อนันทมาณพ ละคลองแห่งการเห็นของพระเถรีนั้นเท่านั้น มหา-
ปฐพีนี้ ถึงจะสามารถธารภูเขาสิเนรุไว้ได้ก็ตาม ก็เป็นเหมือนไม่อาจจะธาร
บุรุษชั่วช้านั้น ซึ่งมีซากกเลวระประมาณวาหนึ่งไว้ได้ จึงแยกช่องให้แล้ว.
ขณะนั้นนั่นเอง เขาได้ถึงความเป็นเชื้อเพลิงแห่งเปลงไฟในอเวจีแล้ว. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ
ไม่ยินดีไม่เป็นอาบัติ ทรงหมายเอาพระเถรี ได้ตรัสพระคาถานี้ในธรรมบทว่า
เราเรียกบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในกาม
ทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว
เหมือนเมล็ดพันธ์ผักกาดไม่ตั้งอยู่บนปลาย
เหล็กแหลม ฉะนั้น ว่าเป็นพราหมณ์*.

* ขุ. ธ. 25/69.

[เรื่องเพศชายกลับเป็นเพศหญิง]


ในเรื่องที่ 14 มีนิจฉัยดังนี้ :-
สองบทว่า อิตฺถีลิงฺคํ ปาตุภูตํ ความว่า เมื่อภิกษุนั้น หยั่งลงสู่
ความหลับในเวลากลางคืน อวัยวะทั้งปวงมีหนวดและเคราเป็นต้น ซึ่งเป็น
ทรวดทรงของบุรุษหายไป ทรวดทรงของสตรีเกิดขึ้นแทนที่.
หลายบทว่า ตญฺเญว อุปชฺฌํ ตํ อุปสมฺปทํ ความว่า เราอนุญาต
อุปัชฌายะที่เธอเคยถือมาแล้วในกาลก่อนนั่นเอง (และ) การอุปสมบทที่สงฆ์
ทำไว้ในกาลก่อนเช่นกัน. อธิบายว่า ไม่ต้องถืออุปัชฌายะใหม่ ไม่ต้องให้
อุปสมบทใหม่.
สองบทว่า ตานิ วสฺสานิ ความว่า เราอนุญาตให้นับพรรษา
จำเดิมแต่อุปสมบทเป็นภิกษุมานั้นนั่นแล. อธิบายว่า ไม่ต้องทำการนับพรรษา
ตั้งแต่เพศกลับนี้ไปใหม่.
สองบทว่า ภิกฺขุนีหิ สงฺกมิตุํ ความว่า ทั้งเราอนุญาตให้ภิกษุณี
นั้นไปด้วยกัน คือ สมาคมกัน พร้อมเพรียงกันกับภิกษุณีทั้งหลาย. มีคำอธิบาย
ตรัสไว้ดังนี้ว่า บัดนี้ นางภิกษุณีนั้น ไม่ควรอยู่ในท่ามกลางภิกษุทั้งหลาย
จงไปยังสำนักนางภิกษุณี แล้วอยู่ร่วมกับนางภิกษุณีเถิด.
หลายบทว่า ตา อาปตฺติโย ภิกฺขูนํ ภิกฺขูนีหิ สาธารณา ความว่า
อาบัติเหล่าใด เป็นเทสนาคามินีก็ตาม เป็นวุฏฐานคามินีก็ตาม ที่ทั่วไปแก่
ภิกษุกับนางภิกษุทั้งหลาย.
หลายบทว่า ตา อาปตฺติโย ภิกฺขุนีนํ สนฺติเก วุฏฺฐาตุํ ความว่า
เราอนุญาตให้ทำวินัยกรรม ซึ่งเหล่าภิกษุณีพึงทำแล้วออกจากอาบัติเหล่านั้น
แม้ทั้งหมด ในสำนักของนางภิกษุณีทั้งหลาย