เมนู

กายสุจริต วจีสุจริต และกุศลวิตก 3 ซึ่งผิดแผกจากนั้นนั่นแล ที่ชวนให้
เกิดความเลื่อมใส คือเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สงบ เรียบร้อย, เพราะ
เหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นอาการให้เกิดความเลื่อมใส.

[ผู้ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้ไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง]


อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อ
ปราศจากวัฏฏะ อันเกิดแต่ความไม่สั่งสมกิเลสทั้งปวง และเพื่อความบริบูรณ์
แห่งวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งวิริยารัมภะ 8 อย่าง,* เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียก
ว่า "ความไม่สั่งสมและการปรารถนาความเพียร" ฉะนี้แล.
ข้อว่า ภิกฺขูนํ ตทนุจฺฉวิกํ ตทนุโลมิกํ ความว่า ทรงทำพระ-
ธรรมเทศนานอกท้องเรื่อง ซึ่งพ้นจากบาลี ไม่เนื่องด้วยสุตตันตะที่ปฏิสังยุต
ด้วยสังวรปหานะ อันสมควรและเหมาะแก่สิกขาบท ที่จักทรงบัญญัติในบัดนี้
ทั้งที่สมควรและเหมาะแก่สังวรที่ตรัสด้วยธรรมทั้งหลายมีความเป็นผู้เลี้ยงง่าย
เป็นต้น แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในสถานที่นั้น.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเทียบผู้แต่งระเบียบดอกไม้ห้าสี
เปรียบผู้จัดพวงแก้ว เมื่อจะทรงคุกคามบุคคลทั้งหลาย ผู้พอใจนักในอสังวร
ประสงค์จะคัดค้าน ด้วยวัฏภัยซึ่งมีในสัมปรายภพ จะทรงแสดงโทษมีประการ
มากมาย จะทรงยังบุคคลผู้ใคร่ต่อการศึกษาอยู่ในสังวร บางพวกให้ประ-
ดิษฐานอยู่ในพระอรหันต์, บางพวกให้ตั้งอยู่ใน อนาคามิผล สกทาคามิผล
และโสดาปัตติผล, จะทรงยังบุคคลทั้งหลายแม้ผู้ปราศจากอุปนิสัยให้ประดิษฐาน
ในทางสวรรค์ จึงทรงทำธรรมเทศนา มีขนาดแห่งทีฆนิกายบ้าง มีขนาด
แห่งมัชฌิมนิกายบ้าง ในสถานทั้งหลายเช่นนี้. พระอุบาลีเถระ หมายเอาธรรม-
* องฺ. อฏฺ จก. 23/345.

เทศนานั้น จึงกล่าวคำนี้ว่า ทรงทำธรรมมีกถา ซึ่งสมควรแก่สิกขาบทและ
สังวรนั้น ซึ่งเหมาะแก่สิกขาบทและสังวรนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า เตน หิ มีความว่า เพราะอัชฌาจารนั้น ของภิกษุสุทินน์
อันเป็นตัวเหตุ.
ในบทว่า สิกฺขาปทํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สิกขา
เพราะอรรถว่า เป็นคุณชาตอันบุคคลพึงศึกษา. ที่ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่า
เป็นทางเป็นเครื่องอันบุคคลพึงถึง. ทางเป็นเครื่องอันบุคคลพึงถึงแห่งสิกขา
ชื่อว่า สิกขาบท. ความว่า อุบายแห่งความได้สิกขา.
อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า เป็นต้นเค้า คือเป็นที่อาศัยเป็นพำนัก
แห่งสิกขา. คำว่า สิกขาบท นั่น เป็นชื่อแห่งความสำรวมจากเมถุน
โดยเว้นจากเมถุน. จริงอยู่ เมถุนสังวร ท่านประสงค์เอาว่า สิกขาบท ใน
ที่นี้ เพราะความเป็นทางแห่งธรรม คือ ศีล วิปัสสนา ฌานและมรรค
กล่าวคือสิกขาอื่นจากเมถุนสังวรนั้น ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความดังกล่าวแล้ว.
ก็แลเนื้อความนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในวิภังค์แห่งสิกขาบท. อีกอย่าง
หนึ่ง แม้คำที่แสดงเนื้อความนั้น พึงทราบว่า "เป็นสิกขาบท" จริงอยู่ แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสคำนี้ว่า บรรดาหมวดเหล่านั้น หมวดนาม
หมวดบท หมวดภาษา หมวดพยัญชนะ อันใด, อันนั้นชื่อว่า สิกขาบท.
อีกประการหนึ่ง เมื่อท่านกล่าวว่า "อนภิชฌา เป็นธรรมบท" เนื้อความ
ย่อมมีว่า "อนภิชฌา เป็นส่วนธรรมอันหนึ่ง" ข้อนี้ฉันใด , แม้ในที่นี้ก็
ฉันนั้น เมื่อท่านกล่าวว่า "สิกขาบท" จะพึงทราบเนื้อความว่า "ส่วนแห่ง
สิกขา คือประเทศอันหนึ่งแห่งสิกขา" ดังนี้ ก็ได้.

[ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท 10 อย่าง]


หลายบทว่า ทส อตฺถวเส ปฏิจฺจ มีความว่า จักอาศัย คือมุ่งหมาย
ปรารภอำนาจแห่งเหตุ คือประโยชน์เกื้อกูลพิเศษ 10 อย่าง ที่จะพึงได้ เพราะ
เหตุบัญญัติสิกขาบท. มีคำอธิบายว่า เล็งเห็นความสำเร็จประโยชน์พิเศษ 10
อย่าง. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะแสดงอำนาจประโยชน์ 10 อย่างนั้น
จึงตรัสคำว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย เป็นต้น.

[อธิบายประโยชน์การบัญญัติสิกขาบท 10 อย่าง]


บรรดาอำนาจประโยชน์สิบอย่างนั้น ที่ชื่อว่า ความเห็นชอบของสงฆ์
ได้แก่ข้อที่สงฆ์ยอมรับว่าดี. คือข้อที่สงฆ์รับพระดำรัสว่า "ดีละ พระเจ้าข้า!"
เหมือนในอนาคตสถานที่ว่า "ดีละ สมมติเทพเจ้า !" จริงอยู่ ภิกษุใด ยอม
รับพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า, การยอมรับพระดำรัสนั้น ของภิกษุนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเปิดเผยเนื้อความนี้ว่า เราจักแสดงโทษในความไม่
ยอมรับ และอานิสงส์ในความยอมรับ คือไม่กดขี่โดยพลการ จักบัญญัติ
(สิกขาบท) เพื่อให้สงฆ์ยอมรับคำของเราว่า ดีละ พระเจ้าข้า ! ดังนี้ จึง
ตรัสคำว่า "เพื่อความเห็นชอบแห่งสงฆ์"
บทว่า สงฺฆผาสุตาย คือเพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์, อธิบายว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่ความอยู่เป็นสุข ด้วยความเป็นอยู่ร่วมกัน.
หลายบทว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคล
ผู้ทุศีล ชื่อว่าบุคคลผู้เก้อยาก, ภิกษุเหล่าใด แม้อันภิกษุทั้งหลายจะให้ถึงความ
เป็นผู้เก้อ ย่อมถึงได้โดยยาก, กำลังกระทำการละเมิด หรือกระทำแล้ว ย่อม
ไม่ละอาย, เพื่อประโยชน์แก่อันข่มภิกษุเหล่านั้น.