เมนู

พระภาคเจ้า ทรงสดับเนื้อความนี้แล้ว จักไม่ให้พระสุทินน์นี้ คงอยู่ในพระ-
ศาสนา จักให้ฉุดคร่าเธอออกไปเสีย จึงได้ทูลก็หาไม่, อันที่จริง ได้ทูลด้วย
ทำในใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบความเสียหายนี้ ซึ่งเกิดขึ้นใน
พระศาสนาแล้ว จักทรงบัญญัติสิกขาบท จักทรงตั้งเขตแดน คืออาชญาไว้.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิพระสุทินน์]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ นี้
ต่อไปนี้:- ความละเมิดอัชฌาจารของพระสุทินน์ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า
เป็นนิทานและเป็นปกรณ์ เพราะเป็นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท. จริงอยู่
เหตุ ท่านเรียกว่า นิทานและปกรณ์ เพราะเป็นที่มอบให้ซึ่งผลของตน คือ
ยังผลให้บ่าไป เหมือนแสดงว่า เชิญถือเอาผลนั้นเถิด และเพราะเหตุที่เริ่ม
กระทำ คือปรารภเพื่อจะทำผลนั้น หรือว่าแต่งผลนั้นทีเดียว.
หลายบทว่า วิครหิ พุทฺโธ ภควา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงติ คือทรงตำหนิ (พระสุทินน์) นั้น เหมือนอย่างบุคคลผู้เลิศ เมื่อจะ
แสดงคุณและโทษ ของชนทั้งหลายผู้สมควรแก่คุณและโทษ ก็ติและชม ฉะนั้น.
จริงอยู่ เพราะทรงเห็นบุคคล ผู้ทำการล่วงละเมิดศีล ความคิดย่อม
ไม่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้นี้เป็นคนมีชื่อเสียง มียศโดยชาติหรือ
โดยโคตร หรือโดยความเป็นบุตรของคนมีสกุล หรือโดยคัณฐะ (การร้อยกรอง)
หรือโดยธุดงควัตร, เราสมควรที่จะรักษาบุคคลเช่นนี้ไว้ เพราะทรงเห็นบุคคล
ผู้มีคุณมีศีลเป็นที่รัก จิตที่คิดจะปิดบังคุณของเขา จะได้เกิดขึ้นหามิได้เลย,
อันที่จริง พระองค์ย่อมทรงติบุคคลซึ่งควรติเท่านั้น ย่อมทรงชมบุคคลซึ่ง
ควรชมเท่านั้น, และพระสุทินน์นี้ เป็นผู้สมควรติ, เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ทรงดำรงอยู่ในลักษณะของท่านผู้คงที่ มีพระหฤทัยไม่ลำเอียง
ได้ทรงติพระสุทินน์นั้น ด้วยพระพุทธดำรัสว่า อนนุจฉวิยํ เป็นอาทิ.

[อรรถาธิบายกรรมที่ไม่ควรแก่สมณะเป็นต้น]


ในคำว่า อนนุจฺฉวิยํ เป็นต้นนั้น มีการพรรณนาเนื้อความดังต่อ
ไปนี้:- ดูก่อนโมฆบุรุษ! ผู้เป็นมนุษย์เปล่า กรรมที่เธอทำแล้วไม่สมควร
แก่ธรรมอันทำความเป็นสมณะ หรือแก่มรรคผลนิพพานและศาสนา คือไม่
เป็นไปตาม ได้แก่ไม่คล้อยไปตามผิดคือเงา ได้แก่ความเป็นธรรมดีแห่งธรรม
เหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นกรรมเหินห่างจากธรรมเหล่านั้นทีเดียว, ก็เพราะ
ความเป็นของไม่สมควรนั่นเอง กรรมนั้นจึงชื่อว่าเป็นของไม่เหมาะเจาะ คือ
ไม่อนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น, โดยที่แท้ เป็นของแย้งกัน คือตั้งอยู่ในความ
เป็นข้าศึกกัน, เพราะความเป็นของไม่เหมาะเจาะนั่นแล กรรมนั้นจึงจัดเป็น
กรรมไม่สมรูป คือเป็นกรรมเข้ารูปกัน คล้ายกัน ถูกส่วนกันหามิได้, โดยที่แท้
เป็นของไม่คล้ายกัน ก็ไม่ถูกส่วยกันทีเดียว, ก็เพราะความเป็นของไม่สมรูปกัน
นั่นแล กรรมนั่นจึงจัดว่าไม่ใช่กรรมของสมณะ, คือไม่เป็นกรรมของพวก
สมณะ, เพราะข้อที่ไม่เป็นของสำหรับสมณะ กรรมนั้นจึงจัดเป็นอกัปปิยะ
จริงอยู่ กรรมใดไม่ใช่กรรมของสมณะ, กรรมนั้น ย่อมไม่สมควรแก่สมณะ
เหล่านั้น, เพราะข้อที่กรรมเป็นอกัปปิยะ กรรมนั้นจึงจัดว่าไม่ควรทำ, แท้จริง
กรรมใด ไม่สมควรแก่เหล่าสมณะ, สมณะทั้งหลาย ย่อมไม่ทำกรรมนั้น. แต่
กรรมนี้นั้น อันเธอทำแล้ว, ดูก่อนโมฆบุรุษ ! เพราะเหตุนั้น กรรมอันไม่
สมควร ไม่เหมาะเจาะ ไม่สมรูป ไม่ใช่กิจของสมณะ เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรทำ
ชื่อว่าอันเธอทำแล้ว.
ข้อว่า กถํ หิ นาม มีความว่า เพราะเหตุชื่ออะไรเล่า ? มีคำ
อธิบายว่า ท่านเล็งเห็นเหตุชื่ออะไรเล่า?