เมนู

เป็นที่สุด และอัศจรรย์ทั้งหลายเป็นอันมากก็ได้ปรากฏมีแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
สังคีติใดในโลก
ท่านเรียกว่า ปัญจสตาสังคีติ เพราะ
พระธรรมสังคาหกเถระ 500 รูปทำ, และ
เรียกว่า เถริกาสังคีติ เพราะพระเถระ
ทั้งหลายนั่นแลทำแล้ว

สังคีตินี้ ชื่อปฐมมหาสังคีติ ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อปฐมมหาสังคีตินี้เป็นไปอยู่ ท่านพระมหากัสสป เมื่อจะถามถึง
พระวินัย (กะท่านพระอุบาลีเถระ) จึงถามถึงนิทาน ที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ ว่า
ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้าง ดังนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่
สุดแห่งคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส อุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว ณ ที่ไหน ? เป็นต้น คำนิทานนั้นท่านพระ
อุบาลีเถระ ประสงค์จะให้พิสดารตั้งแต่ต้น แล้วกล่าวถึงบุคคลเป็นต้น ที่บัญญัติ
ิวินัยปิฎก และเหตุที่บัญญัตินั่นแหละทั้งหมด จึงกล่าวไว้แล้ว.

[อธิบายความเริ่มต้นแห่งนิทานวินัย]


คำนิทาน (คำเริ่มต้น) ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ
วิรติ*
เป็นอาทิ บัณฑิตควรกล่าวไว้ทั้งหมด, เพราะคำเริ่มต้นนี้ ท่าน
พระอุบาลีเถระกล่าวไว้อย่างนี้. ก็แลคำเริ่มต้นนั้น บัณฑิตควรทราบว่า ท่าน
พระอุบาลีเถระกล่าวไว้แล้วในคราวกระทำสังคายนาใหญ่ครั้งแรก. ก็ใจความ
แห่งบทนี้ว่า ก็คำนี้ใครกล่าวและกล่าวในกาลไหน เป็นต้น เป็นอันข้าพเจ้า
ประกาศแล้ว ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้. บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยใน
บทว่า กล่าวไว้เพราะเหตุไร นี้ต่อไป : -
1. วิ. มหา. 1/1

เพราะท่านพระอุบาลีนี้ ถูกพระมหากัสสปเถระถามถึงนิทานแล้ว
ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวนิทานนั้นให้พิสดารแล้วตั้งแต่ต้น ด้วยประการฉะนี้.
คำเริ่มต้นนี้ บัณฑิตควรทราบว่า ท่านพระอุบาลีเถระ แม้เมื่อกล่าวในคราวทำ
สังคายนาใหญ่ครั้งแรกก็ได้กล่าวแล้วเพราะเหตุนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็ใจความ
แห่งบทมาติกาเหล่านี้ว่า วุตฺตํ เยน ยทา ยสฺมา ดังนี้ เป็นอันข้าพเจ้า
ประกาศแล้ว ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้.
บัดนี้ เพื่อจะประกาศเนื้อความ แห่งบทมาติกาเหล่านี้ว่า ธาริตํ เยน
จาภฏํ ยตฺถ ปติฏฺฐิตญฺเจตเมตํ วตฺวา วิธึ
บัณฑิตจึงกล่าวคำนี้ไว้.
[พระมหาเถระมีพระอุบาลีเป็นต้นนำพระวินัยปิฎกสืบต่อมา]
ถามว่า ก็พระวินัยปิฎกนี้นั้น ซึ่งมีนิทานประดับด้วยคำมีอาทิอย่างนี้
ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชายํ วิหรติ ดังนี้ ใครทรงไว้ ?
ใครนำสืบมา ? (และ) ตั้งมั่นอยู่แล้วในบุคคลไหน ? ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป : -
พระวินัยปิฎกนี้ ท่านพระอุบาลีเถระจำทรงไว้ ต่อพระพักตร์ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเบื้องต้นก่อน. เมื่อพระตถาคตเจ้ายังไม่ปรินิพพาน
นั่นแล ภิกษุหลายพันรูป ต่างโดยได้อภิญญา 6 เป็นต้น จำทรงไว้ต่อจากท่าน
พระอุบาลีเถระนั้น เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระ
ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปเป็นประมุข ก็จำทรงกันต่อมา.
บทมาติกาว่า เกนาภฏํ นี้ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป : -
ในชมพูทวีปก่อน พระวินัยนั่น นำสืบต่อมาโดยลำดับแห่งอาจารย์
ตั้งแต่ต้นแต่พระอุบาลีเถระ จนถึงสังคายนาครั้งที่ 3 ในชมพูทวีปนั้นมีลำดับ
อาจารย์ดังต่อไปนี้ : -

พระเถระ 5 องค์เหล่านี้คือ พระ-
อุบาลี 1 พระทาสกะ 1 พระโสณกะ 1
พระสิคควะ 1 พระโมคคลีบุตรติสสะ 1
ผู้มีชัยชนะพิเศษได้นำพระวินัยมาโดยลำดับ
ไม่ให้ขาดสาย ในสิริชมพูทวีป (ในทวีป
ชื่อชมพูอันเป็นสิริ) จนถึงสังคายนาครั้งที่ 3.

[พระอุบาลีเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากพุทธสำนัก]


ความพิสดารว่า ท่านพระอุบาลีเรียนเอาวงศ์ ระเบียบประเพณี
พระวินัย ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วให้ตั้งอยู่ในหทัยของภิกษุ
เป็นอันมาก. จริงอยู่ บรรดาบุคคลผู้เรียนเอาวินัยวงศ์ ในสำนักของท่านนั้น
แล้วถึงความเป็นผู้ฉลาดสามารถในพระวินัย ผู้ที่เป็นปุถุชน พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามี กำหนดนับไม่ถ้วน ที่เป็นพระขีณาสพ
ได้มีจำนวน 1,000 รูป

[พระทาสกเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากสำนักพระอุบาลีเถระ]


ฝ่ายพระทาสกเถระ ได้เป็นสัทธิวิหาริกของพระบาลีเถระนั้นนั่นเอง
ท่านได้เรียนเอา (พระวินัย) ต่อจากพระอุบาลีเถระ แล้วก็บอกสอนพระวินัย
(แก่ภิกษุเป็นอันมาก) เหมือนอย่างนั้น. ปุถุชนเป็นต้นผู้เรียนเอา (พระวินัย)
ในสำนักของพระเถระแม้นั้น แล้วถึงความเป็นผู้ฉลาดสามารถในพระวินัย
กำหนดนับไม่ถ้วน ที่เป็นพระขีณาสพได้มีจำนวนถึง 1,000 รูป.

[พระโสณกเถระเรียนพระวินัยปิฎกจากสำนักพระทาสกเถระ]


ส่วนพระโสณกเถระ ได้เป็นสัทธิวิหาริกของพระทาสกเถระ. แม้ท่าน
ก็เรียนเอา (พระวินัย) ต่อจากพระทาสกเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของตน