เมนู

ศัพท์ว่า เช ที่มีอยู่ในบทว่า สเจ เช สจฺจํ นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถแห่งคำร้องเรียก. ความจริง ชนทั้งหลายในประเทศนั้นย่อมร้องเรียก
หญิงสาวใช้ ด้วยภาษาอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น ในคำว่า สเจ เช สจฺจํ
นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า แม่ทาสีผู้เจริญ ! ถ้าเจ้าพูดจริงไซร้.

[พวกบรรพชิตไม่นั่งฉันในที่ไม่สมควรเหมือนคนขอทาน]


สองบทว่า อญฺญตรํ กุฑฺฑมูลํ ความว่า ได้ยินว่า ในประเทศนั้น
ในเรือนของเหล่าชนผู้เป็นทานบดี มีหอฉันไว้, และในหอฉันนี้เขาก็จัด
ปูอาสนะไว้ ทั้งได้จัดตั้งน้ำฉันและน้ำส้มไว้พร้อม. บรรพชิตทั้งหลาย ครั้น
เที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว (กลับมา) นั่งฉันที่หอฉันนั้น ถ้าปรารถนาจะรับเอา
ภัตตาหารที่มีอยู่ ก็รับเอาของที่ยังมีอยู่ แม้ของเหล่าชนผู้เป็นทานบดีไป.
เพราะฉะนั้น แม้สถานที่นั้น ควรทราบว่า ได้แก่พะไลฝาเรือนแห่งใดแห่งหนึ่ง
ใกล้หอฉันนี้ แห่งตระกูลใดตระกูลหนึ่ง. จริงอยู่ บรรพชิตทั้งหลาย ย่อมไม่
นั่งฉันในสถานที่ไม่สมควร เหมือนพวกมนุษย์กำพร้าฉะนั้นแล.
ศัพท์ว่า อตฺถิ ที่มีอยู่ในบทว่า อตฺถิ นาม ตาต นี้ เป็นนิบาต
ลงในอรรถว่า มีอยู่, และศัพท์ว่า นาม (ที่มีอยู่ในบทนั้น) ก็เป็นนิบาต
ลงในอรรถแห่งคำถาม และในอรรถแห่งความดูหมิ่น.

[บิดาติเตียนพระสุทินน์ว่าฉันขนมบูดเหมือนดื่นน้ำอมฤต]


จริงอยู่ ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า (บิดาพูดกับพระสุทินน์ผู้เป็น
บุตรชายว่า) พ่อสุทินน์ ! ทรัพย์ของเรา ก็มีอยู่มิใช่หรือ ? พวกเราซึ่งมีเจ้า
เป็นบุตรชาย ผู้มานั่งฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืนอยู่ในที่เช่นนี้ จะพึงถูก
ประชาชนเขาตำหนิว่า เป็นผู้ไม่มีทรัพย์มิใช่หรือ ?

อนึ่ง พ่อสุทินน์ ! พ่อแม่ก็ยังมีชีวิตอยู่ มิใช่หรือ ? พ่อแม่ซึ่งมีเจ้า
เป็นบุตรชาย ผู้มานั่งฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืนอยู่ในที่เช่นนี้ จะถูก
ประชาชนเขาตำหนิว่า ตายแล้วมิใช่หรือ ?
อนึ่ง พ่อสุทินน์ ! พ่อสำคัญว่า สมณคุณที่เจ้าได้เพราะอาศัยศาสนา
มีอยู่ในภายในจิตใจของเจ้า ผู้ซึ่งแม้เจริญเติบโตมาด้วยรสแห่งอาหารที่ดี ยัง
ไม่มีความรังเกียจฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืน ซึ่งเป็นของน่าสะอิดสะเอียนนี้
เหมือนดื่มน้ำอมฤตฉะนั้น.
ก็หฤหบดีนั้น เพราะถูกความทุกข์บีบคั้น เมื่อไม่สามารถจะพูดแต่ง
ใจความนั่นให้บริบูรณ์ได้ จึงได้กล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า มีอยู่หรือพ่อสุทินน์ !
ที่พ่อจักฉันขนมกุมมาสที่เก็บไว้ค้างคืน ?
ส่วนในคำว่า อตฺถิ นาม ตาต เป็นต้นนี้ อาจารย์ผู้คิดอักษร
ทั้งหลาย ย่อมกล่าวลักษณะนี้ไว้ดังนี้คือ :- เมื่อมีอัตถิศัพท์อยู่ในที่ใกล้ (คือ
อยู่บทข้างหน้า) บัณฑิตทั้งหลายจึงได้แต่คำอนาคตกาลนั่นไว้ดังนี้ว่า ปริภุญฺ-
ชิสฺสสิ ด้วยอำนาจเนื้อความที่ไม่น่าเชื่อและไม่อาจเป็นได้.
ใจความแห่งคำอนาคตกาลนั้น มีดังนี้คือ:- ข้อว่า อตฺถิ นาม
ฯ เป ฯ ปริภุญฺชิสฺสสิ มีความหมายว่า พ่อไม่เชื่อ ทั้งไม่พอใจซึ่งการฉันนี้
แม้ที่เห็นประจักษ์อยู่
สองบทว่า ตตายํ อาภิโทสิโก ความว่า ขนมกุมมาสที่เก็บไว้
ค้างคืนนี้ รูปได้มาแต่เรือนของคุณโยมนั้น. ปาฐะว่า ตโตยํ บ้าง. อาจารย์
บางพวกสวดกันว่า ตทายํ บ้าง. คำนั้นไม่งาม.
หลายบทว่า เยน สกปิตุ นิเวสนํ ความว่า นิเวศน์แห่งบิดาของตน
คือ แห่งบิดาของอาตมา มีอยู่โดยสถานที่ใด พระเถระเป็นผู้ว่าง่าย จึงได้ไป
(ยังนิเวศน์นั้น) เพราะความรักในบิดานั่นเอง.

บทว่า อธิวาเสสิ ความว่า พระเถระถึงจะเป็นผู้ถือบิณฑบาต
เป็นวัตรอย่างเคร่งครัดก็ตาม แต่ก็ยังใฝ่ใจว่า ถ้าเราจักไม่รับแม้ภัตตาหาร
ครั้งเดียวไซร้, พวกญาติเหล่านั้น ก็จักเสียใจอย่างยิ่ง จึงได้รับคำอาราธนา
เพื่ออนุเคราะห์พวกญาติ.
บทว่า โอปุญฺฉาเปตฺวา แปลว่า สั่งให้ไล้ทา.
บทว่า ติโรกรณียํ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถตติยาวิภัตติ, ความว่า
แวดวง (กองทรัพย์นั้น) ไว้ด้วยกำแพงม่าน อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อม
ทำรั้วกันไว้ภายนอก ด้วยกำแพงม่านนั่น เหตุนั้น กำแพงม่านนั้น จึงชื่อว่า
ติโรกรณียะ. ความก็ว่า จัดวงล้อมกำแพงม่านนั้นไว้โดยรอบ.
ในสองบทว่า เอกํ หิรญฺญสฺส นี้ กหาปณะ ควรทราบว่า เงิน.
ชายไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ขนาดปานกลาง พึงทราบว่า บุรุษ
บทว่า เตน หิ ความว่า เพราะเหตุที่ลูกสุทินน์จักมาในวันนี้.
ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ลงในอรรถสักว่าทำบทให้เต็ม.
อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เตน แม้นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งคำ
เชื้อเชิญนั่งเอง.
ในบทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ นี้ ท่านมิได้กล่าวคำเผดียงกาลไว้ใน
พระบาลี แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น ก็ควรทราบอธิบายว่า เมื่อเขาเผดียงกาลแล้ว
นั่นแล พระเถระก็ได้ไป.

[บิดามอบทรัพย์เพื่อให้พระสุทินน์สึก]


โยมบิดาของท่านสุทินน์ ชี้บอกกองทรัพย์ทั้ง 2 กองว่า พ่อสุทินน์ !
นี้ทรัพย์มารดาของพ่อ เป็นต้น.