เมนู

อนุบัญญัติปฐมปาราชิกเรื่องที่สอง


[เรื่องภิกษุชาววัชชีบุตร]


บัดนี้ เพื่อแสดงเรื่องแม้อื่นที่เกิดขึ้นแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระ
ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า เตน โข ปน สมเยน ในคำว่า
เตน โย ปน สมเยน เป็นต้นแม้นั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่กระจ่าง
ดังต่อไปนี้
บทว่า เวสาลิกา ได้แก่ ผู้มีปกติอยู่เมืองไพศาลี
บทว่า วชฺชิปุตฺตกา ได้แก่ ผู้เป็นบุตรของตระกูลในเมื่องไพศาลี
ในแคว้นวัชชี
ได้ยินว่า อุปัทวะ โทษ ความเสนียดจัญไร ที่ได้เกิดขึ้นในพระศาสนา
ทั้งหมดนั้น ได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยภิกษุชาววัชชีบุตร จริงอย่างนั้น
แม้พระเทวทัต ให้พวกภิกษุชาววัชชีบุตรเป็นฝักฝ่ายแล้ว จึงทำลายสงฆ์
ก็พวกภิกษุชาววัชชีบุตรนั่นแล ได้แสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย ใน
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี บรรดาภิกษุชาววัชชีบุตรเหล่า
นั้นนั่นแล แม้ภิกษุเหล่านี้ บางพวกถึงเมื่อทรงบัญญัติสิกขาบทแล้วอย่างนี้
ก็ได้สรงน้ำตามความต้องการ ฯลฯ ได้เสพเมถุนธรรมตามความต้องการ
ด้วยประการฉะนี้
ในบทว่า ญาติพฺยสเนนปิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ คำว่า "ความ
พินาศ ความย่อยยับ ความกระจาย ความทำลาย ความฉิบหาย ทั้งหมดนี้
มีความหมายอย่างเดียวกัน ความย่อยยับแห่งเหล่าญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะ
อันความย่อยยับแห่งญาตินั้น (ถูกต้องแล้ว) อธิบายว่า "อันความพินาศแห่ง

ญาติซึ่งมีการลงราชอาญา ถูกโรคเบียดเบียน ความตายและความพลัดพราก
เป็นเครื่องหมาย (ถูกต้องแล้ว)" แม้ในบทที่ 2 ก็นัยนี้ ส่วนในบทที่ 3
โรคที่ทำความไม่มีโรคให้พินาศไปนั่นเอง ชื่อว่า โรคพยสนะ จริงอยู่โรคนั้น
ย่อมทำความไม่มีโรคให้ย่อยยับไป คือกระจายไป ได้แก่ ให้พินาศไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า พยสนะ ความย่อยยับคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ อัน
ความย่อยยับโรคนั้น (ถูกต้องแล้ว)
บทว่า ผุฏฺฐา คือท่วมทับ ได้แก่ครอบงำ อธิบายว่า ผู้ประกอบ
พร้อมแล้ว
หลายบทว่า น มยํ ภนฺเต อานนฺท พุทธครหิโน มีความว่า
ท่านพระอานนท์เจ้าข้า พวกกระผมมิได้ติเตียนพระพุทธเจ้า คือมิได้กล่าวโทษ
พระพุทธเจ้า มิได้ติเตียนพระธรรม มิได้ติเตียนพระสงฆ์
สองบทว่า อตฺตครหิโน มยํ ความว่า พวกกระผม ติเตียนตนเอง
เท่านั้น คือกล่าวโทษของตน
บทว่า อลกฺขิกา แปลว่า ผู้หมดสิริ
บทว่า อปฺปปุญฺญา แปลว่ ผู้บุญน้อย
หลายบทว่า วิปสฺสกา กุสลานํ ธมฺมานํ มีความว่า พวกกระผม
จะพึงเป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้
แล้วในอารมณ์ 38 ประการ อธิกายว่า ออกจากอารมณ์นั้น ๆ แล้ว จะเห็น
แจ้งธรรมเหล่านั้นทีเดียว
บทว่า ปุพฺพรตฺตาปรรตฺตํ ความว่า เบื้องต้นแห่งราตรี ชื่อ
บุรพราตรี เบื้องปลายแห่งราตรี ชื่อ อปรราตรี มีความอธิบายว่า ปฐมยาม
และปัจฉิมยาม.

บทว่า โพธิปกฺขิกานํ คือมีอยู่ในฝ่ายแห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้
อธิบายว่า เป็นอุปการะแก่อรหัตตมรรคญาณ.
บทว่า ภาวนานุโยคํ แปลว่า ความประกอบเนื่อง ๆ ในการเจริญ
(โพธิปักขิยธรรม).
สองบทว่า อนุยุตฺตา วิหเรยฺยาม ความว่า พวกกระผมละคิหิปลิโพธ
และอาวาสปลิโพธแล้ว จะพึงเป็นผู้ประกอบขวนขวาย ไม่มีกิจอื่นอยู่ในเสนา-
สนะอันสงัด.
บทว่า เอวมาวุโส ความว่า พระเถระ เมื่อไม่ทราบอัธยาศัยของ
เธอเหล่านั้น ได้ฟังการคำราม อย่างมาก (คำอ้อนวอน) นี้ ของภิกษุเหล่านั้น
แล้ว จึงสำคัญอยู่ว่า "ถ้าเธอเหล่านี้ จักเป็นผู้เช่นนี้ไซร้ ก็เป็นการดี"
แล้วรับคำว่าได้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

[เรื่องทรงห้ามมิให้ภิกษุชาววัชชีบุตรบรรพชาอุปสมบท]


แม้สองบทว่า อฏฺฐานํ อนาวกาโส นี้ เป็นอันตรัสห้ามเหตุ.
จริงอยู่ เหตุ ท่านเรียกว่า "ฐานะ และโอกาส" เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผล โดย
ความที่ผลนั้นเป็นไปเนื่องด้วยเหตุนั้น และเพราะเหตุนั้น ก็เป็นโอกาสแห่ง
ผลนั้น โดยความที่เหตุนั้นเป็นไปเนื่องด้วยผลนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงห้ามเหตุนั้น จึงตรัสว่า อฏฺฐานเมตํ อานนฺท อนวกาโส เป็นต้น
ความว่า ฐานะหรือโอกาสนี้ไม่มี.
สองบทว่า ยํ ตถาคโต ความว่า พระตถาคตจะพึงถอนปาราชิก
สิกขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพระเหตุแห่งพวกวัชชีหรือพวกภิกษุ
ชาววัชชีบุตร ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่มี. ความจริงถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า