เมนู

ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เวลานั้น พระราชาทรงรับสั่งให้ปูลาดอาสนะ
ทั้งสูงและต่ำไว้ภายในพระราชวัง แล้วรับสั่งว่า เชิญเข้ามาเถิด จึงทรงเชิญ
พวกนักบวชผู้มาแล้ว ๆ ว่า เชิญนั่งบนอาสนะที่สมควรแก่ตน ๆ เถิด ดังนี้.
บรรดานักบวชเหล่านั้น บางพวกนั่งบนตั่งภัทรบิฐ บางพวกก็นั่งบนตั่งแผ่น-
กระดาน. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาที่นั่งนั้นแล้ว ก็ทรงทราบได้ว่า
นักบวชเหล่านั้นไม่มีธรรมที่เป็นสาระในภายในเลย ได้ถวายของควรเคี้ยวควร
บริโภคที่ควรแก่นักบวชเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงส่งกลับไป.
เมื่อกาลเวลาล่วงไปอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่
ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มี
อินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง.

[ประวัตินิโครธสามเณร]


ถามว่า ก็ชื่อว่านิโครธนี้ คืออะไร ? แก้ว่า นิโครธนี้เป็นพระโอรส
ของสุมนราชกุมาร ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าพินทุสาร. ในเรื่องนั้น
มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้ : -
ดังไม้สดับมาว่า ในเวลาที่พระเจ้าพินทุสาร ( ผู้พระชนก ) ทรงทุพพล-
ภาพนั่นแล ( ทรงพระประชวรหนัก ) อโศกกุมาร ได้สละราชสมบัติในกรุงอุชเชนี
ที่ตนได้แล้ว เสด็จกลับมายึดเอาพระนครทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือของตน แล้ว
ได้จับสุมนราชกุมารไว้. ในวันนั้นเอง พระเทวีชื่อสุมนา ของสุมนราชกุมาร
ได้ทรงพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว. พระนางสุมนาเทวีนั้นปลอมเพศหนี้ เดินมุ่ง
ไปสู่บ้านคนจัณฑาลแห่งใดแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ได้ทรงสดับเสียงของเทวดา
ผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธแห่งใดแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากเรือนของหัวหน้าหมู่บ้าน

คนจัณฑาล ซึ่งกล่าวเชิญอยู่ว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าสุมนา ! ขอจงเสด็จเข้ามา
ทางนี้เถิด ก็ได้เสด็จเข้าไปใกล้เทวดานั้น. เทวดาได้นิรมิตศาลาหลังหนึ่ง
ด้วยอานุภาพของตน แล้วได้ถวายว่า ของพระแม่เจ้า จงประทับอยู่ที่ศาลา
หลังนี้เถิด. พระเทวีนั้นได้เสด็จเข้าไปสู่ศาลาหลังนั้นแล้ว. ในวันที่พระนาง
เสด็จเข้าไปถึงนั่นเอง ก็ประสูติพระโอรส. เพราะเหตุที่พระโอรสนั้น อัน
เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธรักษาไว้ พระนางเทวีนั้น จึงทรงขนานพระนามว่า
นิโครธ. หัวหน้าหมู่บ้านคนจัณฑาลได้สำคัญพระเทวีนั้น เป็นดุจธิดาแห่งนาย
ของตน ตั้งแต่วันที่ตนได้พบเห็น จึงได้ตั้งขอปฏิบัติประจำไว้. พระราชธิดา
ได้ประทับอยู่ ณ สถานที่นั้นสิ้น 7 ปี. ฝ่ายนิโครธกุมาร ก็มีชนมายุได้ 7 ปี
แล้ว.

[นิโครธกุมารบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์พระชนม์ 7 ปี]


ในครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ชื่อมหาวรุณเถระ เป็นพระอรหันต์
ได้เห็นความถึงพร้อมแห่งเหตุของทารก ได้พิจารณาคิดว่า บัดนี้ ทารกมี
ชนมายุได้ 7 ปี, เป็นกาลสมควรที่จะให้เขาบวชได้ จึงทูลพระราชธิดาให้
ทรงทราบ แล้วให้นิโครธกุมารนั้นบวช. ในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง พระกุมาร
ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์. วันหนึ่งนิโครธสามเณรนั้น ได้ชำระร่างกายแต่
เช้าตรู่ ทำอาจาริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเสร็จแล้ว ถือเอาบาตรและจีวร คิดว่า
เราจะไปยังประตูเรือนของโยมมารดา แล้วก็ออกไป. ก็นิวาสสถานแห่งโยม
มารดาของนิโครธสามเณรนั้น ต้องเดินเข้าไปยังพระนคร ทางประตูด้านทิศ
ทักษิณ ผ่านท่ามกลางพระนครไปออกทางประตูด้านทิศปราจีน. ก็โดยสมัยนั้น
พระเจ้าอโศกธรรมราช ทรงเสด็จจงกรมอยู่ที่สีหบัญชร ผินพระพักตร์ไปทาง
ทิศปราจีน. ขณะนั้นเอง นิโครธสามเณร ผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ทอด