เมนู

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วใน 3 สถานแรกแห่งสถาน
ทั้งหมด.
คำว่า เนตํ อาวุโส เป็นต้น มีความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ! กรรม
ลามกนั้นของท่าน ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสแห่งชนทั้งหลายผู้ยังไม่
เลื่อมใส คือเพื่อประโยชน์แก่ความเลื่อมใสของชนทั้งหลายผู้เห็นปานนั้นหรือ ?
บทว่า อถเขฺวตํ ตัดบทเป็น อถโข เอตํ.
บาลีว่า อถ เขตํ ก็มี.
บทว่า อญฺญถตฺตาย มีความว่า (กรรมลามกนั่นของท่าน) ย่อม
เป็นไป เพื่อความเป็นโดยประการอื่น จากความเลื่อมใส คือเพื่อความเดือด-
ร้อน. อธิบายว่า ย่อมทำความเดือดร้อนแก่ชนทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาอันยังมิได้
มาด้วยมรรคว่า เราทั้งหลายเลื่อมใสในพระธรรมวินัย ชื่อแม้เช่นนี้ ซึ่ง
มีพวกภิกษุผู้ปฏิบัติเลวทราม.
ฝ่ายความเลื่อมใส ของชนทั้งหลายผู้มีศรัทธามาแล้วด้วยมรรค เป็น
ของไม่หวั่นไหวด้วยเรื่องเช่นนี้ หรือด้วยเรื่องที่ร้ายแรงยิ่งกว่านี้ เหมือนภูเขา
สิเนรุ ไม่หวั่นไหวด้วยลมฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุสหายเหล่านั้น จึง
กล่าวว่า เพื่อความเป็นโดยประการอื่นแห่งชนบางพวก.

[ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องพระสุทินน์เสพเมถุนธรรม]


ข้อว่า ภควโต เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ มีความว่า ภิกษุสหายเหล่า
นั้น ได้กราบทูล คือได้แจ้งเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ก็แล เมื่อ
กราบทูล หาได้กราบทูล เพื่อปรารถนาจะให้ตนเป็นที่โปรดปรานไม่, หาได้
ทูลเพื่อมุ่งจะทำความยุยงไม่, หาได้ทูล เพื่อต้องการประจานโทษ ของท่านผู้
มีอายุนั้นไม่, หาได้ทูลเพื่อบอกโทษที่น่าตำหนิไม่, หมายใจอยู่ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงสดับเนื้อความนี้แล้ว จักไม่ให้พระสุทินน์นี้ คงอยู่ในพระ-
ศาสนา จักให้ฉุดคร่าเธอออกไปเสีย จึงได้ทูลก็หาไม่, อันที่จริง ได้ทูลด้วย
ทำในใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบความเสียหายนี้ ซึ่งเกิดขึ้นใน
พระศาสนาแล้ว จักทรงบัญญัติสิกขาบท จักทรงตั้งเขตแดน คืออาชญาไว้.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิพระสุทินน์]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ นี้
ต่อไปนี้:- ความละเมิดอัชฌาจารของพระสุทินน์ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า
เป็นนิทานและเป็นปกรณ์ เพราะเป็นเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท. จริงอยู่
เหตุ ท่านเรียกว่า นิทานและปกรณ์ เพราะเป็นที่มอบให้ซึ่งผลของตน คือ
ยังผลให้บ่าไป เหมือนแสดงว่า เชิญถือเอาผลนั้นเถิด และเพราะเหตุที่เริ่ม
กระทำ คือปรารภเพื่อจะทำผลนั้น หรือว่าแต่งผลนั้นทีเดียว.
หลายบทว่า วิครหิ พุทฺโธ ภควา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงติ คือทรงตำหนิ (พระสุทินน์) นั้น เหมือนอย่างบุคคลผู้เลิศ เมื่อจะ
แสดงคุณและโทษ ของชนทั้งหลายผู้สมควรแก่คุณและโทษ ก็ติและชม ฉะนั้น.
จริงอยู่ เพราะทรงเห็นบุคคล ผู้ทำการล่วงละเมิดศีล ความคิดย่อม
ไม่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้นี้เป็นคนมีชื่อเสียง มียศโดยชาติหรือ
โดยโคตร หรือโดยความเป็นบุตรของคนมีสกุล หรือโดยคัณฐะ (การร้อยกรอง)
หรือโดยธุดงควัตร, เราสมควรที่จะรักษาบุคคลเช่นนี้ไว้ เพราะทรงเห็นบุคคล
ผู้มีคุณมีศีลเป็นที่รัก จิตที่คิดจะปิดบังคุณของเขา จะได้เกิดขึ้นหามิได้เลย,
อันที่จริง พระองค์ย่อมทรงติบุคคลซึ่งควรติเท่านั้น ย่อมทรงชมบุคคลซึ่ง
ควรชมเท่านั้น, และพระสุทินน์นี้ เป็นผู้สมควรติ, เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ทรงดำรงอยู่ในลักษณะของท่านผู้คงที่ มีพระหฤทัยไม่ลำเอียง
ได้ทรงติพระสุทินน์นั้น ด้วยพระพุทธดำรัสว่า อนนุจฉวิยํ เป็นอาทิ.