เมนู

อนึ่ง ในคำว่า ภุมฺมานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา จาตุมฺมหา-
ราชิการ
นี้ พึงทราบลำดับดังนี้ว่า อากาสัฏฐเทพเจ้าทั้งหลายได้สดับเสียง
เหล่าภุมมเทพเจ้าแล้ว, เทพเจ้าชั้นจาตุมหาราชทั้งหลาย ได้สดับเสียงเหล่า
อากาสัฏฐเทพเจ้าแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า พฺรหฺมกายิกา ความว่า พรหมแม้ทั้งหมด ยกเว้นเหล่า
อสัญญีสัตว์และเหล่ารูปาวจรสัตว์เสีย พึงทราบว่า ได้สดับแล้ว และครั้น
ได้สดับแล้ว ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นแล้ว.
หลายบทว่า อิติห เตน ขเณน ความว่า ชั่วขณะเดียวแห่งอัชฌาจาร
ของท่านพระสุทินน์นั้น ด้วยอาการอย่างนี้.
สองบทว่า เตน มุหุตฺเตน ความว่า ชั่วครู่เดียวแห่งอัชฌาจาร
นั่นเอง.
สองบทว่า ยาว พฺรหมฺโลกา ความว่า ( เสียงได้กระฉ่อนขึ้นไป
แล้ว ) จนถึงพรหมโลกขั้นอกนิฏฐะ.
บทว่า อพฺภุคฺคญฺฉิ แปลว่า ได้กระฉ่อนขึ้นไปแล้ว คือได้ตั้งขึ้น
แล้ว. ความก็ว่า ได้มีเสียงระเบ็งเซ้งแซ่เป็นอันเดียวกันแล้ว.

[บุตรชายของท่านพระสุทินน์มีชื่อว่าพีชกะ]


สองบทว่า ปุตฺตํ วิชายิ ความว่า ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์
ได้ให้ปัจฉิมภวิกสัตว์ ผู้เช่นกับพิมพ์ทองเกิดแล้ว.
หลายบทว่า พีชโกติ นามํ อกํสุ ความว่า พวกสหายของท่าน
พระสุทินน์ไม่ยอมให้ตั้งชื่อเป็นอย่างอื่น คือได้พากันตั้งชื่อว่า ''พีชกะ'' (เจ้า
พืชก์) โดยลงความเห็นกันว่า "ทารกนั้นจงมีชื่อว่า" เจ้าพืชก์" เท่านั้น,

เพราะเหตุแห่งคำที่ย่าได้กล่าวขอไว้ว่า "พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง" ดังนี้ ปรากฏ
ชัดแล้ว. พวกสหาย ก็ได้ตั้งชื่อให้แก่มารดาบิดาแห่งพีชกทารกนั้น ด้วยอำนาจ
ชื่อบุตรชายเหมือนกัน.
คำว่า เต อปเรน สมเยน นี้ท่านกล่าวหมายเอาเจ้าพืชก์และ
มารดาของเจ้าพืชก์.

[มารดาและพีชกทารกบวชแล้วได้สำเร็จพระอรหัต]


ได้ยินว่า ในเวลาที่พีชกะมีอายุได้ 7-8 ขวบ มารดาของเธอได้บวช
ในสำนักนางภิกษุณี และพีชกทารกนั้น ก็ได้บวชอยู่ในสำนักของภิกษุ ได้
อาศัยเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นกัลยาณมิตร ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. เพราะ
เหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า เขาทั้งสอง ได้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว.* บรรพชาของมารดาและ
บุตร ได้มีผลแล้วด้วยประการฉะนี้.

[ท่านพระสุทินน์เดือดร้อนใจเพราะประพฤติชั่วหยาบ]


ส่วนบิดาของพีชกทารกนั้น ถูกความวิปฏิสารครอบงำอยู่ เพราะเหตุ
นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวคำว่า "อถ โข อายสฺมโต สุทินฺนสฺส
อหุเทว กุกฺกุจฺจํ "
ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุเทว แปลว่า ได้มีแล้วนั้นเทียว.
ทะ อักษรทำการเชื่อมบท. ความว่า ได้มีแล้วนั่นเทียว.
ความตามเดือดร้อนในภายหลัง อันมีอัชฌาจารเป็นเหตุ ชื่อว่าความ
รำคาญ. แม้คำว่า วิปฏิสาโร ก็เป็นชื่อแห่งความตามเดือดร้อนในภายหลัง
นั้นนั่นเอง.
*วิ. มหา. 1/33.