เมนู

เรื่องภิกษุเสพเมถุนธรรมทางมรรคและมิใช่มรรค


บัดนี้ เพื่อความไม่งมงายในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อ
ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรคทั้ง 3 ของมนุษย์ผู้เป็นหญิง เป็นต้น พระอุบาลี-
เถระจึงกล่าวคำว่า มคฺเคน มคฺคํ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มคฺเคน มคฺคํ ความว่า ภิกษุ
สอดองคชาตของตนเข้าไปทางบรรดามรรคทั้ง 3 ของหญิง มรรคใดมรรคหนึ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดามรรคทั้ง 2 ที่ระคนกัน ภิกษุสอดวัจจมรรคเข้าไปทาง
ปัสสาวมรรค หรือสอดปัสสาวมรรคเข้าไปทางวัจจมรรค.
สองบทว่า มคฺเคน อมคฺคํ ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางปัสสาวมรรค
เป็นต้นแล้ว จึงชักออกมาทางบาดแผล โดยรอบแห่งมรรคนั้น.
สองบทว่า อมคฺเคน มคฺคํ ความว่า ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผล
โดยรอบแล้ว จึงชักออกทางมรรค.
สองบทว่า อมคฺเคน อมคฺคํ บรรดาบาดแผลทั้ง 2 ที่ระคนกัน
ครั้นสอดเข้าไปทางบาดแผลที่หนึ่งแล้ว จึงชักออกทางบาดแผลที่สอง. ในการ
กำหนดว่าเป็นบาดแผล พึงทราบว่า เป็นถุลลัจจัย ในที่ทุกแห่งด้วยอำนาจ
อนุโลมตามพระสูตรนี้.

[ภิกษุเสพเมถุนธรรมในทวารของภิกษุหลับไม่พ้นอาบัติ

]
บัดนี้ เพื่อความไม่งมงายในพระดำรัสที่จักตรัสไว้ข้างหน้าว่า เมื่อภิกษุ
ไม่รู้ ไม่ยินดี ไม่เป็นอาบัติ พระอุบาลีเถระจึงกล่าวคำว่า ภิกฺขุ สุตฺตภิกฺขุมฺหิ
เป็นต้น.