เมนู

[อรรถาธิบายความในพระคาถา]


ก็ในปริวารคาถานี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้ :- บุคคลผู้ละเมิดสิกขาบท
นั้น และต้องอาบัตินั้น ย่อมเป็นผู้เคลื่อน (จากสัทธรรม), คำทั้งปวงอัน
บัณฑิตพึงประกอบอย่างนี้.
สองบทว่า เตน วุจฺจติ มีความว่า บุคคล ย่อมเป็นผู้ไม่ใช่สมณะ
ไม่ใช่เหล่ากอแห่งศากยบุตร พลัดตกไป ขาดไป คือพ่ายแพ้จากศาสนา ด้วย
เหตุใด, ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้น เราจึงกล่าว. ถามว่า กล่าวว่าอย่างไร ?
แก้ว่า กล่าวว่าเป็นผู้พ่าย.
ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอยู่ร่วมกันในธรรมนี้ เหตุนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า
สังวาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สํวาโส นาม ดังนี้แล้ว จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า เอกกมฺมํ ก็เพื่อแสดงสังวาสนั้น.
ในคำว่า เอกกมฺมํ เป็นต้นนั้น มีคำอธิบายพร้อมทั้งโยชนา ดัง
ต่อไปนี้ :- สังฆกรรมทั้ง 4 อย่าง ชื่อว่า กรรมอันเดียวกัน เพราะความ
เป็นกรรมที่ภิกษุทั้งหลายผู้ปกตัตตะ กำหนดด้วยสีมา จึงพึงทำร่วมกัน. อนึ่ง
ปาฏิโมกขุทเทสทั้ง 5 อย่าง ชื่อว่าอุเทศเดียวกัน เพราะความเป็นอุเทศที่จะ
พึงสวดด้วยกัน. ส่วนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว ชื่อว่า สมสิกขาตา เพราะ
ความเป็นสิกขาที่ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวงจะศึกษาเท่ากัน. ลัชชีบุคคลแม้ทั้งปวง
ย่อมอยู่ร่วมกันในกรรมเป็นต้นเหล่านี้, บุคคลแม้ผู้เดียวจะปรากฏในภายนอก
จากกรรมเป็นต้นนั้นหามิได้; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงรวม
เอาสิ่งเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ตรัสว่า นี้ชื่อว่า สังวาส ในพระบาลีนี้. ก็แลสังวาส
เอาประการดังกล่าวแล้วนั้น ไม่มีกับบุคคลนั้น; เพระเหตุนั้น บุคคลผู้พ่าย
พระองค์จึงตรัสว่า ผู้หาสังวาสมิได้ ฉะนี้แล.