เมนู

ทั้ง 3 มรรคใดมรรคหนึ่ง ประมาณเท่าเมล็ดงา เป็นวัตถุแห่งปาราชิก, ที่เหลือ
พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. สัตว์ที่เกิดในนา ต่างโดยประเภทมี ปลา
เต่า และกบเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัจฉะ ศัพท์. ใน
สัตว์ที่เกิดในน้ำแม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่ง
ทุกกฏ โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในทีฆชาตินั่นเอง. ส่วนความแปลกกัน มีดัง
ต่อไปนี้ :-
ขึ้นชื่อว่ากับเป็นสัตว์มีปากแข็ง, กบเหล่านั้น มีสัณฐานปากกว้าง
แต่มีช่องปากแคบ; ในสัณฐานปากนั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสอดองคชาตเข้า
ไปได้, แต่สัณฐานปาก ย่อมถึงความนับว่าแผล, เพราะฉะนั้น พึงทราบมุข
สัณฐานนั้นว่า เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย.
ปักษีชาติ ต่างโดยประเภทมี กาก์และลูกนกสาลิกาเป็นต้นแม้ทั้งหมด
ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย กุกกุฏี ศัพท์. ในปักษีชาติแม้นั้น พึงทราบว่า เป็น
วัตถุแห่งปาราชิกและวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จตุปทชาติ (สัตว์มีสี่เท้า) ต่างโดยประเภทที่กระแต* พังพอน และ
เหี้ยเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย มัชชารี ศัพท์. ในจตุปทชาติ
แม้นั้นก็พึงทราบว่า เป็นวัตถุแห่งปาราชิก และเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ โดยนัย
ดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.

[ปาราชิกศัพท์เป็นไปในสิกขาบทเป็นต้น]


บทว่า ปาราชิโก แปลว่า พ่ายแพ้แล้ว คือ ถึงแล้วซึ่งความพ่ายแพ้.
จริงอยู่ ปาราชิก ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปทั้งในสิกขาบท อาบัติและบุคคล. ใน
3 อย่างนั้น ปาราชิกศัพท์ ที่เป็นไปในสิกขาบท พึงทราบ (ในที่มา) อย่างนี้ว่า
* บางท่านว่า สุนัขต้นไม้, มีชุกทางอินเดียภาคเหนือ.