เมนู

ประเภทมีอิติหาส1 เป็นที่ห้า ซึ่งมานพเอง แม้ทั้งอาจารย์ของเขาก็ไม่เห็นนัย
ด้วยตนเอง.
พระเถระแม้ตามปกติก็เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท และบัดนี้ก็ได้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา เพราเหตุนั้น ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น จึงไม่หนักสำหรับท่าน,
ดังนั้น ท่านจึงแก้ปัญหาเหล่านั้น ในขณะนั้นนั่นเอง แล้วได้พูดกะมานพว่า
ดูก่อนมานพ ท่านถามเรามากพอแล้ว คราวนี้แม้เราก็จะถามปัญหากะเธอสัก
ข้อหนึ่ง เธอจักพยากรณ์แก่เราไหม ?
มานพเรียนว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! จงถามเถิด ขอรับกระผม
จักแก้.

[พระสิคควเถระถามปัญหากับมานพ]


พระเถระ จึงถามปัญหานี้ ในจิตตยมกว่า จิตของบุคคลใดเกิดขึ้นอยู่
ไม่ดับ จิตของบุคคลนั้น จักดับ ไม่เกิดขึ้น ก็อีกอย่างหนึ่ง จิตของบุคคลใด
จักดับ ไม่เกิดขึ้น จิตของบุคคลนั้น เกิดขึ้นอยู่ไม่ดับ2 ? ดังนี้.
มานพ ไม่สามารถจะกำหนด (ข้อปัญหา) ทั้งเบื้องบนหรือเบื้องต่ำได้
จึงเรียนถามว่า ข้าแต่บรรพชิตผู้เจริญ ! นี้ชื่อมนต์อะไร ? พระเถระ นี้ชื่อ
พุทธมนต์ มานพ !
มานพ. ท่านผู้เจริญ ! ก็ท่านอาจให้พุทธมนต์นี้ แก่กระผมได้ไหม ?
พระเถระ. อาจให้แก่บุคคลผู้ถือบรรพชาอย่างที่เราถือ มานพ !

[ติสสมานพขออนุญาตมารดาบิดาบวชเพื่อเรียนมนต์]


ต่อจากนั้น มานพเข้าไปหามารดาบิดาแล้วพูดว่า บรรพชิตรูปนี้
ย่อมรู้พุทธมนต์ และท่านก็ไม่ให้แก่ผู้ที่ไม่บวชอยู่ในสำนักของท่าน กระผม
จักบวชในสำนักของท่านนั่น แล้วเรียนเอามนต์.
1. อิติหาส ชื่อหนังสือว่าด้วยพงศาวดารยืดยาว มีภารตยุทธเป็นต้น อันกล่าวประพันธ์ไว้แต่
่// กาลก่อน
2. อภิ. ยมก. 39/1

คราวนั้น มารดาบิดาของเขา สำคัญอยู่ว่า ลูกของเราแม้บวชแล้ว
จงเรียนมนต์เถิด ครั้นเรียนแล้ว ก็จักกลับมาบ้านอีก ดังนี้ จึงอนุญาตว่า
จงเรียนเถิด ลูก !
พระเถระ บอกกรรมฐาน คืออาการ 32 ก่อนแล้วให้เด็กบรรพชา.
ติสสสามเณรนั้น ทำบริกรรมในกรรมฐานนั้นอยู่ ต่อกาลไม่นานนักก็ดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผล.

[พระเถระส่งสามเณรติสสะไปยังสำนักพระจัณฑวัชชีเถระ]


ลำดับนั้น พระเถระดำริว่า สามเณร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
บัดนี้ เธอไม่ควรจะเคลื่อนจากพระศาสนา ก็ถ้าเราจะสอนกรรมฐานแก่เธอ
ให้ยิ่งขึ้นไป เธอก็จะพึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ จะพึงเป็นผู้มีความขวนขวาย
น้อย เพื่อจะเรียนพระพุทธพจน์, บัดนี้ ก็เป็นเวลาที่จะส่งเธอไปยังสำนักของ
พระจัณฑวัชชีเถระ.
ลำดับนั้น พระเถระ ก็พูดกะสามเณรนั้นว่า มาเถิด สามเณร !
เธอจงไปยังสำนักของพระเถระ เรียนเอาพระพุทธพจน์เถิด จงถามถึงความ
ไม่มีโรคตามคำสั่งของเรา, และจงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะ (ของกระผม)
ส่งกระผมมายังสำนักของใต้เท้า ขอรับ ! เมื่อท่านถามว่า พระอุปัชฌายะของ
เธอชื่ออะไร ? พึงเรียนว่า ชื่อพระสิคควะขอรับ ! เมื่อท่านถามว่า ข้าพเจ้า
ชื่ออะไร ? พึงเรียนอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌายะของกระผม รู้จักชื่อของใต้เท้า
ขอรับ !