เมนู

[อรรถาธิบายกรรมที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นต้น]


ในคำว่า อนนุจฺฉวิยํ เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาเนื้อความดังต่อ
ไปนี้:- ดูก่อนโมฆบุรุษ! ผู้เป็นมนุษย์เปล่า กรรมที่เธอทำแล้วไม่สมควร
แก่ธรรมอันทำความเป็นสมณะ หรือแก่มรรคผลนิพพานและศาสนา คือไม่
เป็นไปตาม ได้แก่ไม่คล้อยไปตามผิดคือเงา ได้แก่ความเป็นธรรมดีแห่งธรรม
เหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นกรรมเหินห่างจากธรรมเหล่านั้นทีเดียว, ก็เพราะ
ความเป็นของไม่สมควรนั่นเอง กรรมนั้นจึงชื่อว่าเป็นของไม่เหมาะเจาะ คือ
ไม่อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นของแย้งกัน คือตั้งอยู่ในความ
เป็นข้าศึกกัน, เพราะความเป็นของไม่เหมาะเจาะนั่นแล กรรมนั้นจึงจัดเป็น
กรรมไม่สมรูป คือเป็นกรรมเข้ารูปกัน คล้ายกัน ถูกส่วนกันหามิได้, โดยที่แท้
เป็นของไม่คล้ายกัน ก็ไม่ถูกส่วยกันทีเดียว, ก็เพราะความเป็นของไม่สมรูปกัน
นั่นแล กรรมนั่นจึงจัดว่าไม่ใช่กรรมของสมณะ, คือไม่เป็นกรรมของพวก
สมณะ, เพราะข้อที่ไม่เป็นของสำหรับสมณะ กรรมนั้นจึงจัดเป็นอกัปปิยะ
จริงอยู่ กรรมใดไม่ใช่กรรมของสมณะ, กรรมนั้น ย่อมไม่สมควรแก่สมณะ
เหล่านั้น, เพราะข้อที่กรรมเป็นอกัปปิยะ กรรมนั้นจึงจัดว่าไม่ควรทำ, แท้จริง
กรรมใด ไม่สมควรแก่เหล่าสมณะ, สมณะทั้งหลาย ย่อมไม่ทำกรรมนั้น. แต่
กรรมนี้นั้น อันเธอทำแล้ว, ดูก่อนโมฆบุรุษ ! เพราะเหตุนั้น กรรมอันไม่
สมควร ไม่เหมาะเจาะ ไม่สมรูป ไม่ใช่กิจของสมณะ เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรทำ
ชื่อว่าอันเธอทำแล้ว.
ข้อว่า กถํ หิ นาม มีความว่า เพราะเหตุชื่ออะไรเล่า ? มีคำ
อธิบายว่า ท่านเล็งเห็นเหตุชื่ออะไรเล่า?

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีเหตุ จึง
ตรัสคำว่า นนุ มยา โมฆปุริส เป็นต้นข้างหน้า. คำทั้งหมดนี้เนื้อความ
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
กรรมลามก ที่พระสุทินน์นั้นทำแล้ว เมื่อให้ผล ย่อมเป็นกรรมมี
วิบากเป็นทุกข์อย่างยิ่ง, เพราะเหตุนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงว่ากล่าวพระสุทินน์
ด้วยพระหฤทัยประกอบด้วยความเอ็นดู ดุจมารดาบิดาผู้มีความเอ็นดู ว่ากล่าว
บุตร ผู้ทำความผิดแล้ว ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า วรนฺเต โมฆปุริส เป็นอาทิ
เพื่อแสดงวิบากนั้นแก่พระสุทินน์นั้น.
ในคำว่า วรนฺเต โมฆปุริส เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- พิษ
ของงูนั้น ย่อมแล่นเร็ว คือไว เหตุนั้น งูนั้น จึงชื่อว่า อาสีวิสะ (มีพิษ
แล่นเร็ว) พิษของงูนั้น กล้า คือร้ายแรง เหตุนั้น งูนั้น จึงชื่อว่า โฆรวิสะ
(มีพิษกล้า). แห่งอสรพิษ ที่มีพิษแล่นเร็ว มีพิษกล้านั้น. พึงเชื่อมบทนี้ว่า
ปกฺขิตฺตํ ด้วยบทว่า วรํ นี้. องคชาต อันเธอสอดเข้าไปในปากแห่งงูมีพิษ
แล่นเร็วเช่นนี้ประเสริฐกว่า. อธิบายว่า หากองคชาตพึงเป็นของอันเธอสอด
เข้าไปไซร้, พึงเป็นของประเสริฐกว่า คือความดี ความงาม ความชอบจะพึงมี.
บทว่า กณฺหสปฺปสฺส แปลว่า งูเห่าหม้อ.
บทว่า องฺคารกาสุยา แปลว่า ในหลุมที่เต็มด้วยถ่านเพลิง หรือ
ในกองถ่านเพลิง.
บทว่า อาทิตฺตาย แปลว่า อันไฟติดทั่วแล้ว คือมีความสว่าง
เปลวไฟจับทั่วแล้ว.

บทว่า สมฺปชฺชลิตาย แปลว่า รุ่งโรจน์ คือปล่อยเปลวไฟขึ้น
โดยรอบด้าน.
บทว่า สญฺโชติภูตาย แปลว่า มีแสงสว่าง. มีคำอธิบายว่า มีความ
เกิดขึ้นแห่งแสงสว่างเป็นอันเดียวกันจากเปลวไฟ ที่ลุกโพลงขึ้นโดยรอบด้าน.
ในคำว่า ตํ กิสฺส เหตุ นี้ หากจะมีผู้ถาม ถามว่า คำที่เรากล่าวว่า
ยังประเสริฐกว่า เป็นเหตุแห่งอะไร คือเพราะเหตุไหน?
แก้ว่า เพราะพึงประสบความตาย อธิบายว่า ผู้ใดพึงสอดองค์กำเนิด
เข้าไปในปากงูเป็นต้นนั้น, ผู้นั้นพึงประสบความตาย.
หลายบทว่า อิโตนิทานญฺจ โข ฯเปฯ อุปปชฺเชยฺย มีความว่า
บุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิด เข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น พึงเข้าถึงนรก
ซึ่งมีการทำนี้เหตุ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงข้อที่กรรมเป็นของมีโทษมาก
อย่างนั้น แล้วจึงทรงตำหนิพระสุทินน์นั้น หาได้ทรงตำหนิมุ่งให้พระสุทินน์
นั้นประสบความทุกข์ไม่.
หลายบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ ความว่า เมื่อกรรมอันนั้น คือเห็น
ปานนั้น แม้เป็นของมีโทษมากอย่างนี้ เธอ (ยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรมอันเป็น
เรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ).
ศัพท์ว่า ยํ ซึ่งมีอยู่ในคำว่า ยํ ตฺวํ นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่ง
ความดูถูก. บทว่า ตฺวํ เป็นไวพจน์แห่ง ตํ ศัพท์. ท่านกล่าวอธิบายไว้
แม้ด้วยบททั้งสองว่า ได้แก่ ความดูถูก คือความดูหมิ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อสทฺธมฺมํ ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ คือคนชั้นต่ำ อธิบายว่า
อันคนชั้นต่ำเหล่านั้น พึงเสพ.

บทว่า คามธมฺมํ ได้แก่ เรื่องของชาวบ้าน , มีคำอธิบายว่า เป็น
ธรรมของพวกชนชาวบ้าน.
บทว่า วสลธมฺมํ ความว่า เป็นมรรยาทของเหล่าชนผู้เป็นคนชั้นต่ำ
เพราะอรรถว่า หลั่งออก คือปล่อยออก ซึ่งบาปธรรม ได้แก่ ของพวกบุรุษ
เลวทราม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเป็นเหตุไหลออกแห่งกิเลส ชื่อว่า วสลธรรม.
บทว่า ทุฏฺฐุลฺลํ ได้แก่เป็นของชั่ว และเป็นของหยาบ ซึ่งถูกกิเลส
ประทุษร้าย, มีคำอธิบายว่า เป็นของไม่สุขุม คือไม่ละเอียด.
บทว่า โอทกนฺติกํ ความว่า เมถุนธรรม ชื่อว่ามีน้ำเป็นที่สุด
เพราะอรรถว่า กิจเนื่องด้วยน้ำเป็นที่สุด คือ เป็นอวสานแห่งเมถุนธรรมนั้น.
ซึ่งเมถุนธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุดนั้น.
บทว่า รหสฺสํ ได้แก่เป็นกรรมลับ คือเกิดขึ้นในโอกาสอันปิดบัง.
จริงอยู่ ธรรมนี้ ใครๆ ไม่อาจจะทำให้เปิดเผย คือไม่อาจจะทำในวิสัยที่
บุคคลเหล่าอื่นจะเห็นได้ เพราะเป็นกรรมน่าเกลียด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นกรรมลับ.
บทว่า ทฺวยทฺวยสมปตฺตึ แปลว่า อันชนสองคน ๆ พึงประพฤติ
รวมกัน บาลีว่า ทฺวยํ ทฺวยํ สมาปตฺตึ ก็มี อาจารย์บางพวกสวดกันว่า
ทยทยสมาปตฺตึ ดังนี้บ้าง. คำนั้น ไม่ดี พึงประกอบบทว่า สมาปสฺสิสฺสสิ
นั้น เข้าด้วยนามศัพท์ที่ท่านกล่าวไว้ในบทว่า ตตฺถ นาม ตฺวํ นี้ว่า
สมาปสฺสิสฺสสิ นาม (เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม).

[พระสุทินน์เป็นคนแรกในการเสพเมถุนธรรม]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมุ่งหมายเอาพระศาสนา ตรัสว่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ! ท่านเป็นตัวอย่าง เป็นหัวหน้าแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายมากแล.