เมนู

[อรรถาธิบายกรรมที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นต้น]


ในคำว่า อนนุจฺฉวิยํ เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาเนื้อความดังต่อ
ไปนี้:- ดูก่อนโมฆบุรุษ! ผู้เป็นมนุษย์เปล่า กรรมที่เธอทำแล้วไม่สมควร
แก่ธรรมอันทำความเป็นสมณะ หรือแก่มรรคผลนิพพานและศาสนา คือไม่
เป็นไปตาม ได้แก่ไม่คล้อยไปตามผิดคือเงา ได้แก่ความเป็นธรรมดีแห่งธรรม
เหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นกรรมเหินห่างจากธรรมเหล่านั้นทีเดียว, ก็เพราะ
ความเป็นของไม่สมควรนั่นเอง กรรมนั้นจึงชื่อว่าเป็นของไม่เหมาะเจาะ คือ
ไม่อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นของแย้งกัน คือตั้งอยู่ในความ
เป็นข้าศึกกัน, เพราะความเป็นของไม่เหมาะเจาะนั่นแล กรรมนั้นจึงจัดเป็น
กรรมไม่สมรูป คือเป็นกรรมเข้ารูปกัน คล้ายกัน ถูกส่วนกันหามิได้, โดยที่แท้
เป็นของไม่คล้ายกัน ก็ไม่ถูกส่วยกันทีเดียว, ก็เพราะความเป็นของไม่สมรูปกัน
นั่นแล กรรมนั่นจึงจัดว่าไม่ใช่กรรมของสมณะ, คือไม่เป็นกรรมของพวก
สมณะ, เพราะข้อที่ไม่เป็นของสำหรับสมณะ กรรมนั้นจึงจัดเป็นอกัปปิยะ
จริงอยู่ กรรมใดไม่ใช่กรรมของสมณะ, กรรมนั้น ย่อมไม่สมควรแก่สมณะ
เหล่านั้น, เพราะข้อที่กรรมเป็นอกัปปิยะ กรรมนั้นจึงจัดว่าไม่ควรทำ, แท้จริง
กรรมใด ไม่สมควรแก่เหล่าสมณะ, สมณะทั้งหลาย ย่อมไม่ทำกรรมนั้น. แต่
กรรมนี้นั้น อันเธอทำแล้ว, ดูก่อนโมฆบุรุษ ! เพราะเหตุนั้น กรรมอันไม่
สมควร ไม่เหมาะเจาะ ไม่สมรูป ไม่ใช่กิจของสมณะ เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรทำ
ชื่อว่าอันเธอทำแล้ว.
ข้อว่า กถํ หิ นาม มีความว่า เพราะเหตุชื่ออะไรเล่า ? มีคำ
อธิบายว่า ท่านเล็งเห็นเหตุชื่ออะไรเล่า?