เมนู

พระสุตตปิฎก เพราะสมาธิเป็นข้าศึกต่อปริยุฏฐานกิเลส, ความละอนุสัยกิเลส
ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นข้าศึกต่ออนุสัยกิเลส, อนึ่ง
การละกิเลสทั้งหลายด้วยองค์นั้น ๆ ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละด้วย
การข่มไว้และตัดขาด ท่านกล่าวไว้ใน 2 ปิฎกนอนกนี้, หนึ่ง การละสังกิเลส
คือทุจริต ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิ ท่าน
กล่าวไว้ใน 2 ปิฎกนอกนี้, ก็บัณฑิตพึงทราบความที่พระพุทธพจน์เป็นคุณลึกซึ้ง
โดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธทั้ง 4 อย่าง ในปิฎก
ทั้ง 3 นี้ แต่ละอย่าง ๆ.

[อธิบายคัมภีรภาพ 4 อย่าง]


บรรดาคัมภีรภาพทั้ง 4 นั้น พระบาลี ชื่อว่าธรรม. เนื้อความแห่ง
พระบาลีนั้นนั่นแล ชื่อว่าอรรถ. การแสดงพระบาลีนั้นที่กำหนดไว้ด้วยใจนั้น
ชื่อว่าเทศนา. การหยั่งรู้พระบาลีและอรรณแห่งพระบาลีตามเป็นจริง ชื่อว่า
ปฏิเวธ. ก็เพราะในปิฎกทั้ง 3 นี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้
อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลายหยั่งลงได้ยากและมีที่ตั้งอาศัยที่พวกเขาไม่พึง
ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้นหยั่งลงได้ยากฉะนั้น,
เพราะฉะนั้น จึงจัดว่าเป็นคุณลึกซึ้ง. ก็แลบัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพทั้ง 4
ในปิฏกทั้ง 3 นี้ แต่ละปิฎก ด้วยประการฉะนี้.

[อธิบายคัมภีรภาพอีกนัยหนึ่ง]


อีกอย่างหนึ่ง เหตุ ชื่อว่าธรรม, สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในเหตุ ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา.1 ผลแห่งเหตุ
ชื่อว่าอรรถ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ว่า ความรู้ในผล
แห่งเหตุ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา2. บัญญัติ อธิบายว่า การเทศนาธรรมตาม
ธรรม ชื่อว่าเทศนา. การตรัสรู้ชื่อว่าปฏิเวธ. ก็ปฏิเวธนั้นเป็นทั้งโลกิยะและ
โลกุตระ คือความรู้รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ ในอรรถตามสมควร
แก่ธรรม ในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยวิสัยและโดยความไม่
งมงาย3.
บัดนี้ ควรทราบคัมภีร์ทั้ง 4 ประการ ในปิฎกทั้ง 3 นี้ แต่ละ
ปิฎก เพราะเหตุที่ธรรมชาตหรืออรรถชาตใด ๆ ก็ดี อรรถที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงให้ทราบย่อมเป็นอรรถมีหน้าเฉพาะต่อญาณของนักศึกษาทั้งหลาย
ด้วยประการใด ๆ เทศนาอันส่องอรรถนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้น ๆ นี้ใด
ก็ดี ปฏิเวธคือความหยั่งรู้ไม่วิปริตในธรรม อรรถและเทศนานี้ใดก็ดี ใน
ปิฎกเหล่านี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธทั้งหมดนี้ อันบุคคลผู้มี
ปัญญาทรามทั้งหลาย มิใช่ผู้มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้ พึงหยั่งถึงได้ยากและ
ที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งถึงได้ยาก
ฉะนั้น. ก็พระคาถานี้ว่า
บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา
ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ
ในปิฎกเหล่านั้นตามสมควร ดังนี้

1-2 อภิ. วิ. 35/399. 3. สารตฺถทีปนี. 1/122. อธิบายว่า ในความตรัสรู้ เป็นโลกิยะ
และโลกุตระนั้น ความหยั่งรู้เป็นโลกิยะ มีธรรมมีอวิชชาเป็นต้นเป็นอารมณ์ มีสังขารมีอรรถ
เป็นต้นเป็นอารมณ์ มีการให้เข้าใจธรรมและอรรถทั้งสองนั้นเป็นอารมณ์ ชื่อว่าความรู้รวมลงใน
ธรรมเป็นต้น ตามสมควรแก่อรรถเป็นต้นโดยวิสัย. ส่วนความตรัสรู้เป็นโลกุตระนั้นมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ สัมปยุตด้วยมรรคมีการกำจัดความงมงายในธรรม อรรถและบัญญัติตามที่กล่าวแล้ว
ชื่อว่าความรู้รวมลงในธรรมเป็นต้นตามสมควรแก่อรรถเป็นต้น โดยความไม่งมงาย.

เป็นอันข้าพเจ้าขยายความแล้ว ด้วยคำเพียงเท่านี้
ส่วนในพระคาถานี้ว่า
ภิกษุย่อมถึงความต่างแห่งปริยัติก็ดี
สมบัติและวิบัติก็ดี อันใด ในปิฎกใดมีวินัย
ปิฎกเป็นต้น โดยประการใด บัณฑิตพึง
ประกาศความต่างแห่งปริยัติเป็นต้น แม้นั้น
ทั้งหมด โดยประการนั้น ดังนี้.

บัณฑิตพึงเห็นความต่างแห่งปริยัติ 3 อย่าง ใน 3 ปิฎกดังนี้ :-

[ปริยัติ 3 อย่าง]


จริงอยู่ ปริยัติ 3 คือ อลคัททูปมาปริยัติ 1 นิสสรณัตถปริยัติ 1
ภัณฑาคาริยปริยัติ* 1 ในปริยัติ 3 อย่างนั้น ปริยัติใด อันบุคคลเรียนไม่ดี
คือเรียนเพราะเหตุมีการโต้แย้งเป็นต้น, ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติเปรียบด้วยงูพิษ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่
พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือแขน หรือที่
อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย
ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ
งูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัย
นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ พวกเขาครั้นเรียน
* วินยฏฺฐกถา หน้า 24 เป็น ภัณฑาคาริกปริยัติ.