เมนู

สองบทว่า วิญฺญุสฺส น สาเวติ ความว่า ไม่ประกาศแก่ผู้ฉลาด
ซึ่งสามารถจะเข้าใจได้.
หลายบทว่า สพฺพโส วา ปน ความว่า สิกขา ย่อมเป็นอันบอก
ลาแล้ว โดยปริยายใด ในบรรดาคำว่า พุทฺธํ ปจฺจจฺขามิ เป็นต้น แต่เธอ
หาได้ทำแม้ปริยายอย่างหนึ่งจากปริยายนั้น คือลั่นวาจาประกาศให้ได้ยินไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงกำหนดลักษณะแห่งการไม่บอกลาไว้ ด้วยคำว่า
เอวํ โข เป็นต้น. จริงอยู่ในคำว่า เอขํ โข เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
สิกขาย่อมเป็นอันภิกษุไม่บอกลา ด้วยอาการอย่างนี้แล หามีได้ด้วยเหตุ
อย่างอื่นไม่.

[อรรถาธิบายความหมายแห่งเมถุนธรรม]


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงใจความแห่งบทว่า เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย
เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้น.
ในคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
คำว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้ เป็นบทอุเทศแห่งเมถุนแห่งธรรมที่ควร
อธิบาย.
ธรรมของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย คือคนต่ำช้า ชื่อว่า อสัทธรรม.
ธรรมเป็นที่เสพของพวกชาวบ้านชื่อว่า คามธรรม. ธรรมของพวกคนถ่อย
ชื่อวสลธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่าถ่อยเองนั่นแล เพราะเป็นที่ไหลออก
แห่งกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วสลธรรม.
บท ทุฏฺฐุลฺลํ มีความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมชั่ว เพราะเป็นธรรม
อันกิเลสทั้งหลายประทุษร้ายแล้ว และชื่อว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะเป็นธรรม
ไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมชั่วหยาบ.

อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไปพึงเปลี่ยนสองบทว่า โย โส นี้ ทำให้เป็น ยนฺตํ
ประกอบใน 3 บทว่า ยนฺตํ ทุฏฐุลฺลํ ยนฺตํ โอทกนฺติกํ ยนฺตํ รหสฺสํ.
ก็แล พึงทราบโยชนาใน 3 บทนี้ อย่างนี้ว่า
การเห็นก็ดี การจับก็ดี การลูบคลำก็ดี การถูกต้องก็ดี การเบียดสีก็ดี
ซึ่งเป็นบริวารของกรรมนั้น จัดเป็นกรรมชั่วหยาบ แม้เพราะเหตุนั้น กรรมนั้น
จึงจัดเป็นกรรมชั่วหยาบ กรรมชั่วหยาบนั้น ชื่อว่าเมถุนธรรม น้ำอันบุคคล
ย่อมถือเอา เพื่อความสะอาดในที่สุดแห่งกรรมนั้น เหตุนั้น กรรมนั้น จึงชื่อว่า
มีน้ำเป็นที่สุด กรรมมีน้ำเป็นที่สุดนั่นแล ชื่อว่าโอทกันติกะ กรรมมีน้ำเป็น
ที่สุดนั้นชื่อว่า เมถุนธรรม กรรมนั้นชื่อว่าเป็นกรรมลับ เพราะความเป็น
กรรมที่ต้องทำในที่ลับ คือ ในโอกาสอันปิดบัง กรรมนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.
กรรมนั้น ชื่ออันคนเป็นคู่ ๆ พึงถึงร่วมกัน เพราะความเป็นกรรม
อันบุคคลพึงร่วมเป็นคู่ ๆ กัน. ในบทว่า ทฺวยทฺวยสมาปตฺติ นั้นพึงทราบ
โยชนาว่า กรรมอันคนเป็นคู่ ๆ พึงถึงรวมกันนั้น ชื่อว่า เมถุนธรรม.
ก็แล ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงชักธรรมทั้งปวง มี
อสัทธรรมเป็นต้นนั้นมารวมในที่เดียวกัน จึงตรัสว่า นี้ ชื่อว่า เมถุนธรรม.
ถามว่า เพราะเหตุไร อสัทธรรม จึงเรียกว่า เมถุนธรรม?
แก้ว่า อสัทธรรมนั้น เป็นของคนคู่ผู้กำหนัดแล้ว ผู้กำหนัดจัดแล้ว
ผู้อันราคะชุ่มใจแล้ว คือผู้อันราคะกลุ้มรุมแล้ว ได้แก่เป็นธรรมของคนคู่ผู้
ปานกัน เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เมถุนธรรม.
บทว่า ปฏิเสวติ นาม นี้ เป็นบทมาติกา เพื่อแสดงอาการซึ่งเป็น
เหตุอันพระองค์ตรัสเรียกบุคคลว่า พึงเสพเฉพาะ ในบทว่า ปฏิเสเวยฺย นี้.

ในบทว่า โย นิมิตฺเตน นิมิตฺตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ภิกษุใดให้นิมิตของตนเข้าไปทางนิมิตของหญิง คือให้องคชาตของตน
เข้าไปทางองคชาตของหญิง ในโอกาสอันชุ่ม ซึ่งลมถูกต้องไม่ได้ โดยประมาณ
อย่างต่ำที่สุด แม้เพียงเมล็ดงาหนึ่ง ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเสพเฉพาะ ด้วยอาการ
เพียงเท่านี้ เธอย่อมถึงความทำลายแห่งศีล คือ เป็นปาราชิก.

[สตรีนิมิตได้ฐาน 5 ปุริสนิมิตได้ฐาน 6]


ก็บรรดานิมิตของสตรีและบุรุษนี้ ในนิมิตของสตรี ได้ฐาน 5 คือ
ข้างทั้ง 4 และท่ามกลาง. ในนิมิตของบุรุษได้ฐาน 6 คือ ข้างทั้ง 4 ตรงกลาง
ปลาย. เพราะเหตุนั้น ในนิมิตของสตรี แม้สอดองคชาตเข้าไปทางใต้ ย่อม
เป็นปาราชิก สอสดเข้าไปจากข้างบนก็ดี สอดเข้าไปทางข้างทั้งสองก็ดี สอดเข้า
ไปตรงกลาง พ้นฐานทั้ง 4 ก็ดี ย่อมเป็นปาราชิก (ทั้งนั้น). ส่วนนิมิตแห่ง
บุรุษ แม้ภิกษุสอดเข้าไปให้ถูกทางส่วนล่าง ย่อมเป็นปาราชิก สอดเข้าไปให้
ถูกทางส่วนบนก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกทางข้างทั้งสองก็ดี สอดเข้าไปให้ถูกเฉพาะ
ตรงกลาง เหมือนให้นิ้วมือที่งอเข้าแล้ว จดเข้าด้วยหลังข้อกลางก็ดี สอดเข้าไป
ให้ถูกส่วนปลายก็ดี ย่อมเป็นปาราชิก (ทั้งนั้น).
บรรดานิมิตของสตรีและบุรุษนั้น แม้เมื่อภิกษุสอดองคชาตเข้าไปให้
เหมือนกับคันชั่ง ได้ฐาน 5 คือ ข้างทั้ง 4 และตรงกลาง. แม้เมื่อสอดให้งอ
เข้าไป ก็ได้ฐาน 5 คือ ข้างทั้ง 4 ส่วนปลายและตรงกลาง. ฐานแม้ทั้งหมด
ในนิมิตของบุรุษมี 10 ด้วยประการฉะนี้.
ภิกษุสอดหัวติ่ง* หรือปมหนัง ซึ่งมีกายประสาทยังดี ที่เกิดอยู่ใน
นิมิต (ของตน) เข้าไป (ในนิมิตของสตรี) เป็นอาบัติปาราชิก. สอดติ่งหนัง
* จมฺมขีลนฺติ นิมิตฺเต อุฏฐิตจมฺมเมว. อุณฺณิคณฺโฑติปิ วทนฺติ. สารัตถทีปนี.2/129
หมายถึงหัวที่เป็นติ่ง หรือตุ่มพอก ซึ่งเกิดอยู่ที่องคชาต.