เมนู

ด้วยอาการใด ๆ ข้าพระพุทธเจ้า จึงจะรู้ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
อันบุคคลผู้ยังอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว เป็นของทำไม่ได้ง่าย, ข้าพระ
พุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสวะ ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต, ของพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด
พระเจ้าข้า !1
ก็เพราะจำเดิมแต่ราหุลกุมารบรรพชามา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรง
บวชให้บุตรผู้ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต. เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามสุทินน์นั้นว่า
ดูก่อนสุทินน์ ! ก็เธออันมารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
แล้วหรือ ?.2
เบื้องหน้าแต่พระพุทธดำรัสนี้ไป บัณฑิตพึงทราบเนื้อความไปตาม
แนวพระบาลีนั่นแล อย่างนี้ในบทว่า ตํ กรณียํ ตีเรตฺวา3 นี้. (สุทินน์
กลันทบุตรนั้น) ให้กรณียกิจนั้นเสร็จลง ด้วยการทอดทิ้งธุระนั่นเอง. จริงอยู่
น้ำใจของสุทินน์กลันทบุตร ผู้มีฉันทะแรงกล้าในการบรรพชา หาได้น้อมไป
ในธุระกิจทั้งหลายมีประกอบการซื้อขายสินค้า การให้กู้ยืมและทวงหนี้เป็นต้น
หรือในการเล่นกีฬานักขัตฤกษ์ไม่.

[มารดาบิดาไม่อนุญาตให้สุทินน์บวช]


ก็ในบทว่า อมฺม ตาต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- สุทินน์กลันทบุตร
เรียกมารดาว่า อมฺม แม่ (และ) เรียกบิดาว่า ตาต พ่อ.
สองบทว่า ตฺวํ โขสิ ตัดบทเป็น ตฺวํ โข อสิ แปลว่า (ลูก
สุทินน์) เจ้าเท่านั้นแล เป็น....
1-2-3. วิ. มหา. 1/20.

บทว่า เอกปุตฺตโก ความว่า เป็นบุตรคนเดียวแท้ ๆ คือพี่ชาย
หรือน้องชายคนอื่นของเจ้าไม่มี.
อนึ่ง ในบทว่า เอกปุตฺตโก นี้ เมื่อมารดาบิดาควรจะกล่าวว่า
เอกปุตฺโต แต่กล่าวว่า เอกปุตฺตโก ก็ด้วยอำนาจความเอ็นดู.
บทว่า ปิโย แปลว่า ผู้ให้เกิดปีติ.
บทว่า มนาโป แปลว่า ผู้เจริญใจ.
บทว่า สุเขธิโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองมาด้วยความสุข. อธิบายว่า
ผู้เจริญมาด้วยความสุข.
บทว่า สุขปริหโฏ ความว่า ผู้อันเหล่าชนประคบประหงมมาด้วย
ความสุข คือตั้งแต่เวลาเกิดมาแล้ว ก็มีพี่เลี้ยงนางนมทั้งหลายผลัดเปลี่ยนตัก
กันอุ้มทรงไว้ เล่นอยู่ด้วยสิ่งของเครื่องเล่นในเวลายังเป็นเด็กเล็ก ๆ มีม้าและ
รถเป็นต้น อันพี่เลี้ยงเป็นต้นให้บริโภคโภชนาหารที่มีรสอร่อยดี ชื่อว่าผู้อัน
เหล่าชนประคบประหงมมาด้วยความสุข.
หลายบทว่า น ตฺวํ ตาต สุทินฺน กิญฺจิ ทุกฺขสฺส ชานาสิ
ความว่า แนะลูกสุทินน์ เจ้าย่อมไม่รู้ส่วนเลี้ยวแห่งทุกข์อะไร ๆ แม้เพียงเล็ก
น้อยเลย. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมไม่ได้เสวยอะไร ๆ ด้วยความทุกข์
คำว่า ทุกฺขสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปใน
อรรถคือความเสวย.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เจ้าย่อมระลึกถึงทุกข์อะไร ๆ ไม่ได้ . คำว่า
ทุกฺขสฺส นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. ก็ความรู้เป็นไปในอรรถ
คือความระลึก.

แม้ในวิกัปป์ทั้งสอง พึงเห็นการลบวิภัตติที่เสมอกันแห่งบทเบื้องต้น
ด้วยบทเบื้องปลายเสีย. คำถามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น ผู้ศึกษาควรทราบ
ตามแนวคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
หลายบทว่า มรเณนปิ มยนฺเต อกามกา วินา ภวิสฺสาม
ความว่า แม้ถ้าเมื่อเราทั้งสอง ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าจะพึงตายไซร้, แม้ด้วยความ
ตายของเจ้านั้น เราทั้งสอง ก็ไม่ต้องการ คือไม่ปรารถนา ชื่อว่าจักไม่ยอม
เว้น (ให้เจ้าตาย) ตามความพอใจของตน, อธิบายว่า เราทั้งสองจักประสบ
ความพลัดพรากเจ้าไม่ได้.
หลายบทว่า กึ ปน มยํ ตํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เหตุ
อะไรเล่า จักเป็นเหตุให้เราทั้งสองอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่ (ออกบวชเป็น
บรรพชิต).
อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า กึ ปน มยํ ตํ นี้ พึงเห็นใจความอย่าง
นี้ว่า ก็เพราะเหตุไรเล่า เราทั้งสอง จึงจักยอมอนุญาตให้เจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่.
บทว่า ตตฺเถว ความว่า (สุทินน์กลันทบุตรนั้น นอนลง) ในสถาน
ที่ที่เขายืนอยู่ ซึ่งมารดาบิดาไม่อนุญาตให้เขาบวชนั้นนั่นเอง
บทว่า อนนฺตรหิตาย ความว่า บนฟื้นที่อันมิได้ลาดด้วยเครื่อง
ปูลาดอะไร ๆ .
บทว่า ปริจาเรหิ ความว่า เจ้าจงให้พวกนักขับร้องนักเต้นรำและ
นักฟ้อนเป็นต้น บำรุงบำเรอเฉพาะตนแล้ว จงให้อินทรีย์ (คือร่างกายทุกส่วน)
เที่ยวไป คือให้สัญจรไปตามสบายร่วมกับสหายทั้งหลาย ในหมู่นักขับร้องเป็น
ต้นเหล่านั้น,อธิบายว่า เจ้าจงนำนักขับร้องเป็นต้น เข้ามาทางนี้และทางนี้เถิด.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริจาเรหิ ความว่า เจ้าจงให้พวกนักขับร้อง
นักเต้นรำและนักฟ้อนเป็นต้น บำรุงบำเรอเฉพาะตนแล้ว จงเล่น คือจงเข้า
ไปสมาคม ได้แก่จงรื่นรมย์ร่วมกับสหายทั้งหลายเถิด, มีคำอธิบายไว้ว่า จง
เล่นกีฬาเถิด ดังนี้บ้าง.
สองบทว่า กาเม ปริภุญฺชนฺโต ความว่า เจ้าจงบริโภคโภคทรัพย์
ทั้งหลายร่วมกับบุตรและภรรยาของตนเถิด.
สองบทว่า ปุญฺญานิ กโรนฺโต ความว่า เจ้าจงปรารภพระพุทธ
พระธรรม และ พระสงฆ์แล้ว บำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่อง
ชำระทางสุคติให้บริสุทธิ์ด้วยดี มีการเพิ่มให้ทานเป็นต้นเถิด.
สองบทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า สุทินน์กลันทบุตร เพื่อตัด
ความเกี่ยวข้องด้วยการพูดวาจา จึงได้งดการสนทนาปราศรัยเสีย.

[สหายไปห้ามไม่ให้สุทินน์บวชไม่สำเร็จ]


คราวนั้น มารดาบิดาของสุทินน์ พูด (เล้าโลม) ถึง 3 ครั้ง เมื่อ
ไม่ได้แม้เพียงคำตอบ จึงสั่งให้เรียกพวกสหาย (ของเขา) มาแล้วสั่งว่า สุทิ-
นน์ผู้เป็นสหายของพวกเธอนั้น มีความประสงค์จะบวช พวกเธอจงช่วยห้ามเขา
ด้วย. แม้สหายเหล่านั้นเข้าไปหาเขาแล้วก็ได้พูด (อ้อนวอน) ถึง 3 ครั้ง
แต่สุทินน์ก็ได้นิ่งเงียบแม้ต่อ (หน้า) สหายเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่า อถโข สุทินฺนนฺส กลฺนทปุตฺตสฺส สหา-
ยกา ฯเปฯ ตุณฺหี อโหสิ*.

[สหายไปขออนุญาตมารดาบิดาให้สุทินน์บวช]
ครั้งนั้น พวกสหายของสุทินน์นั้น ได้มีความรำพึงดังนี้ว่า หากว่า
สุทินน์ เมื่อไม่ได้บวช จักตาย, จักไม่มีคุณอะไร, แต่มารดาบิดา จักได้
เห็นเขาผู้บวชแล้วเป็นครั้งคราว, ถึงพวกเราจักได้เห็น, อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าการ
* วิ.มหา. 1/23-4.