เมนู

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแก่สุทินน์ ผู้เป็น
ภัพกุลบุตร (กุลบุตรผู้ควรตรัสรู้) ผู้อันปุพเพกตปุญญตาตักเตือนอยู่.
ถามว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแล้วอย่างไร ?
แก้ว่า ได้มีว่า ไฉนหนอ เราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยนฺนูน นั้นเป็นบทแสดงถึงความรำพึง.
ได้ยินว่า สุทินน์นั้น ได้เกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า บริษัทนี้มีจิต
ดิ่งลงเป็นหนึ่ง ฟังธรรมใดอยู่, โอหนอ ! แม้เราก็พึงฟังธรรมนั้น.
หากจะมีอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ในคำว่า ครั้งนั้นแล สุทินน์กลันทบุตร
เข้าไปโดยทางบริษัทนั้น นี้ เพราะเหตุไร ท่านพระอุบาลีเถระ จึงไม่กล่าว
ไว้ว่า เข้าไปเฝ้าโดยทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แต่กลับกล่าวว่า
เข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่ ?
เฉลยว่า จริงอยู่ บริษัทหมู่ใหญ่ มีเหล่าชนผู้หรูหรา นั่งห้อมล้อม
พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว, สุทินน์กลันทบุตรนี้ มาภายหลังเขา ไม่สามารถ
จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในบริษัทนั้นได้, แต่ก็สามารถจะเข้าไปนั่ง
ในที่แห่งหนึ่งใกล้บริษัทได้, เพราะฉะนั้น สุทินน์กลันทบุตรนั้น ก็เข้าไปหา
บริษัทนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า ครั้งนั้นแล
สุทินน์กลันทบุตรเข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่*.

[สุทินน์กลันทบุตรได้ฟังธรรมแล้วคิดจะบวช]


หลายบทว่า เอกมนฺตํ นิสินฺนสฺส โข สุทินฺนสฺส กลนฺท-
ปุตฺตสฺส เอตทโหสิ
ความว่า ความรำพึงนี้ หาได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร
ผู้สักว่านั่งแล้วเท่านั้นไม่, โดยที่แท้ ก็ความรำพึงนั้น ได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร
* วิ. มหา. 1/19.

นั้น ผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควรข้างหนึ่งนั่นแล เพราะได้ฟังธรรมกถาหน่อยหนึ่ง
ซึ่งประกอบด้วยไตรสิกขา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตรผู้นั่ง
อยู่แล้ว ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล.
ถามว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแล้วอย่างไร ?
แก้ว่า ได้มีว่า ด้วยอาการใด ๆ แล ( เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว) ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า ยถา เป็นต้นนั้น มีการกล่าวโดยสังเขปดังต่อไปนี้:- เรา
แลจะรู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอาการใด ๆ, ความ
รำพึงอย่างนี้ ย่อมมีแก่เรา ผู้ใคร่ครวญอยู่ด้วยอาการนั้น ๆ , พรหมจรรย์คือ
ไตรสิกขา ชื่อว่าอันบุคคล (ผู้อยู่ครองเรือน) จะพึงประพฤติให้บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว เพราะจะต้องทำมิให้ขาดเป็นท่อน แม้ตลอดวันหนึ่ง แล้วพึงให้ลุถึง
จริมกจิต1 ( คือจิตที่เคลื่อนจากภพ) และชื่อว่าอันบุคคล ( ผู้ยังอยู่ครองเรือน)
จะพึงประพฤติให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เพราะจะต้องทำมิให้เศร้าหมอง ด้วย
มลทินคือกิเลสแม้ตลอดวันหนึ่ง แล้วพึงให้ลุถึง จริมกจิต2 (คือจิตที่เคลื่อน
จากภพ).
บทว่า สงฺขลิขิตํ ความว่า จะพึงปฏิบัติให้เป็นดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว
คือให้มีส่วนเปรียบด้วยสังข์ที่ชำระล้างแล้ว.
หลายบทว่า อิทํ น สุกรํ อคารํ อชฺณาวสตา ความว่า อัน
บุคคลผู้ยังอยู่ในท่ามกลางแห่งเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์นี้ให้บริบูรณ์โดย
ส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว เป็นของทำไม่ได้
1-2. จริมกจิต หมายถึง จุติจิต คือจิตเคลื่อนจากภพ หมายถึงจนดับชีวิต. ในฎีกาสารัตถทีปนี
2/4.

ง่าย ไฉนหนอ ! เราจะพึงปลงผมและหนวด ครองคือนุ่งห่มผ้ากาสาวะ เพราะ
เป็นของย้อมแล้วด้วยรสแห่งน้ำฝาด อันเป็นของสมควรแก่บรรพชิต ผู้ประ-
พฤติพรหมจรรย์ แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ก็เพราะกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
เรือน ท่านเรียกว่า อคาริยะ ในบทว่า อนคาริยํ นี้. และกสิกรรมพา-
ณิชยกรรมเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มีในบรรพชา เพราะเหตุนั้น บรรพชาบัณฑิต
พึงรู้ว่า อนคาริยา. ซึ่งการบรรพชาที่ไม่มีเรือนนั้น.
บทว่า ปพฺพเชยฺยํ แปลว่า พึงเข้าถึง.

[สุทินน์กลันทบุตรทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้า]


หลายบทว่า อจิรวุฏฺฐิตาย ปริสาย เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
ความว่า สุทินน์ เมื่อบริษัทยังไม่ลุกไป ก็ยังไม่ได้ทูลขอบรรพชากะพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. เพราะเหตุไร ? เพราะในบริษัทนั้น ญาติสาโลหิต มิตรและ
อำมาตย์ของสุทินน์นั้น มีอยู่มาก, พวกญาติเป็นต้นเหล่านั้น จะพึงพูดว่า
ท่านเป็นบุตรน้อยคนเดียวของมารดาบิดา, ท่านไม่ได้เพื่อจะบวช ดังนี้แล้ว
พึงจับแม้ที่แขนฉุดออกไป, ในเวลานั้น สุทินน์ คิดว่า อันตราย จักมีแก่
บรรพชา จึงลุกขึ้นเดินไปได้หน่อยหนึ่ง พร้อมกับบริษัทนั่นเอง แล้วหวน
กลับมาอีก ด้วยการอ้างเลศแห่งสรีรกิจบางอย่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วทูลของบรรพชา. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ครั้ง
นั้นแล สุทินน์กลันทบุตร เมื่อบริษัทลุกไปแล้วไม่นานนักก็เข้าเฝ้า โดยทางที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่, ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า นั่งอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. สุทินน์กลันทบุตร นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ