เมนู

[

สตรีมีระดูหยุดก็ตั้งครรภ์

]
คำว่า ปุปฺผํ นี้เป็นชื่อแห่งโลหิตที่เกิดขึ้นในเวลาที่มาตุคามมีระดู.
จริงอยู่ ในเวลาที่มาตุคามมีระดู ต่อมมีสีแดงตั้งขึ้นในสถานที่ ๆ ตั้งครรภ์
(ในมดลูก) แล้วเจริญขึ้นถึง 7 วันก็สลายไป. โลหิตก็ไหลออกจากต่อมเลือด
ที่สลายไปแล้วนั้น. คำว่า ปุปฺผํ นั้นเป็นชื่อแห่งโลหิตนั้น.
อนึ่ง ดลหิตนั้นเป็นของมีกำลัง ยังไหลออกอยู่มากเพียงใด, คือย่อม
ไหลออกพร้อมกับโทษ (มลทินแห่งโลหิต) นั้นเอง, ก็เมื่อโทษ (มลทินแห่ง
โลหิต) ไหลออกแล้ว ปฏิสนธิ (ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์) ที่บิดาให้ไว้แล้ว
ในวัตถุ (รังไข่) ที่บริสุทธิ์ ก็ตั้งขึ้นได้โดยเร็วพลัน.
สองบทว่า ปุปฺผํสา อุปฺปชฺชติ ความว่า ต่อมเลือดเกิดขึ้นแก่
ภรรยาเก่าของท่านสุทินน์นั้นแล้ว. พึงทราบการลบบทสังโยค พร้อมกับการ
ลบ อ อักษร* เสีย.
หลายบทว่า ปุราณทุติยกาย พาหายํ คเหตฺวา ความว่า ท่าน
พระสุทินน์จับภรรยาเก่านั้นที่แขนทั้งสองนั้น.
สองบทว่า อปฺปญฺญตฺเต สิกฺขาปเท ความว่า เพราะปฐมปาราชิก
สิกขาบทยังมิได้ทรงตั้งไว้.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปฐมปาราชิกเมื่อ 20 พระพรรษา]


ได้ยินว่า ในปฐมโพธิกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหลายได้
ประคองพระหฤทัยให้ทรงยินดีแล้วตลอด 20 ปี มีได้ทำอัชฌาจาร (ความ
ประพฤติล่วงละเมิด) เห็นปานนี้ (ให้เกิดขึ้นเลย). พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
* บทว่า ปุปฺผํสา นี้ ตัดบทเป็น ปุปฺผํ อสฺสา ลบ อ อักษรตัวต้น และลบ สฺ ที่เป็นตัว
สกดเสีย จึงสนธิกันเข้าเป็น ปปฺผํสา.

หมายเอาอัชฌาจารนั้นนั่นเอง จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ประคองจิตของเราให้ยินดีแล้วหนอ.
คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่ทรงเล็งเห็นอัชฌาจาร(ความ
ประพฤติล่วงละเมิดเช่นนั้นของภิกษุทั้งหลาย) จึงมิได้ทรงบัญญัติปาราชิกหรือ
สังฆาทิเสส แต่ได้ทรงบัญญัติกองอาบัติเล็กน้อย ที่เหลือไว้เพียง 5 กองเท่านั้น
ในเพราะเรื่องนั้น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่า
เพราะสิกขาบท ยังมิได้ทรงบัญญัติไว้.
บทว่า อนาทีนวทสฺโส ความว่า ท่านสุทินน์ เมื่อไม่เล็งเห็นข้อ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสิกขาบทชี้โทษไว้ในบัดนี้ จึงเป็นผู้มีความ
สำคัญ (ในการเสพเมถุนธรรมนั้น) ว่าไม่มีโทษ. จริงอยู่ ถ้าท่านพระสุทินน์นี้
พึงรู้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรทำ หรือว่า สิ่งที่ทำนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อมูลเฉท ดังนี้ไซร้,
กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา แม้จะถึงความสิ้นชีวิตไป อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุก็
จะไม่พึงทำ, แต่ท่านเมื่อไม่เล็งเห็นโทษในการเสพเมถุนธรรมนี้ จึงได้เป็นผู้
มีความสำคัญว่า ไม่มีโทษ. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าว
ไว้ว่า เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ.
บทว่า ปุราณทุติยิกาย นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ.
บทว่า อภิวิญฺญาเปสิ คือ ให้เป็นไปแล้ว.
จริงอยู่ แม้การให้เป็นไป ท่านเรียกว่า วิญฺญาปนา เพราะยังกาย
วิญญัติให้เคลื่อนไหว. ก็ท่านพระสุทินน์นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ได้ทำการยัง
กายวัญญัติให้เคลื่อนไหวถึง 3 ครั้ง เพื่อความตกลงใจจะให้ตั้งครรภ์.
หลายบทว่า สา เตน คพฺภํ คณฺหิ ความว่า แม้ภรรยาเก่าของ
ท่านพระสุทินน์นั้น ก็ตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจารนั้นนั่นเอง หาได้ตั้งครรภ์โดย
ประการอื่นไม่.



[เหตุที่ให้สตรีตั้งครรภ์มี 7 อย่าง]


ถามว่า ก็การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้ แม้โดยประการอย่างอื่นหรือ ?
แก้ว่า ย่อมมีได้.
ถามว่า ย่อมมีได้อย่างไร ?
แก้ว่า ย่อมมีได้ (เพราะเหตุ 7 อย่างคือ) เพราะการเคล้าคลึงกาย 1
เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม) 1 เพราะการดื่มน้ำอสุจิ 1 เพราะการลูบคลำสะดือ
(ของสตรี) 1 เพราะการจ้องดู (รูป) 1 เพราะเสียง 1 เพราะกลิ่น 1.
จริงอยู่ สตรีทั้งหลาย บางพวกเป็นผู้มีความกำหนัดยินดีด้วยฉันทราคะ
ในเวลาที่ตนมีระดู แม้เมื่อยินดีการที่บุรุษจับมือ จับช้องผม และการลูบคลำ
อวัยวะน้อยใหญ่ (ของตน) ย่อมตั้งครรภได้. การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะ
การเคล้าคลึงกาย ด้วยอาการอย่างนี้.
อนึ่ง นางภิกษุณี ผู้เป็นภรรยาเก่าของพระอุทายีเถระ เอาปากอม
น้ำอสุจินั้นไว้ส่วนหนึ่ง ใส่อีกส่วนหนึ่งเข้าในองค์ชาตรวมกับผ้านั่นเอง. นาง
ก็ตั้งครรภ์ได้เพราะเหตุนี้1. การตั้งครรภ์ย่อมมีได้ เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม)
ด้วยอาการอย่างนี้.
แม่เนื้อ ผู้เป็นมารดาของมิคสิงคดาบส ได้มายังสถานที่ถ่ายปัสสาวะ
ของดาบส ในเวลาที่ตนมีระดู แล้วได้ดื่มน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีน้ำสมภพเจือปนอยู่.
แม้เนื้อนั้น ก็ตั้งครรภ์ แล้วออกลูกเป็นมิคลิงคดาบส เพราะเหตุที่ตนดื่มน้ำ
ปัสสาวะนั้น2. การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะการดื่มน้ำอสุจิ ด้วยอาการอย่างนี้.
อนึ่ง ท้าวสักกะทรงทราบข้อที่มารดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์
เสียจักษุ มีพระประสงค์จะประทานบุตร (แก่ท่านทั้งสองนั้น) จึงทรงรับสั่ง
1. วิ. มหา. 2/23. 2. ชาตกัฏฐกถา. 8/1. 7/396.