เมนู

พระสุตตปิฎก เพราะสมาธิเป็นข้าศึกต่อปริยุฏฐานกิเลส, ความละอนุสัยกิเลส
ท่านกล่าวไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นข้าศึกต่ออนุสัยกิเลส, อนึ่ง
การละกิเลสทั้งหลายด้วยองค์นั้น ๆ ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละด้วย
การข่มไว้และตัดขาด ท่านกล่าวไว้ใน 2 ปิฎกนอนกนี้, หนึ่ง การละสังกิเลส
คือทุจริต ท่านกล่าวไว้ในปิฎกที่หนึ่ง, การละกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิ ท่าน
กล่าวไว้ใน 2 ปิฎกนอกนี้, ก็บัณฑิตพึงทราบความที่พระพุทธพจน์เป็นคุณลึกซึ้ง
โดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธทั้ง 4 อย่าง ในปิฎก
ทั้ง 3 นี้ แต่ละอย่าง ๆ.

[อธิบายคัมภีรภาพ 4 อย่าง]


บรรดาคัมภีรภาพทั้ง 4 นั้น พระบาลี ชื่อว่าธรรม. เนื้อความแห่ง
พระบาลีนั้นนั่นแล ชื่อว่าอรรถ. การแสดงพระบาลีนั้นที่กำหนดไว้ด้วยใจนั้น
ชื่อว่าเทศนา. การหยั่งรู้พระบาลีและอรรณแห่งพระบาลีตามเป็นจริง ชื่อว่า
ปฏิเวธ. ก็เพราะในปิฎกทั้ง 3 นี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้
อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลายหยั่งลงได้ยากและมีที่ตั้งอาศัยที่พวกเขาไม่พึง
ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้นหยั่งลงได้ยากฉะนั้น,
เพราะฉะนั้น จึงจัดว่าเป็นคุณลึกซึ้ง. ก็แลบัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพทั้ง 4
ในปิฏกทั้ง 3 นี้ แต่ละปิฎก ด้วยประการฉะนี้.

[อธิบายคัมภีรภาพอีกนัยหนึ่ง]


อีกอย่างหนึ่ง เหตุ ชื่อว่าธรรม, สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มี-