เมนู

ญายปฏิปนฺนํ สงฺฆํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ปฏิ-
บัติเป็นธรรม
สามีจิปฏิปนฺนํ " " ข้าพเจ้าบอกค้นพระสงฆ์ผู้ปฏิ-
บัติสมควร
จตุปฺปริสยุคํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์คู่บุรุษ
สี่
อฏฺฐปุริสปุคฺคลํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์คือ
บุรุษบุคคลแปด
อาหุเนยฺยํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควร
คำนับ
ปาหุเนยฺยํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควร
ของต้อนรับ
ทกฺขิเณยฺยํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควร
ของทำบุญ
อญฺชลิกรณียํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้ควร
ทำอัญชลี
อนุตฺตรํ ปุญฺญฺเขตฺตํ สงฺฆํ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้เป็น
ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ผู้เป็น
อื่นยิ่งกว่า

[อรรถาธิบายวิธีลาสิกขาทั่วไป]


การบอกลาด้วยคำว่า สิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสิกขาอย่างนี้ คือ:-



ภิกฺขุสิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขาของภิกษุ
ภิกฺขุนีสิกฺข " ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขาของภิกษุณี
อธิสีลสิกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิสีลสิกขา
อธิจิตฺตสิกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิจิตสิกขา
อธิปญฺญาสิกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอธิปัญญาสิกขา.
การบอกลาด้วยคำว่า วินยํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งวินัย มีอาทิอย่างนี้
คือ:-
ภิกฺขุวินยํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนวินัยของภิกษุ
ภิกฺขุนีวินยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนวินัยของนางภิกษุณี
ปฐมํ ปาราชิกกํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปฐมปาราชิก
ทุติยํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนทุติยปาราชิก
ตติยํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนตติยปาราชิก
จตุตฺถํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนจตุตถปาราชิก
สงฺฆาทิเสสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนสังฆาทิเสส
ถุลฺลจฺจยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนถุลลัจจัย
ปาจิตฺติยํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปาจิตติยะ
ปาฏิเทสนียํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิเทสนียะ
ทุกฺกฏํ " ข้าพเจ้าบอกคืนทุกกฏ
ทุพฺภาสิตํ " ข้าพเจ้าบอกคืนทุพภาษิต.
การบอกลาด้วยคำว่า ปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งปาฏิโมกข์อย่างนี้
คือ:-



ภิกขุปาฏิโมกฺขํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุปาฏิโมกข์
ภิกขุนีปาฏิโมกฺขํ " ข้าพเจ้าบอกคืนภิกขุนีปาฏิโมกข์.
การบอกลาด้วยคำว่า อุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุเทศ มีอาทิ
อย่างนี้คือ:-
ภิกขุปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทส
ปฐมํ ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทสที่ 1
ทุติยํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทสที่ 2
ตติยํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทสที่ 3
จตุตฺถํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมก-
ขุทเทสที่ 4
ปญฺจมํ " " ข้าพเจ้าบอกคืนปาฏิโมกขุท-
เทสที่ 5
สมฺมาสมฺพุทฺธุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อนนฺตพุทฺธิอุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระอนันตพุทธิเจ้า

อโนมพุทฺธิอุทฺเทสํ ปจฺจกฺขามิ ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระอโนมพุทธิเจ้า
โพธิปฺปญฺญาณุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระโพธิปัญญาณเจ้า
ธีรุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระธีรเจ้า
วิคตโมหุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระวิคตโมหเจ้า
ปภินฺนขีลุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระปภินนขีลเจ้า
วิชิตวิชยุทฺเทสํ " ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศแห่ง
พระวิชิตวิชัยเจ้า.
การบอกลาด้วยคำว่า อหุปชฺฌายํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุปัชฌายะ
อย่างนี้คือ :-
ภิกษุใด ให้ข้าพเจ้าบรรพชา ภิกษุใด ให้ข้าพเจ้าอุปสมบท ข้าพเจ้า
บรรพชาแล้ว เพราะมีภิกษุใดเป็นประธาน ข้าพเจ้าอุปสมบทแล้ว เพราะมี
ภิกษุใดเป็นประธาน บรรพชาของข้าพเจ้ามีภิกษุใดเป็นประธาน อุปสมบทของ
ข้าพเจ้ามีภิกษุใดเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า อาจริยํ ปจฺจกฺขามฺ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอาจารย์อย่างนี้
คือ:-


ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าบรรพชา ภิกษุใดสวดประกาศข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
อาศัยภิกษุใดอยู่ ข้าพเจ้าให้ภิกษุใดแสดงอุเทศให้ ข้าพเจ้าสอบถามอุเทศกะ
ภิกษุใด ภิกษุใดแสดงอุเทศแก่ข้าพเจ้า ภิกษุใดอนุญาตให้ข้าพเจ้าถามอุเทศ
ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า สทฺธิวิหาริกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการบอก
ลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสัทธิวิหาริก
อย่างนี้ คือ:-
ข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา ข้าพเจ้าให้ภิกษุใดอุปสมบท สามเณร
ใดบรรพชาแล้ว เพราะมีข้าพเจ้าเป็นประธาน ภิกษุใดอุปสมบทแล้ว เพราะ
มีข้าพเจ้าเป็นประธาน บรรพชาของสามเณรใด มีข้าพเจ้าเป็นประธาน อุปสมบท
ของภิกษุใด มีข้าพเจ้าเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืนสามเณรและภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า อนฺเตวาสิกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอันเตวาสิก
อย่างนี้คือ:-
ข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา ข้าพเจ้าสวดประกาศให้ภิกษุใด ภิกษุ
ใดอาศัยข้าพเจ้าอยู่ ภิกษุใดให้ข้าพเจ้าแสดงอุเทศให้ ภิกษุใดสอบถามอุเทศ
กะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าแสดงอุเทศแก่ภิกษุใด ข้าพเจ้าอนุญาตให้ภิกษุใดสอบถาม
อุเทศ ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า สมานูปชฺฌายกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระผู้ร่วม
อุปัชฌายะอย่างนี้ คือ:-

อุปัชฌายะของข้าพาเจ้าให้สามเณรใดบรรพชาแล้วให้ภิกษุใดอุปสมบท
แล้ว สามเณรใดบรรพชาแล้วในสำนักของอุปัชฌายะนั้น ภิกษุใดอุปสมบท
แล้วในสำนักของอุปัชฌายะนั้น บรรพชาของสามเณรใดมีอุปัชฌายะนั้นเป็น
ประธาน อุปสมบทของภิกษุใด มีอุปัชฌายะนั้นเป็นประธาน ข้าพเจ้าบอกคืน
ภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า สมานาจริยกํ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระผู้
ร่วมอาจารย์อย่างนี้ คือ:-
อาจารย์ของข้าพเจ้าให้สามเณรใดบรรพชา สวดประกาศให้ภิกษุใด
ภิกษุใดอาศัยอาจารย์นั้นอยู่ ภิกษุใดให้อาจารย์นั้นแสดงอุเทศให้สอบถามอุเทศ
อาจารย์ของข้าพเจ้า แสดงอุเทศแก่ภิกษุใด อนุญาตให้ภิกษุใดสอบถามอุเทศ
ข้าพเจ้าบอกคืนภิกษุนั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า สพฺรหฺมจารึ ปจฺจกฺขามิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งพระ-
เพื่อนพรหมจรรย์อย่างนี้ คือ :-
ข้าพเจ้า ศึกษาอธิศีล ศึกษาอธิจิต ศึกษาอธิปัญญา ร่วมกับภิกษุใด
ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจรรย์นั้น.
การบอกลาด้วยคำว่า คีหีติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลาด้วย
คำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งคฤหัสถ์อย่างนี้ คือ:-
อาคาริโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นผู้
ครองเรือน
กสโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นชาวนา

วาณิโชติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นพ่อค้า
โครกฺโขติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้เลี้ยงโค
โอคลฺลโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นคนกำพร้า
โมลิพทฺโธติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้ไว้ผมจุก
กามคุณิโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นผู้รักกามคุณ
การบอกลาด้วยคำว่า อุปาสโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอุบาสกอย่างนี้
คือ :-
เทฺววาจิโก อุปสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอุบาสกผู้มีวาจา 2
เตวาจิโกติ " " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอุบาสกผู้มีวาจา 3
พุทฺธํ สรณคมนิโก" " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอุบาสกผู้เข้าถึงพระ-
พุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง
ธมฺมํ สรณคมนิโก" " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงพระธรรม
ว่าเป็นที่พึง

สงฺฆํ สรณคมนิโก อุปสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้า
ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง
พระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง,
ปญฺจสิกฺขาปทิโก อุปาสโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้า
ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้
รักษาสิกขาบท 5
ทสสิกฺขาปทิโก อุปาสโกติ มํ ธาราหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้
ว่า เป็นอุบาสกผู้รักษา
สิกขาบท 10.
การบอกลาด้วยคำว่า อารามิโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งอารามิกะ (ผู้
รักษาวัดหรือผู้รักษาสวน) อย่างนี้คือ :-
กปฺปิยการโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
กัปปิยการก,
เวยฺยาวจฺจกโรติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ไวยาวัจกร,
อปหริตการโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้ทิ้งของสดเขียว, (ผู้ดายหญ้า)
ยาคุภาชโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้แจกข้าวต้ม,

ผลภาชโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้แจกผลไว้,
ขชฺชกภาชโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้แจกของขบเคี้ยว,
การบอกลาด้วยคำว่า สามเณโรติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยไวพจน์แห่งสามเณรอย่างนี้
คือ:-
กุมารโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สามเณรน้อย,
เจฏโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สามเณรเล็ก,
เปฏโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สามเณรปานกลาง,
โมณิคลฺโลติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สามเณรโค่ง,
สมณุทฺเทโสติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สมณุทเทศ, (คือสามเณรมีอายุมาก
หรือเถร)
การบอกลาด้วยคำว่า ติตฺถิโยติ มํ ธาเรห ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งเดียรถีย์อย่างนี้
คือ:-


นิคฺคณฺโฐติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
นิครณฐ์,
อาชีวโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
เป็นอาชีวก,
ตาปิโสติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
เป็นดาบส,
ปริพฺพาชโกติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ปริพาชก,
ปณฺฑรงฺโคติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ตาปะขาว,
การบอกลาด้วยคำว่า ติตฺถิยสาวโกติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งสาวก-
เดียรถีย์อย่างนี้ คือ :-
นิคฺคณฺฐสาวโกติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สาวกของนิครณฐ์.
อาชีวกตาปสปริพฺพาชกปณฺฑ- ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
รงฺคสาวโกติ มํ ธาเรหิ สาวกของอาชีวกดาบสปริพาชกและ
ตาปะขาว.
การบอกลาด้วยคำว่า อสฺสมโณติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการบอกลา
ด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งผู้มิใช่สมณะ
อย่างนี้ คือ :-



ทุสฺสีโลติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้ทุศีล,
ปาปธมฺโมติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้มีธรรมลามก,
อสุจิสงฺกสฺสรร- ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สมาจาโรติ " " ผู้ไม่สะอาดและมีสมาจารที่ตาม
ระลึกด้วยความรังเกียจ,
ปฏิจฺฉนฺน- ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
กมฺมนฺโตติ " " ผู้มีงานปกปิด,
อสฺสมโณ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
สมณปฏิญฺโญติ " " ผู้มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็น
สมณะ,
อพฺพหฺมจารี พฺรหฺม- ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า
จาริปฏิญฺโญติ " " เป็นผู้ประพฤติไม่ประเสริฐ ก็
ปฏิญญาว่า เป็นผู้ประพฤติ-
ประเสริฐ,
อนฺโตปูตีติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้บูดเน่าภายใน,
อวสฺสุโตติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้อันราคะให้ชุ่มแล้ว,
กสมฺพุชาโตติ " " ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
ผู้ดุจขยะมูลฝอย,

โกณฺโฑติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
คนชั่ว,
การบอกลาด้วยคำว่า อสกฺยปุตฺติโยติ มํ ธาเรหิ ไม่ใช่เป็นการ
บอกลาด้วยคำไวพจน์. การบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยคำไวพจน์แห่งผู้มิใช่
เชื้อสายพระศากยบุตร มีอาทิอย่างนี้ คือ :-
น สมฺมาสมฺพุทฺธปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
มํ ธาเรหิ บุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า,
น อนนฺตพุทฺธิปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
มํ ธาเรหิ บุตรของพระอนันตพุทธิเจ้า,
น อโนมพุทฺธิปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพาเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
มํ ธาเรหิ บุตรของพระอโนมพุทธิเจ้า
น โพธิปฺปญฺญาณปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
มํ ธาเรหิ บุตรของโพธิปัญญาเจ้า,
น ธีรปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
บุตรของพระธีรเจ้า,
น วิคตโมหปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
มํ ธาเรหิ บุตรของพระวิคตโมหเจ้า,
น ปภินฺนขีลปุตฺโตติ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
มํ ธาเรหิ บุตรของพระปภินนขีลเจ้า,
น วิชิตวิชยปุตฺโตติ มํ ธาเรหิ ท่านจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ไม่เป็น
บุตรของพระวิชิตวิชัยเจ้า,

หลายบทว่า เตหิ อากาเรหิ เตหิ ลิงฺเคหิ เตหิ นิมิตฺเตหิ
ความว่า (ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นรู้) ด้วยคำไวพจน์แห่งพระรัตนตรัย มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น คือ ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า คำไวพจน์แห่ง
พระพุทธเจ้าก็ดี. จริงอยู่ คำไวพจน์ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อาการ เพราะ
เป็นเหตุแห่งการบอกลาสิกขา, เรียกว่า เพศ เพราะแสดงทรวดทรงแห่ง
พระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือ เพราะความเหมาะสมแก่การบอกลาสิกขานั่นเอง,
เรียกว่า นิมิต เพราะเป็นเหตุให้รู้การบอกลาสิกขา เหมือนจุดดำทั้งหลายมีมูล
แมลงวันเป็นต้น (ไฝ) ของพวกมนุษย์ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกำหนดแน่นอนลงไปว่า เอวํ โข ภิกฺขเว
ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุแห่งการบอกลาสิกขาอย่างอื่น นอกจากเหตุที่กล่าว
แล้วนี้ไม่มี. จริงอยู่ ในคำว่า เอวํ โข นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความในให้แจ้ง
ความเป็นผู้ทุรพล และการบอกลาสิกขา ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล เหตุอื่น
นอกจากนี้ หามีไม่.

[ลาสิกขากับคนวิกลจริตเป็นต้นไม่เป็นอันบอกลา]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงลักษณะแห่งการบอกลาสิกขาอย่าง
นี้แล้ว เพื่อความไม่เลอะเลือนในการไม่บอกลา เพื่อแสดงความวิบัติแห่ง
ลักษณะการบอกลาสิกขานั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งบุคคลเป็นต้น จึงตรัสคำว่า
กถญฺจ ภิกฺขเว อปจฺจกฺขาตา ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า อปจฺจกฺขาตา
เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
คำว่า เยหิ อากาเรหิ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.