เมนู

สองบทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ความว่า ด้วยกิจบางอย่างมี
ประกอบการซื้อขายสินค้า การให้กู้ยืม และการทวงหนี้เป็นต้น. อาจารย์
บางพวก กล่าวว่า ด้วยกิจคือการเล่นกีฬาอันเป็นนักขัตฤกษ์ในเดือนกัตติกมาส
(คือเดือน 12) ดังนี้บ้าง.จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปถึงนครไพศาลี
ในชุณหปักข์ (ข้างขึ้น) แห่งเดือนกัตติมาส. อนึ่ง ในนครไพศาลีนี้ มีการเล่น
กีฬาอันเป็นนักขัตฤกษ์ประจำเดือนกัตติกมาสอย่างโอฬาร, สุทินน์กลันทบุตร
นั้น พึงทราบว่า ไป (ยังนครไพศาลี) เพื่อเล่นกีฬานักขัตฤกษ์นั้น.

[สุทินน์กลันทบุตรไปเพื่อฟังธรรม]


บทว่า อทฺทสา โข ความว่า สุทินน์กลันทบุตรนั้น ได้เห็นอย่างไร ?
ได้เห็นอย่างนี้คือ :- ได้ยินว่า สุทินน์นั้น ได้เห็นมหาชนผู้บริโภคอาหารเช้า
เสร็จแล้วห่มผ้าขาว มีมือถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจาก
พระนครไป เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้าและเพื่อฟังธรรม จึงถามว่า พวกท่านจะไป
ที่ไหนกัน.
มหาชน ตอบว่า จะไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า และเพื่อฟังธรรม.
สุทินน์ กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น แม้ข้าพเจ้าก็จะไป แล้วไปได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันบริษัททั้ง 4 แวดล้อมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ ด้วย
พระสุรเสียงอันไพเราะดังเสียงพรหม. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ
จึงได้กล่าวไว้ว่า สุทินน์กลันทบุตร ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อัน
บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่.
บทว่า ทิสฺวานสฺส ตัดบทเป็น ทิสฺวาน อสฺส แปลว่า เพราะ
ได้เห็น (ความรำพึงนี้ได้มี) แก่เขา.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแก่สุทินน์ ผู้เป็น
ภัพกุลบุตร (กุลบุตรผู้ควรตรัสรู้) ผู้อันปุพเพกตปุญญตาตักเตือนอยู่.
ถามว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแล้วอย่างไร ?
แก้ว่า ได้มีว่า ไฉนหนอ เราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยนฺนูน นั้นเป็นบทแสดงถึงความรำพึง.
ได้ยินว่า สุทินน์นั้น ได้เกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า บริษัทนี้มีจิต
ดิ่งลงเป็นหนึ่ง ฟังธรรมใดอยู่, โอหนอ ! แม้เราก็พึงฟังธรรมนั้น.
หากจะมีอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ในคำว่า ครั้งนั้นแล สุทินน์กลันทบุตร
เข้าไปโดยทางบริษัทนั้น นี้ เพราะเหตุไร ท่านพระอุบาลีเถระ จึงไม่กล่าว
ไว้ว่า เข้าไปเฝ้าโดยทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แต่กลับกล่าวว่า
เข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่ ?
เฉลยว่า จริงอยู่ บริษัทหมู่ใหญ่ มีเหล่าชนผู้หรูหรา นั่งห้อมล้อม
พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว, สุทินน์กลันทบุตรนี้ มาภายหลังเขา ไม่สามารถ
จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในบริษัทนั้นได้, แต่ก็สามารถจะเข้าไปนั่ง
ในที่แห่งหนึ่งใกล้บริษัทได้, เพราะฉะนั้น สุทินน์กลันทบุตรนั้น ก็เข้าไปหา
บริษัทนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า ครั้งนั้นแล
สุทินน์กลันทบุตรเข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่*.

[สุทินน์กลันทบุตรได้ฟังธรรมแล้วคิดจะบวช]


หลายบทว่า เอกมนฺตํ นิสินฺนสฺส โข สุทินฺนสฺส กลนฺท-
ปุตฺตสฺส เอตทโหสิ
ความว่า ความรำพึงนี้ หาได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร
ผู้สักว่านั่งแล้วเท่านั้นไม่, โดยที่แท้ ก็ความรำพึงนั้น ได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร
* วิ. มหา. 1/19.