เมนู

บทว่า โพธิปกฺขิกานํ คือมีอยู่ในฝ่ายแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้
อธิบายว่า เป็นอุปการะแก่อรหัตตมรรคญาณ.
บทว่า ภาวนานุโยคํ แปลว่า ความประกอบเนื่อง ๆ ในการเจริญ
(โพธิปักขิยธรรม).
สองบทว่า อนุยุตฺตา วิหเรยฺยาม ความว่า พวกกระผมละคิหิปลิโพธ
และอาวาสปลิโพธแล้ว จะพึงเป็นผู้ประกอบขวนขวาย ไม่มีกิจอื่นอยู่ในเสนา-
สนะอันสงัด.
บทว่า เอวมาวุโส ความว่า พระเถระ เมื่อไม่ทราบอัธยาศัยของ
เธอเหล่านั้น ได้ฟังการคำราม อย่างมาก (คำอ้อนวอน) นี้ ของภิกษุเหล่านั้น
แล้ว จึงสำคัญอยู่ว่า "ถ้าเธอเหล่านี้ จักเป็นผู้เช่นนี้ไซร้ ก็เป็นการดี"
แล้วรับคำว่าได้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

[เรื่องทรงห้ามมิให้ภิกษุชาววัชชีบุตรบรรพชาอุปสมบท]


แม้สองบทว่า อฏฺฐานํ อนาวกาโส นี้ เป็นอันตรัสห้ามเหตุ.
จริงอยู่ เหตุ ท่านเรียกว่า "ฐานะ และโอกาส" เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผล โดย
ความที่ผลนั้นเป็นไปเนื่องด้วยเหตุนั้น และเพราะเหตุนั้น ก็เป็นโอกาสแห่ง
ผลนั้น โดยความที่เหตุนั้นเป็นไปเนื่องด้วยผลนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงห้ามเหตุนั้น จึงตรัสว่า อฏฺฐานเมตํ อานนฺท อนวกาโส เป็นต้น
ความว่า ฐานะหรือโอกาสนี้ไม่มี.
สองบทว่า ยํ ตถาคโต ความว่า พระตถาคตจะพึงถอนปาราชิก
สิกขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพระเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกภิกษุ
ชาววัชชีบุตร ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มี. ความจริงถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า


จะพึงประทานอุปสมบทแก่ภิกษุชาววัชชีบุตรเหล่านี้ ผู้ทูลขออยู่ว่า ข้าพระ
พุทธเจ้าทั้งหลาย พึงได้อุปสมบท ดังนี้ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ก็
จะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ว่า "ย่อมเป็นปาราชิก หาสังวาส
มิได้." แต่เพราะเหตุที่พระองค์ ไม่ทรงถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วนั้น
ฉะนั้นจึงตรัสว่า "นั่น ไม่ใช่ฐานะ" เป็นต้น.
หลายบทว่า โส อาคโต น อุปสมฺปาเทตพฺโพ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีความอนุเคราะห์เทียว ทรงทราบว่า ถ้าภิกษุนั้น
มาแล้วอย่างนี้ พึงได้รับอุปสมบทไซร้, เธอพึงเป็นผู้ไม่มีความเคารพในศาสนา,
แต่เธอตั้งอยู่ในภูมิของสามเณรแล้ว จักเป็นผู้มีความเคารพ และจักทำประ-
โยชน์ตนได้ จึงตรัสว่า "เธอมาแล้ว ไม่ควรให้อุปสมบท."
หลายบทว่า โส อาคโต อุปสมฺปาเทตพฺโพ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงทราบแล้วว่า ภิกษุนั้นมาแล้วอย่างนี้ ยังดำรงอยู่ในภาวะเป็น
ภิกษุ จักเป็นผู้มีความเคารพในศาสนา เพราะความที่เธอมีศีลยังไม่วิบัติ, เธอ
เมื่อยังมีอุปนิสัยอยู่ จักบรรลุประโยชน์สูงสุด ต่อกาลไม่นานนักแล จึงตรัสว่า
"เธอนั้นมาแล้ว ควรให้อุปสมบท."
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงภิกษุชาววัชชีบุตร ผู้ไม่ควรให้
อุปสมบท และผู้ควรให้อุปสมบท ในบรรดาเหล่าภิกษุชาววัชชีบุตรผู้เสพ-
เมถุนธรรม มาแล้วอย่างนี้ มีพระประสงค์จะประมวลเรื่องทั้ง 3 มา แล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบทให้บริบูรณ์ จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็แล
พวกเธอพึงแสดงสิกขาบทนี้ขึ้นอย่างนี้ " แล้วได้ทรงบัญญัติสิกขาบทให้บริบูรณ์
อย่างนี้ว่า:- โย ปน ภิกฺขุ ฯ เปฯ อสํวาโส แปลว่า

อนึ่ง ภิกษุใด ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุ
ทั้งหลายแล้ว ไม่กล่าวคืนสิกขา ไม่ได้ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพล
พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุนี้เป็น
ปาราชิก หาสังวาสมิได้.

[วินัย 4 อย่าง]


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกเนื้อความแห่งสิกขาบท
นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "โย ปนาติ โย ยาทิโส."
ก็พระวินัยธร ผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่ง
สิกขาบทนั้น และวินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย 4 อย่าง.
จริงอยู่ พระธรรมสังคาหกมหาเถระ
ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มากในปางก่อน ได้นำวินัย
4 อย่างออกเปิดเผยแล้ว.

วินัย 4 อย่างเป็นไฉน ? วินัย 4 อย่างคือ สูตร สุตตานุโลม
อาจริยวาท อัตตโนมติ ซึ่งพระนาคเสนเถระหมายเอากล่าวไว้ (ในมิลินท-
ปัญหา) ว่า มหาบพิตร! เนื้อความอันกุลบุตรพึงรับรองด้วยบทดั้งเดิมแล
ด้วยรส ด้วยความเป็นวงศ์แห่งอาจารย์ ด้วยความอธิบาย.

[อรรถาธิบายวินัย 4 อย่าง

]
จริงอยู่ บรรดาคำเหล่านี้ คำว่า อาหัจจบท ท่านประสงค์เอา
สูตร. คำว่า "รส" ท่านประสงค์เอาสุตตานุโลม. คำว่า "อาจริยวงศ์" ท่าน
ประสงค์เอาอาจริยวาท. คำว่า "อธิบาย" ท่านประสงค์เอาอัตโนมัติ.
1. วิ. มหา. 1/42. 2. นัย- มิลินทปัญหา 203.