เมนู

เพราะเหตุแห่งคำที่ย่าได้กล่าวขอไว้ว่า "พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง" ดังนี้ ปรากฏ
ชัดแล้ว. พวกสหาย ก็ได้ตั้งชื่อให้แก่มารดาบิดาแห่งพีชกทารกนั้น ด้วยอำนาจ
ชื่อบุตรชายเหมือนกัน.
คำว่า เต อปเรน สมเยน นี้ท่านกล่าวหมายเอาเจ้าพืชก์และ
มารดาของเจ้าพืชก์.

[มารดาและพีชกทารกบวชแล้วได้สำเร็จพระอรหัต]


ได้ยินว่า ในเวลาที่พีชกะมีอายุได้ 7-8 ขวบ มารดาของเธอได้บวช
ในสำนักนางภิกษุณี และพีชกทารกนั้น ก็ได้บวชอยู่ในสำนักของภิกษุ ได้
อาศัยเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นกัลยาณมิตร ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. เพราะ
เหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า เขาทั้งสอง ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว.* บรรพชาของมารดาและ
บุตร ได้มีผลแล้วด้วยประการฉะนี้.

[ท่านพระสุทินน์เดือดร้อนใจเพราะประพฤติชั่วหยาบ]


ส่วนบิดาของพีชกทารกนั้น ถูกความวิปฏิสารครอบงำอยู่ เพราะเหตุ
นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวคำว่า "อถ โข อายสฺมโต สุทินฺนสฺส
อหุเทว กุกฺกุจฺจํ "
ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุเทว แปลว่า ได้มีแล้วนั้นเทียว.
ทะ อักษรทำการเชื่อมบท. ความว่า ได้มีแล้วนั่นเทียว.
ความตามเดือดร้อนในภายหลัง อันมีอัชฌาจารเป็นเหตุ ชื่อว่าความ
รำคาญ. แม้คำว่า วิปฏิสาโร ก็เป็นชื่อแห่งความตามเดือดร้อนในภายหลัง
นั้นนั่นเอง.
*วิ. มหา. 1/33.

จริงอยู่ ความตามเดือดร้อนในภายหลังนั้น ท่านเรียกว่า กุกกุจจะ
(ความรำคาญ) โดยความเป็นกิริยาที่บัณฑิตพึงเกลียด เพราะความเป็นกรรม
อันผู้รู้ทั้งหลายไม่พึงทำ, ท่านเรียกว่า วิปฏิสาร (ความเดือดร้อน) โดย
เป็นความระลึกผิดรูปไป เพราะอาศัยอัชฌาจารนั้น เพราะไม่สามารถจะห้าม
อัชฌาจารที่ตนทำแล้วได้.
หลายบทว่า อลาภา วต เม ความว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ.
มีอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า ความไม่ได้คุณทั้งหลาย มีฌานเป็นต้นเหล่านั้น ไม่ใช่
ลาภของเรา ทั้งไม่ใช่ลาภของผู้อื่น.
หลายบทว่า น วต เม ลาภา ความว่า คุณคือบรรพชา สรณคมน์
และการสมาทานสิกขาแม้เหล่าใด ที่เราได้เฉพาะแล้ว, คุณคือบรรพชาเป็นต้น
แม้เหล่านั้น ชื่อว่าไม่ใช่ลาภของเราเลย เพราะมีอัชฌาจารเศร้าหมอง.
หลายบทว่า ทุลฺลทฺธํ วต เม ความว่า พระศาสนานี้ แม้ที่เรา
ได้แล้ว ก็ชื่อว่าเราได้ชั่ว.
หลายบทว่า น วต เม สุลทฺธํ ความว่า พระศาสนานี้ เราได้
ไม่ดีเหมือนอย่างกุลบุตรอื่นเขาได้กันหนอ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุ
เราบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ ยังไม่
สามารถจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้จนตลอดชีวิตแล.
บทว่า พฺรหมฺจริยํ ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์ ที่ท่านสงเคราะห์ด้วย
ไตรสิกขา.
สองบทว่า กิโส อโหสิ ความว่า ท่านพระสุทินน์นั้น เมื่อไม่สามารถ
จะเคี้ยวกินหรือฉันอาหาร จึงได้เป็นผู้ซูบผอม คือมีเนื้อและโลหิตน้อย.
บทว่า อุปฺปณฺฑุปฺปณฺฑุกชาโต ได้แก่ ความเป็นผู้มีผิวเหลือง ๆ
เกิดขึ้น คือเป็นผู้มีส่วนเปรียบดุจใบไม้เหลือง.

บทว่า ธมนิสณฺฐตคตฺโต ได้แก่ ผู้มีตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็น
นั่นเอง เพราะความเป็นผู้มีเนื้อและโลหิตสิ้นไป.
บทว่า อนฺโตมโน ได้แก้ ผู้มีความคิดตั้งอยู่ภายในนั่นเอง (ผู้มีเรื่อง
ในใจ) ด้วยอำนาจความระทมถึง. อนึ่ง สัตวโลกแม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้มี
ใจอยู่ในภายในนั่นเอง (คิดอยู่แต่ในใจ) ด้วยอำนาจความเป็นไป อาศัยหทัย-
วัตถุ.
บทว่า ลีนมโน ได้แก่ ผู้ทอดทิ้งธุระ คือผู้ไม่มีความขวนขวายใน
อุเทศ ปริปุจฉา กรรมฐาน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา และการบำเพ็ญวัตร
และระเบียบวัตร. ชื่อว่า ผู้มีใจหดหู่ เพราะอรรถว่า ใจของผู้นั้นหดหู่ คือ
งอกลับด้วยอำนาจความเกียจคร้านโดยแท้ทีเดียว.
บทว่า ทุกฺขี ได้แก่ ผู้มีทุกข์ เพราะทุกข์ทางใจ.
บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ ผู้มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือผู้มีใจ
ผิดรูป เพราะความเป็นผู้ถูกโทมนัสครอบงำ.
บทว่า ปชฺฌายี ความว่า ท่านพระสุทินน์ คิดถึงความชั่วที่ตนทำ
แล้วนั้น ๆ ด้วยอำนาจความเดือดร้อน (ซบเซา) ดุจลาตัวที่เขาคัดออกจากภาระ
แล้ว ( ซบเซาอยู่) ฉะนั้น.

[พวกภิกษุสหายถามท่านพระสุทินน์ถึงความซูบผอม]


สองบทว่า สหายกา ภิกฺขู ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ถามถึงความ
ผาสุก ที่เป็นผู้คุ้นเคยของท่านพระสุทินน์ เห็นพระสุทินน์นั้น ผู้เป็นแล้ว
อย่างนั้น ซึ่งปล่อยให้วันคืนผ่านไปอยู่ ด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือการ
คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ จึงได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์นั้น.
บทว่า ปินินฺทฺริโย ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นเต็มเปี่ยม
เพราะโอกาสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งประสาทสมบูรณ์.