เมนู

บทว่า ธมนิสณฺฐตคตฺโต ได้แก่ ผู้มีตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็น
นั่นเอง เพราะความเป็นผู้มีเนื้อและโลหิตสิ้นไป.
บทว่า อนฺโตมโน ได้แก้ ผู้มีความคิดตั้งอยู่ภายในนั่นเอง (ผู้มีเรื่อง
ในใจ) ด้วยอำนาจความระทมถึง. อนึ่ง สัตวโลกแม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้มี
ใจอยู่ในภายในนั่นเอง (คิดอยู่แต่ในใจ) ด้วยอำนาจความเป็นไป อาศัยหทัย-
วัตถุ.
บทว่า ลีนมโน ได้แก่ ผู้ทอดทิ้งธุระ คือผู้ไม่มีความขวนขวายใน
อุเทศ ปริปุจฉา กรรมฐาน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา และการบำเพ็ญวัตร
และระเบียบวัตร. ชื่อว่า ผู้มีใจหดหู่ เพราะอรรถว่า ใจของผู้นั้นหดหู่ คือ
งอกลับด้วยอำนาจความเกียจคร้านโดยแท้ทีเดียว.
บทว่า ทุกฺขี ได้แก่ ผู้มีทุกข์ เพราะทุกข์ทางใจ.
บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ ผู้มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือผู้มีใจ
ผิดรูป เพราะความเป็นผู้ถูกโทมนัสครอบงำ.
บทว่า ปชฺฌายี ความว่า ท่านพระสุทินน์ คิดถึงความชั่วที่ตนทำ
แล้วนั้น ๆ ด้วยอำนาจความเดือดร้อน (ซบเซา) ดุจลาตัวที่เขาคัดออกจากภาระ
แล้ว ( ซบเซาอยู่) ฉะนั้น.

[พวกภิกษุสหายถามท่านพระสุทินน์ถึงความซูบผอม]


สองบทว่า สหายกา ภิกฺขู ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ถามถึงความ
ผาสุก ที่เป็นผู้คุ้นเคยของท่านพระสุทินน์ เห็นพระสุทินน์นั้น ผู้เป็นแล้ว
อย่างนั้น ซึ่งปล่อยให้วันคืนผ่านไปอยู่ ด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือการ
คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ จึงได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์นั้น.
บทว่า ปินินฺทฺริโย ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นเต็มเปี่ยม
เพราะโอกาสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งประสาทสมบูรณ์.