เมนู

ด้วยอาการใด ๆ ข้าพระพุทธเจ้า จึงจะรู้ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
อันบุคคลผู้ยังอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว เป็นของทำไม่ได้ง่าย, ข้าพระ
พุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสวะ ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต, ของพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด
พระเจ้าข้า !1
ก็เพราะจำเดิมแต่ราหุลกุมารบรรพชามา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรง
บวชให้บุตรผู้ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต. เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามสุทินน์นั้นว่า
ดูก่อนสุทินน์ ! ก็เธออันมารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
แล้วหรือ ?.2
เบื้องหน้าแต่พระพุทธดำรัสนี้ไป บัณฑิตพึงทราบเนื้อความไปตาม
แนวพระบาลีนั่นแล อย่างนี้ในบทว่า ตํ กรณียํ ตีเรตฺวา3 นี้. (สุทินน์
กลันทบุตรนั้น) ให้กรณียกิจนั้นเสร็จลง ด้วยการทอดทิ้งธุระนั่นเอง. จริงอยู่
น้ำใจของสุทินน์กลันทบุตร ผู้มีฉันทะแรงกล้าในการบรรพชา หาได้น้อมไป
ในธุระกิจทั้งหลายมีประกอบการซื้อขายสินค้า การให้กู้ยืมและทวงหนี้เป็นต้น
หรือในการเล่นกีฬานักขัตฤกษ์ไม่.

[มารดาบิดาไม่อนุญาตให้สุทินน์บวช]


ก็ในบทว่า อมฺม ตาต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- สุทินน์กลันทบุตร
เรียกมารดาว่า อมฺม แม่ (และ) เรียกบิดาว่า ตาต พ่อ.
สองบทว่า ตฺวํ โขสิ ตัดบทเป็น ตฺวํ โข อสิ แปลว่า (ลูก
สุทินน์) เจ้าเท่านั้นแล เป็น....
1-2-3. วิ. มหา. 1/20.