เมนู

แห่งคณะพรหมทวยเทพมวลมนุษย์ฝูงนาค และหมู่ยักษ์ เพราะพระพุทธรูป
นั้นมีความแพรวพราวด้วยความฉวัดเฉวียนแห่งพระรัศมีอันแผ่ออกข้างละวา
วงล้อมรัศมีอันวิจิตรด้วยสีมีสีเขียวสีเหลืองสีแดงเป็นต้น ได้ทรงกระทำการบูชา
อันได้นามว่า บูชาด้วยดวงตา ตลอด 7 วัน.

[พระเจ้าอโศกไม่ทรงเลื่อมใสนักบวชนอกศาสนา]


ได้ยินว่า พระราชาทรงรับการอภิเษกแล้ว ได้ทรงนับถือลัทธิพาเหียร
ปาสัณฑะ1 ตลอดเวลา 3 ปีทีเดียว. ในปีที่ 4 จึงได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธ
ศาสนา. ได้ยินว่า พระเจ้าพินทุสารพระชนกของพระราชาพระองค์นั้น ได้ทรง
นับถือพวกพราหมณ์. ท้าวเธอได้ทรงตั้งนิตยภัตไว้ แก่พวกพราหมณ์ และ
แก่ตาปะขาวและปริพาชกเป็นต้น ผู้ถือลัทธิปาสัณฑะอันเป็นของประจำชาติ
พราหมณ์มีประมาณหกแสนคน. แม้พระเจ้าอโศก ก็ทรงถวายทานที่พระชนก
ให้เป็นไปแล้วในภายในบุรีของพระองค์เหมือนอย่างนั้น ในวันหนึ่ง ได้ประทับ
ยืนอยู่ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นพวกพราหมณ์เหล่านั้น ผู้กำลังบริโภค
(อาหาร) ด้วยมารยาทที่เหินห่างจากความสงบเรียบร้อย ไม่มีความสำรวม
อินทรีย์ ทั้งไม่ได้รับฝึกหัดอิริยาบถ (กิริยามารยาท) จึงทรงดำริว่า การที่เรา
ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วให้ทานเช่นนี้ในเขตที่เหมาะสมจึงควร ครั้นทรงดำริ
อย่างนี้แล้ว จึงตรัสเรียกพวกอำมาตย์ว่า ไปเถิด พนาย ! พวกท่านจงนำสมณะ
และพราหมณ์ของตน ๆ ผู้สมมติกันว่าดี มายังภายในพระราชวัง เราจักถวาย
ทาน. พวกอำมาตย์ทูลรับพระราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า ! แล้วก็ได้นำ
นักบวชนอกศาสนามีตาปะขาว ปริพาชก อาชีวก และนิครนถ์เป็นต้นนั้น ๆ
มาแล้วทูลว่า ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ! ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์
1. ปาสัณฑะ คือลัทธิที่ถือผิด หรือเจ้าลัทธิผู้ถือผิด แปลตามรูปศัพท์ว่า ลัทธิขว้างบ่วง คือ
บ่วงคล้องจิตสัตว์ มีอยู่ 2 คือ ตัณหาปาสะ บ่วงคือตัณหา 1 ทิฏฐิปาสะ บ่วงคือทิฏฐิ 1.

ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เวลานั้น พระราชาทรงรับสั่งให้ปูลาดอาสนะ
ทั้งสูงและต่ำไว้ภายในพระราชวัง แล้วรับสั่งว่า เชิญเข้ามาเถิด จึงทรงเชิญ
พวกนักบวชผู้มาแล้ว ๆ ว่า เชิญนั่งบนอาสนะที่สมควรแก่ตน ๆ เถิด ดังนี้.
บรรดานักบวชเหล่านั้น บางพวกนั่งบนตั่งภัทรบิฐ บางพวกก็นั่งบนตั่งแผ่น-
กระดาน. พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาที่นั่งนั้นแล้ว ก็ทรงทราบได้ว่า
นักบวชเหล่านั้นไม่มีธรรมที่เป็นสาระในภายในเลย ได้ถวายของควรเคี้ยวควร
บริโภคที่ควรแก่นักบวชเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงส่งกลับไป.
เมื่อกาลเวลาล่วงไปอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง พระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่
ที่สีหบัญชร ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ฝึกฝนคุ้มครองตน มี
อินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวง.

[ประวัตินิโครธสามเณร]


ถามว่า ก็ชื่อว่านิโครธนี้ คืออะไร ? แก้ว่า นิโครธนี้เป็นพระโอรส
ของสุมนราชกุมาร ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าพินทุสาร. ในเรื่องนั้น
มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้ : -
ดังไม้สดับมาว่า ในเวลาที่พระเจ้าพินทุสาร ( ผู้พระชนก ) ทรงทุพพล-
ภาพนั่นแล ( ทรงพระประชวรหนัก ) อโศกกุมาร ได้สละราชสมบัติในกรุงอุชเชนี
ที่ตนได้แล้ว เสด็จกลับมายึดเอาพระนครทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือของตน แล้ว
ได้จับสุมนราชกุมารไว้. ในวันนั้นเอง พระเทวีชื่อสุมนา ของสุมนราชกุมาร
ได้ทรงพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว. พระนางสุมนาเทวีนั้นปลอมเพศหนี้ เดินมุ่ง
ไปสู่บ้านคนจัณฑาลแห่งใดแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล ได้ทรงสดับเสียงของเทวดา
ผู้สิงอยู่ที่ต้นนิโครธแห่งใดแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากเรือนของหัวหน้าหมู่บ้าน