เมนู

[วิธีสอบสวนสูตรและสุตตานุโลมเป็นต้น]


แต่กุลบุตร ผู้อ้างอัตโนมัตินั้นกล่าว ไม่ควรจะยึดถือให้แน่นแฟ้น
กล่าว ควรกำหนดเหตุเทียบเคียงบาลีกับเนื้อความ และเนื้อความกับบาลี
แล้วจึงกล่าว. อัตโนมัติ ควรสอบสวนดูในอาจริยวาท ถ้าลงกันและสมกัน
ในอาจริยวาทนั้นไซร้, จึงควรถือเอา ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา.
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อัตโนมัตินี้ ยังเป็นของทรามกำลังกว่าทุกอย่าง. อาจริยวาท
มีกำลังกว่าอัตโนมัติ. แม้อาจริยวาทก็ควรสอบสวนดู ในสุตตานุโลม เมื่อ
ลงกัน สมกันแท้ ในสุตตานุโลมนั้น จึงควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน
ไม่ควรถือเอา. เพราะว่า สุตตานุโลม เป็นของมีกำลังกว่าอาจริยวาท. แม้
สุตตานุโลม ก็ควรสอบสวนดูในสูตร เมื่อลงกันสมกันแท้ ในสูตรนั้น จึง
ควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา. เพราะว่าสูตรเท่านั้น
เป็นของมีกำลังกว่าสุตตานุโลม. จริงอยู่ สูตรเป็นของอันใคร ๆ แต่งเทียม
ไม่ได้ เป็นเหมือนสงฆ์ผู้ทำ เป็นเหมือนกาลที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรง
พระชนม์อยู่. เพราะฉะนั้น เมื่อใดภิกษุสองรูป สากัจฉากัน, สกวาทีอ้าง
สูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าว เมื่อนั้น ทั้งสองรูปนั้น ไม่ควรทำ
การเพิดเพ้ยหรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนสุตตานุโลมในสูตร ถ้าลงกัน
สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ใน
สูตรเท่านั้น.
ถ้าสกวาทีนี้ อ้างสูตรกล่าว, ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้, แม้
ทั้งสองรูปนั้น ก็ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวน
อาจริยวาทในสูตร ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. เมื่ออาจริยวาท ไม่ลงกัน
และไม่สมกัน ทั้งเป็นข้อที่น่าตำหนิ ก็ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.