เมนู

กถาว่าด้วยองคชาตมีเครื่องลาดและไม่มี


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงนำ 270 จตุกกะมาแล้ว เพื่อรักษา
ภิกษุผู้ปฏิบัติ ด้วยประการอย่างนี้ บัดนี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า บาปภิกษุ
เหล่าใดในอนาคต จักแกล้งอ้างเลศว่า อุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีชีวิต)
อะไร ๆ อันอุปมทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีชีวิต) จะถูกต้ององคชาตที่ลาด
แล้วนี้ หามีไม่, ในการที่ไม่ถูกต้องนี้จะมีโทษอย่างไรเล่า?, บาปภิกษุเหล่านั้น
จักไม่มีที่พึ่งในศาสนาอย่างนี้ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแยกแสดง บรรดาจตุกกะ
270 จตุกกะเหล่านั้น แต่ละจตุกกะ โดยความต่างแห่งองคชาตที่ลาดแล้ว
เป็นต้น 4 อย่าง จึงตรัสคำว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงมาใน
สำนักของภิกษุ แล้วให้นั่งทับองคชาตด้วยวัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค
ของหญิงที่มีเครื่องลาด ของภิกษุไม่มีเครื่องลาด ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ในสองบทเป็นต้นว่า สนฺถตาย อสนฺถตตสฺส
พึงทราบโยชนาโดยนัยนี้ว่า ให้นั่งทับองคชาตของภิกษุที่ไม่มีเครื่องลาด ด้วย
วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของหญิงที่มีเครื่องลาด. บรรดามรรค
ทั้ง 3 มรรคใดมรรคหนึ่งของหญิง ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาด ในบรรดามรรคที่มี
เครื่องลาดและไม่มีเครื่องลาดเหล่านั้น ได้แก่มรรคที่เขาเอาผ้าหรือใบไม้
เปลือกปอหรือหนัง หรือแผ่นดีบุกและสังกะสีเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง พัน
หรือสอดเข้าไปสวมไว้ในภายใน. องคชาตของชาย ที่ชื่อว่ามีเครื่องลาดนั้น
ได้แก่ องคชาตที่เขาเอาบรรดาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีผ้าเป็นต้นเหล่านั้น
นั่นเองมาสวมไว้.

ในมรรคทั้ง 3 เหล่านั้น อนุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่ไม่มีใจครอง)
กับอุปาทินนกะ (คือกายินทรีย์ที่มีใจครอง) จะกระทบกันก็ตาม อุปาทินนกะ
กับอนุปาทินนกะจะกระทบกันก็ตาม อนุปาทินนกะกับอนุปาทินนกะจะกระทบ
กันเองก็ตาม อุปาทินนกะกับอุปาทินนกะจะกระทบกันเองก็ตาม ถ้าองคชาต
เข้าไปตลอดประเทศที่พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า เมื่อองคชาตเข้าไปแล้ว
เป็นปาราชิก ดังนี้ไซร้ เมื่อภิกษุยินดีในทุก ๆ มรรค ในเขตแห่งปาราชิก
เป็นปาราชิก ในเขตแห่งถุลลัจจัย เป็นถุลลัจจัย ในเขตแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ
ทีเดียว.
ถ้านิมิตหญิงเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุกระทบปลอก มีทุกกฏ.
ถ้านิมิตของชายเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุสอดปลอกเข้าไปเป็นทุกกฏ. ถ้า
นิมิตทั้งสองเขาสวมปลอกกันไว้ เมื่อภิกษุกระทบปลอกกับปลอก เป็นทุกกฏ.
ถ้าเขาเอาบรรดาวัตถุมีปล้องไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้นไร ๆ สวมไว้ในนิมิตของ
หญิง แม้หากภิกษุสอด (องค์กำเนิด) เข้าไปถูกส่วนภายใต้แห่งวัตถุที่สวมไว้
นั้น เพียงเท่าเมล็ดงาเดียว เป็นปาราชิก หากสอดเข้าไปถูกส่วนเบื้องบนก็ดี
ถูกข้าง ๆ หนึ่ง บรรดาข้างทั้งสองก็ดี เป็นปาราชิก เมื่อสอดเข้าไปไม่ให้ถูก
ข้างทั้ง 4 แม้หากถูกพื้นภายในแห่งไม้ไผ่และไม้อ้อเป็นต้นนั้น ก็เป็นปาราชิก.
ก็ถ้าว่าสอดเข้าไปไม่ให้ถูกที่ข้างหรือที่พื้น ให้เชิดไปในอากาศอย่างเดียวแล้ว
ชักออก เป็นทุกกฏ ถูกต้องปลอกในภายนอก เป็นทุกกฏเหมือนกัน. บัณฑิต
พึงทราบลักษณะในทุก ๆ มรรคมีวัจจมรรคเป็นต้น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว
ไว้ในนิมิตหญิงฉะนั้นแล.
จบสันถตะจตุกกะปเภทกถา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสประเภทแห่งสันถตจตุกกะอย่างนั้นแล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น (ซ้ำอีก) เพราะเหตุที่พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก
หาใช่จะนำชนมีมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมาในสำนักของภิกษุอย่างเดียวไม่ โดยที่แท้
ยังนำแม้ภิกษุมาในสำนักของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น จึงทราบนำจตุกกะ
เหล่านั้นทั้งหมดมาแสดงซ้ำอีก โดยนัยมีอาทิว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำภิกษุ
มาในสำนักของมนุษย์ผู้หญิง ดังนี้. ในจตุกกะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียวแล.
จบการพรรณนาความต่างแห่งจตุกกะ ด้วยอำนาจภิกษุผู้เป็นข้าศึก

เรื่องพระราชาและโจรผู้เป็นข้าศึกต่อภิกษุเป็นต้น


ก็เพราะพวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกย่อมกระทำอย่างที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้
นั่นแล แม้อิสรชนมีพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้น ก็ทรงกระทำ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น จึงตรัสคำว่า ราชปจฺจตฺถิกา
เป็นต้น.
ในคำว่า ราชปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ พระราชา ชื่อว่าราชปัจจัตถิกา (พระราชาผู้เป็นข้าศึก) ก็พระราชา
เหล่านั้น ทรงนำมาเองบ้าง ให้คนเหล่าอื่นนำมาบ้าง (ซึ่งมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้น)
พึงทราบว่า ทรงนำมาทั้งนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือโจร ชื่อว่า โจรปัจจัตถิกา
(โจรผู้เป็นข้าศึก).