เมนู

บทว่า อธิวาเสสิ ความว่า พระเถระถึงจะเป็นผู้ถือบิณฑบาต
เป็นวัตรอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่ก็ยังใฝ่ใจว่า ถ้าเราจักไม่รับแม้ภัตตาหาร
ครั้งเดียวไซร้, พวกญาติเหล่านั้น ก็จักเสียใจอย่างยิ่ง จึงได้รับคำอาราธนา
เพื่ออนุเคราะห์พวกญาติ.
บทว่า โอปุญฺฉาเปตฺวา แปลว่า สั่งให้ไล้ทา.
บทว่า ติโรกรณียํ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ, ความว่า
แวดวง (กองทรัพย์นั้น) ไว้ด้วยกำแพงม่าน อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อม
ทำรั้วกันไว้ภายนอก ด้วยกำแพงม่านนั่น เหตุนั้น กำแพงม่านนั้น จึงชื่อว่า
ติโรกรณียะ. ความก็ว่า จัดวงล้อมกำแพงม่านนั้นไว้โดยรอบ.
ในสองบทว่า เอกํ หิรญฺญสฺส นี้ กหาปณะ ควรทราบว่า เงิน.
ชายไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ขนาดปานกลาง พึงทราบว่า บุรุษ
บทว่า เตน หิ ความว่า เพราะเหตุที่ลูกสุทินน์จักมาในวันนี้.
ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ลงในอรรถสักว่าทำบทให้เต็ม.
อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เตน แม้นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งคำ
เชื้อเชิญนั่งเอง.
ในบทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ นี้ ท่านมิได้กล่าวคำเผดียงกาลไว้ใน
พระบาลี แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น ก็ควรทราบอธิบายว่า เมื่อเขาเผดียงกาลแล้ว
นั่นแล พระเถระก็ได้ไป.

[บิดามอบทรัพย์เพื่อให้พระสุทินน์สึก]


โยมบิดาของท่านสุทินน์ ชี้บอกกองทรัพย์ทั้ง 2 กองว่า พ่อสุทินน์ !
นี้ทรัพย์มารดาของพ่อ เป็นต้น.


บทว่า มาตุ ได้แก่ แห่งหญิงผู้ให้เกิด.
บทว่า มตฺติกํ ได้แก่ ทรัพย์ที่มีมาแต่ฝ่ายมารดา. อธิบายว่า ทรัพย์
ส่วนนี้คุณย่าได้มอบให้มารดาของเจ้าผู้มาสู่เรือนนี้.
โยมบิดากล่าวตำหนิ (ทรัพย์เป็นสินเดิมฝ่ายหญิง) ด้วยคำว่า
อิตฺถิกาย อิตฺถีธนํ ทรัพย์ชื่อว่าอันฝ่ายหญิงได้มา เพื่อประโยชน์แก่เครื่อง
จุณณ์สำหรับอาบน้ำเป็นต้น อันเป็นเครื่องใช้สอยของหญิงนั่นเอง มีประมาณ
เท่าไร, เจ้าจงตรวจดูปริมาณทรัพย์ฝ่ายหญิงแม้นั้นก่อน.
อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า พ่อสุทินน์ ! นี้ทรัพย์มารดาของพ่อ,
ก็แลทรัพย์นั้นเป็นสินเดิมฝ่ายมารดา พ่อมิได้ให้ไว้ คือ เป็นของมารดาของเจ้า
เท่านั้น.
ในบทว่า อตฺถิกาย อิตฺถีธนํ นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า ก็
ทรัพย์นี้นั้นรวบรวมมาได้ด้วยกสิกรรม (และ) พาณิชยกรรมก็หามิได้ อีก
อย่างหนึ่งแล ทรัพย์อันฝ่ายหญิงพึงได้มา ชื่อว่า อิตถีธนํ (ทรัพย์ฝ่ายหญิง),
คือว่า ทรัพย์ฝ่ายหญิงส่วนใด อันฝ่ายหญิงผู้ไปสู่ตระกูลสามีจากตระกูลญาติ
พึงได้มาเพื่อประโยชน์แก่เครื่องจุณณ์สำหรับอาบน้ำเป็นต้น, ทรัพย์ส่วนนั้น
ก็มีประมาณเท่านั้นก่อน.
หลายบทว่า อญฺญํ เปตฺติกํ อญฺญํ ปิตามหํ ความว่า ก็ทรัพย์
ส่วนใดอันเป็นสินเดิมของบิดาและปู่ทั้งหลายของพ่อ, ทรัพย์ส่วนนั้นก็เป็น
ส่วนอื่นต่างหาก, ที่เขาฝังไว้ และที่ประกอบการค้าขาย ก็มีอยู่มากมายนัก.
อนึ่ง บทว่า ปิตามหํ ที่มีอยู่ในสองบทว่า เปตฺติกํ ปิตามหํ นี้
ควรทราบว่าทำกรลบปัจจัยแห่งตัทธิตเสีย. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า เปตามหํ
ดังนี้ก็มี.

หลายบทว่า ลพฺภา ตาต สุทินฺน หีนายาวตฺตฺวา ความว่า
พ่อสุทินน์! พ่อควรละเพศบรรพชิตอันสูงส่ง ซึ่งเป็นธงชัยแห่งพระอริยเจ้าเสีย
แล้วกลับมาเพื่อความเป็นคฤหัสถ์อันเป็นเพศที่ต่ำทรามจะพึงได้ใช้สอย คือจะ
ได้เพื่อบริโภค โภคสมบัติ. พ่อกลัวต่อราชอาญา จึงบวชก็หามิได้ ทั้งถูก
เจ้าหนี้ทวงก็หามิได้แล.
ก็คำว่า ตาต ที่มีอยู่ในบทว่า ตาต น อุสฺสหามิ นี้ พระสุทินน์
พูด (กับบิดา) เพราะความรักอาศัยเรือน หาใช่พูดเพราะเดชแห่งสมณะไม่.
บทว่า น อุสฺสหามิ แปลว่า รูปไม่อาจ.
บทว่า น วิสหามิ แปลว่า รูปไม่พร้อม คือ ไม่สามารถ.
ก็คำว่า วเทยฺยาม โข ตํ คหปติ นี้ พระสุทินน์พูด (กับบิดา)
เพราะเดชแห่งสมณะ.
บทว่า นาติกฑฺเฒยฺยาสิ ความว่า ความรักอันใดของคุณโยม
ที่ตั้งอยู่แล้วในรูป , คุณโยม ไม่ควรตัดรอนความรักอันนั้นออก ด้วยอำนาจ
ความโกรธ. มีคำอธิบายว่า ถ้าว่าคุณโยมไม่พึงโกรธไซร้.
ลำดับนั้น ท่านเศรษฐี มีจิตเบิกบานด้วยนึกในใจว่า บุตรชายเหมือน
มีความประสงค์จะทำการสงเคราะห์เรากระมัง จึงได้พูดว่า พูดเถิด พ่อสุทินน์!
ศัพท์ว่า เตนหิ เป็นนิบาต มีรูปคล้ายวิภัตติ ลงในอรรถแห่งคำ
เชื้อเชิญ.
บทว่า ตโตนิทานํ พึงทราบการอาเทศ ตํปฐมาวิภัตติ อย่างนี้คือ
ตํนิทานํ ตํเหตุกํ (มีทรัพย์นั้นเป็นต้นเรื่อง, มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ) เป็นโต.
และในสมาสบทนั้นไม่มีการลบโตปัจจัย.

ภัยมีราชภัยเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า พระราชาทั้งหลาย
จะไม่พึงทรงริบโภคสมบัติของเราหรืออย่างไร ชื่อว่าภัยก็ดี. อธิบายว่า
จิตสะดุ้ง.
กายสั่นเทา (ก็ดี) กายสะทกสะท้าน (ก็ดี) เนื้อหัวใจป่วนปั่น (ก็ดี)
ของบุคคลผู้ถูกพระราชาหรือโจรลงกรรมกรณ์ ด้วยสั่งบังคับว่า เองจงให้ทรัพย์
ดังนี้ ชื่อว่า ฉัมภิตัตตะ (ความหวาดเสียว).
ขนชูชัน คือมีปลายงอนขึ้นข้างบน ในเมื่อมีภัยเกิดขึ้น ชื่อว่า
โลมหังสะ (ขนพองสยองเกล้า.
การรักษาอย่างกวดขัน ทั้งภายในและภายนอก ทั้งกลางคืนและกลางวัน
ชื่อว่า อารักขา (การเฝ้ารักษา).

[บิดาสั่งภรรยาเก่าให้ประเล้าประโลมพระสทินน์สึก]


สองบทว่า เตนหิ วธุ ความว่า เศรษฐีคฤหบดี ครั้นแสดงทรัพย์
แล้ว ก็ไม่สามารถจะประเล้าประโลมบุตรชาย เพื่อให้สึกด้วยตนเองได้ จึง
สำคัญว่า บัดนี้ เครื่องผูกพวกผู้ชาย เช่นกับมาตุคามเป็นไม่มี จึงได้เรียก
ปุราณทุติยิการภรรยา ของพระสุทินน์นั้นมาสั่งว่า เตนหิ วธุ เป็นต้น.
บทว่า ปุราณทุติยิกํ ได้แก่ หญิงคนที่สองซึ่งเป็นคนดั้งเดิม คือ
หญิงคนที่สองในกาลก่อน คือในคราวที่ยังเป็นคฤหัสถ์. อธิบายว่า ได้แก่
ภรรยาผู้เคยเป็นหญิงผู้ร่วมในการเสพสุขที่อาศัยเรือนมาแล้ว.
บทว่า เตนหิ ความว่า เพราะเหตุที่ไม่มีเครื่องผูก (อย่างอื่น) เช่น
กับมาตุคาม.
สองบทว่า ปาเทสุ คเหตฺวา ความว่า ภรรยาเก่าได้จับเท้าทั้งสอง
(ของท่านสุทินน์). บทว่า ปาเทสุ เป็นสัตว์มีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ .
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ภรรยาเก่าได้จับพระสุทินน์นั้นที่เท้าทั้งสอง.