เมนู

ไว้ว่า ภิกษุกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า !, พระองค์
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ! เมื่อไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ.

[ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุบ้าและมีจิตฟุ้งซ่าน]


ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) ชื่อว่า เป็นบ้า. จริงอยู่ ดีมี 2 อย่าง
คือ ดีที่มีฝัก 1 ดีที่ไม่มีฝัก 1. ดีที่ไม่มีฝัก ซึมซาบไปทั่วสรรพางค์ ดุจ
โลหิตฉะนั้น. เมื่อดีที่ไม่มีฝักนั้นกำเริบ พวกสัตว์ ย่อมมีสรีระสั่นเทาไป
เพราะหิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้น. หิดเปื่อยและหิดตอเป็นต้นเหล่านั้น จะหาย
ได้เพราะการทายา. ส่วนดีที่มีฝักตั้งอยู่ในฝักของดี. เมื่อดีที่มีฝักนั้นกำเริบ
พวกสัตว์ย่อมเป็นบ้า.
ภิกษุผู้มีสัญญาวิปลาส (มีความจำคลาดเคลื่อน) ละทิ้งหิริและโอต-
ตัปปะเสียแล้ว ย่อมเที่ยวประพฤติกรรมที่ไม่ควร. แม้ย่ำยีสิกขาบททั้งเบา
และหนักอยู่ ก็ไม่รู้สึกตัว. ชื่อว่าเป็นผู้แก้ไขไม่ได้ แม้เพราะการเยียวยา;
ภิกษุผู้เป็นบ้าเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุชื่อว่า มีจิตฟุ้งซ่าน ได้แก่ ผู้ปล่อยจิต (ไปตามอารมณ์) ท่าน
เรียกว่า เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง. ได้ยินว่า พวกยักษ์แสดงอารมณ์ทั้งหลาย
ที่น่ากลัว หรือสอดมือเข้าทางปากแล้ว บีบคั้นหทัยรูป กระทำพวกสัตว์ให้มี
ความจำคลาดเคลื่อน. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านเห็นปานนั้นไม่เป็นอาบัติ.
ส่วนความแปลกกันแห่งภิกษุผู้เป็นบ้าสองพวกนั้น มีดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุเป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ) จัดว่าเป็นบ้าตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว ไม่ได้
สัญญาตามปกติ. ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิง ยังกลับได้สัญญาตามปกติในบาง
ครั้งบางคราวบ้าง. แต่ในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ ผู้เป็นบ้าเพราะดี (กำเริบ)
ก็ดี ผู้เป็นบ้าเพราะยักษ์เข้าสิงก็ดี จะยกไว้, ภิกษุรูปใด หลงลืมสติโดย

ประการทั้งปวง วัตถุอะไร ๆ จะเป็นไฟก็ตาม ทองก็ตาม คูถก็ตาม แก่นจันทน์
ก็ตาม ก็ไม่รู้จัก ย่อมเที่ยวย่ำเหยียบเป็นเช่นเดียวกันหมด, ภิกษุบ้าเห็นปาน
นั้น ไม่เป็นอาบัติ แต่เมื่อกลับได้สัญญาขึ้นในบางครั้งบางคราว แล้วทำทั้ง
ที่รู้เป็นอาบัติทีเดียว.
ภิกษุชื่อว่ากระสับกระส่ายเพราะเวทนานั้น ได้แก่ ผู้ที่ทุรนทุรายเพราะ
ทุกขเวทนาเกินประมาณ ย่อมไม่รู้สึกอะไร ๆ, ภิกษุเห็นปานนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุชื่อว่า อาทิกัมมิกะนั้น ได้แก่ ผู้เป็นต้นเดิมในกรรมนั้น ๆ.
ส่วนในปฐมปาราชิกสิกขาบทนี้ พระสุทินนเถระ เป็นอาทิกัมมิกะ, พระเถระ
นั้น ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีสมณะผู้เสพเมถุนกับนางลิง และ
ภิกษุชาววัชชีบุตรเป็นต้น เป็นอาบัติทีเดียว ฉะนั้นแล.
พรรณนาบทภาชนีย์จบ.

สมุฏฐานที่เกิดแห่งอาบัติ มี 6 อย่าง


อนึ่ง เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบทนี้ พึงทราบปกิณกะนี้ว่า
สมุฏฐาน 1 กิริยา 1 สัญญา 1 สจิตตกะ 1
โลกวัชชะ 1 กรรมและกุศลพร้อมด้วยเจตนา 1.

ในปกิณกะเหล่านั้น ที่ชื่อว่าสมุฏฐานนั้น ได้แก่สมุฏฐานแห่ง
สิกขาบทมี 6 ด้วยอำนาจประมวลทั้งหมด. สมุฏฐานเหล่านั้น จักมีแจ้งใน
คัมภีร์บริวาร. แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ขึ้นชื่อว่าสิกขาบทมีสมุฏฐาน 6 ก็มี
มีสมุฏฐาน 4 ก็มี มีสมุฏฐาน 3 ก็มี มีสมุฏฐานอย่างกฐินสิกขาบทก็มี มี
สมุฏฐานอย่างเอฬกโลกสิกขาบทก็มี มีสมุฏฐานอย่างธุรนิกเขปสิกขาบทก็มี.
แม้ในสิกขาบทนั้นเล่า บางสิกขาบท เกิดเพราะทำ บางสิกขาบท
เกิดเพราะไม่ทำ บางสิกขาบท เกิดเพราะทำและไม่ทำ บางสิกขาบท บาง
คราวเกิดเพราะทำ บางคราวเกิดเพราะไม่ทำ บางสิกขาบท บางคราวเกิด
เพราะทำ บางคราวเกิดเพราะทั้งทำและไม่ทำ.

[อธิบายสิกขาบทที่เป็นสจิตตกะและอจิตตกะ]


แม้บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น สิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์ก็มี ที่เป็น
โนสัญญาวิโมกข์ก็มี. ในสิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์และโนสัญญาวิโมกข์
เหล่านั้น สิกขาบทใด ได้องค์คือจิตด้วย. สิกขาบทนั้น เป็นสัญญาวิโมกข์,
นอกนี้ เป็นโนสัญญาวิโมกข์. สิกขาบทที่เป็นอจิตตกะก็มี ที่เป็นสจิตตกะก็มี
อีก. สิกขาบทใด ต้องพร้อมด้วยจิตเท่านั่น สิกขาบทนั้น เป็นจิตตกะ.
สิกขาบทใด แม้เว้นจากจิตก็ต้อง, สิกขาบทนั้น เป็นอจิตตกะ. สิกขาบทนั้น