เมนู

หลายบทว่า เตหิ อากาเรหิ เตหิ ลิงฺเคหิ เตหิ นิมิตฺเตหิ
ความว่า (ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นรู้) ด้วยคำไวพจน์แห่งพระรัตนตรัย มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น คือ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า คำไวพจน์แห่ง
พระพุทธเจ้าก็ดี. จริงอยู่ คำไวพจน์ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อาการ เพราะ
เป็นเหตุแห่งการบอกลาสิกขา, เรียกว่า เพศ เพราะแสดงทรวดทรงแห่ง
พระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือ เพราะความเหมาะสมแก่การบอกลาสิกขานั่นเอง,
เรียกว่า นิมิต เพราะเป็นเหตุให้รู้การบอกลาสิกขา เหมือนจุดดำทั้งหลายมีมูล
แมลงวันเป็นต้น (ไฝ) ของพวกมนุษย์ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกำหนดแน่นอนลงไปว่า เอวํ โข ภิกฺขเว
ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุแห่งการบอกลาสิกขาอย่างอื่น นอกจากเหตุที่กล่าว
แล้วนี้ไม่มี. จริงอยู่ ในคำว่า เอวํ โข นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความในให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพล และการบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล เหตุอื่น
นอกจากนี้ หามีไม่.

[ลาสิกขากับคนวิกลจริตเป็นต้นไม่เป็นอันบอกลา]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะแห่งการบอกลาสิกขาอย่าง
นี้แล้ว เพื่อความไม่เลอะเลือนในการไม่บอกลา เพื่อแสดงความวิบัติแห่ง
ลักษณะการบอกลาสิกขานั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งบุคคลเป็นต้น จึงตรัสคำว่า
กถญฺจ ภิกฺขเว อปจฺจกฺขาตา ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า อปจฺจกฺขาตา
เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
คำว่า เยหิ อากาเรหิ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.

บทว่า อุมฺมตฺตโก ได้แก่ ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง หรือบ้า
เพราะดีกำเริบ คือ ภิกษุมีสัญญาวิปริตรูปใดรูปหนึ่ง. ภิกษุบ้านั้น ถ้าบอกลา
(สิกขา) ไซร้, สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา.
บทว่า อุมฺมตฺตกสฺส ได้แก่ ภิกษุบ้าเช่นนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่
ถ้าปกตัตตภิกษุ บอกลาสิกขาในสำนักของภิกษุบ้าเช่นนั้นไซร้, ภิกษุบ้าไม่
เข้าใจ, สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา
ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน. อนึ่ง
คำว่า ภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิง หรือภิกษุบ้าเพราะดีกำเริบ ท่านกล่าวไว้
แล้วในบทต้น โดยความเป็นภิกษุบ้าเสมอกัน. ความแปลกกันแห่งภิกษุบ้า
แม้ทั้งสองจักมีแจ้งในอนาปัตติวาร. ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่านอย่างนั้น บอกลา
(สิกขา) สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย. สิกขาแม้อันปกตัตตภิกษุบอกลาแล้ว
ในสำนักของภิกษุบ้าเพราะถูกยักษ์เข้าสิงนั้น เมื่อภิกษุบ้านั้นไม่เข้าใจ ก็ไม่
เป็นอันบอกลา.
บท เวทนฏฺโฏ ได้แก่ ภิกษุอันทุกขเวทนาที่มีกำลังถูกต้องแล้ว
คือ ผู้ถูกความสยบครอบงำแล้ว. สิกขาที่ภิกษุผู้ถูกเวทนาเบียดเบียนบ่นเพ้อ
อยู่นั้น แม้บอกลาแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลา. สิกขา แม้อันภิกษุบอกลา
แล้วในสำนักของภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำนั้น เมื่อภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำนั้น
ไม่เข้าใจ ก็ไม่เป็นอันบอกลา.
สองบทว่า เทวตาย สนฺติเก ความว่า สิกขาที่ภิกษุบอกลาแล้ว
ในสำนักของเทวดาเริ่มต้นแต่ภุมเทวดาไปจนถึงอกนิฏฐเทวดา ย่อมไม่เป็นอัน
บอกลา.

บทว่า ติรจฺฉานคตสฺส ความว่า สิกขาที่ภิกษุบอกลาแล้วในสำนัก
ของนาคมาณพก็ดี สุบรรณมาณพก็ดี หรือในสำนักของเทวดาเหล่ากินนร
ช้างและลิงเป็นต้นพวกใดพวกหนึ่งก็ดี ย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย.
สิกขา ที่ภิกษุบอกลาในสำนักของบรรดาภิกษุบ้าเป็นต้นเหล่านั้น ย่อม
ไม่เป็นอันบอกลาแท้ เพราะ (ภิกษุบ้าเป็นต้นนั้น) ไม่เข้าใจ. ที่บอกลาใน
สำนักของเทวดา ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลา (เหมือนกัน) เพราะ (เทวดา)
เข้าใจเร็วเกินไป. ชื่อว่าเทวดาพวกที่มีปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ มีปัญญามาก
ย่อมรู้อะไรเร็วเกินไป. ก็ขึ้นชื่อว่าจิตนี้ ย่อมเป็นธรรมชาติเป็นไปเร็ว; เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงใฝ่พระทัยว่า ความพินาศของบุคคล (ภิกษุ)
ผู้มีจิตกลับกลอก อย่าได้มีเร็วนัก เพราะอำนาจจิตนั่นเลย จึงทรงห้ามการลา
สิกขาในสำนักของเทวดาไว้. ส่วนในหมู่มนุษย์ ไม่มีกำหนดไว้, สิกขาที่
ภิกษุบอกลาในสำนักของคนใดคนหนึ่ง ผู้เป็นสภาคกัน (คือบุรุษ) ก็ตาม
ผู้เป็นวิสภาคกัน (คือมาตุคาม) ก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม
ซึ่งเข้าใจ (ผู้รู้เดียงสา) ย่อมเป็นอันบอกลาแล้วแท้. ถ้าว่าคนนั้น ไม่เข้าใจ
ไซร้, สิกขา ก็ย่อมไม่เป็นอันบอกลาเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงใจความนั่น จึงตรัสคำว่า อริยเกน
เป็นต้น. ในคำว่า อริยเกน เป็นต้นนั้น มีวินิจฉันดังนี้ :-
โวหารของชาวอริยะ ซึ่งอริยกะ ได้แก่ ภาษาของชาวมคธ. โวหาร
ที่ไม่ใช่ของชาวอริยะอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อมีลักขกะ ได้แก่ โวหารของชาว
อันธทมิฬ (คนดำ) เป็นต้น.
หลายบทว่า โส เจ น ปฏิวิชานาติ ความว่า (ถ้าชนชาวมิลักขะนั้น)
ไม่เข้าใจว่า ภิกษุนั่น พูดเนื้อความชื่อนี้ เพราะความที่ตนไม่รู้ในภาษาอื่น
หรือเพราะความที่ตนไม่ฉลาดในพุทธสมัยสิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกลา.

บทว่า ทวาย1 ความว่า ภิกษุผู้มีความประสงค์จะพูดอย่างหนึ่ง
โดยเร็ว แต่พูดไปโดยเร็วว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า ดังนี้ (ชื่อว่า ภิกษุ
บอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่นหรือกล่าวเร็ว).
บท รวาย แปลว่า โดยการพูดพลาด.
หากจะมีผู้ถาม ถามว่า ภิกษุคิดว่า เพราะจักพูดอย่างหนึ่ง ดังนี้ แต่
พูดไปอีกอย่างหนึ่ง คือพูดว่า เราบอกคืนพระพุทธเจ้า2 ดังนี้ คำพูดที่พูดนี้
กับคำพูดที่มีอยู่ก่อน3 มีความแปลกกันอย่างไร?
แก้ว่า แม้ผู้ฉลาดพูดคำก่อนพลาดไปเป็นคำอื่น ก็ด้วยอำนาจความเร็ว
แต่บุคคลผู้พลั้งพลาดตั้งใจว่า เราจักพูดอย่างหนึ่งพลาดไปพูดอย่างหนึ่งนี้
ก็เพราะความที่ตนเป็นคนทึบ เป็นคนหลงงมงาย.
สองบทว่า อสฺสาเวตุกาโม สาเวติ ความว่า ภิกษุบอก สอบถาม
เล่าเรียน ทำการสาธยาย พรรณนาบาลีแห่งสิกขาบทนี้ ภิกษุนี้ เรียกว่า
ผู้ไม่ประสงค์จะประกาศ แต่ประกาศให้ได้ยิน.
หลายบทว่า สาเวตุกาโม น สาเวติ ความว่า ภิกษุทำให้
แจ้งความเป็นผู้ทุรพลแล้วบอกคืนสิกขา แต่ไม่ลั่นวาจา ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้
ประสงค์จะประกาศ แต่ไม่ประกาศให้ได้ยิน.
สองบทว่า อวิญฺญุสฺส สาเวติ ความว่า ประกาศแก่คนชราผู้เป็น
เช่นกันด้วยรูปปั้นหรือผู้มีปัญญาทึบ ซึ่งไม่ฉลาดในลัทธิ (ศาสนา) หรือพวก
เด็กชาวบ้าน ผู้ยังไม่บรรลุเดียงสา.
1. ฎีกาสารัตถทีปนี้. 2/125. แก้ไว้ว่า ทวาติ สหสา แปลว่า บทว่า ทวะ แปลว่า โดยเร็ว.
2. อญฺญํ ภณิสสฺสามีติ อญฺญํ ภณนฺโต พุทฺธํ ปจฺจกฺขามีติ ภณติ สารัตถทีปนี.2/125
3.ปุริเมน ภณเนน สทฺธึ อิมสฺส ภณนสฺส โก วิเสโสติ ปุจฺฉโก เจ ปจฺฉติ. อตฺถโยชนา
1/253

สองบทว่า วิญฺญุสฺส น สาเวติ ความว่า ไม่ประกาศแก่ผู้ฉลาด
ซึ่งสามารถจะเข้าใจได้.
หลายบทว่า สพฺพโส วา ปน ความว่า สิกขา ย่อมเป็นอันบอก
ลาแล้ว โดยปริยายใด ในบรรดาคำว่า พุทฺธํ ปจฺจจฺขามิ เป็นต้น แต่เธอ
หาได้ทำแม้ปริยายอย่างหนึ่งจากปริยายนั้น คือลั่นวาจาประกาศให้ได้ยินไม่.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงกำหนดลักษณะแห่งการไม่บอกลาไว้ ด้วยคำว่า
เอวํ โข เป็นต้น. จริงอยู่ในคำว่า เอขํ โข เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
สิกขาย่อมเป็นอันภิกษุไม่บอกลา ด้วยอาการอย่างนี้แล หามีได้ด้วยเหตุ
อย่างอื่นไม่.

[อรรถาธิบายความหมายแห่งเมถุนธรรม]


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงใจความแห่งบทว่า เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสเวยฺย
เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้น.
ในคำว่า เมถุนธมฺโม นาม เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
คำว่า เมถุนธมฺโม นาม นี้ เป็นบทอุเทศแห่งเมถุนแห่งธรรมที่ควร
อธิบาย.
ธรรมของพวกอสัตบุรุษทั้งหลาย คือคนต่ำช้า ชื่อว่า อสัทธรรม.
ธรรมเป็นที่เสพของพวกชาวบ้านชื่อว่า คามธรรม. ธรรมของพวกคนถ่อย
ชื่อวสลธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชื่อว่าถ่อยเองนั่นแล เพราะเป็นที่ไหลออก
แห่งกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วสลธรรม.
บท ทุฏฺฐุลฺลํ มีความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมชั่ว เพราะเป็นธรรม
อันกิเลสทั้งหลายประทุษร้ายแล้ว และชื่อว่าเป็นธรรมหยาบ เพราะเป็นธรรม
ไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมชั่วหยาบ.