เมนู

[

คำสวดสมมติปุจฉาวิสัชนาพระสูตร

]
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้
ข้าเจ้าพึงถามพระธรรมกะท่านพระอานนท์.1
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้
ข้าพเจ้าอันพระมหากัสสปถามแล้วพึงวิสัชนา 2 พระธรรม
[

ปุจฉาและวิสัชนาพระสูตร

]
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวรเฉวียงบ่า ไหว้
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมสาสน์จับพัดวีชนีอันขจิตด้วยงา. พระมหา-
กัสสปะเถระ ถามพระธรรมกะพระอานนทเถระว่า อานนท์ผู้มีอายุ ! พรหมชาล-
สูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน ?
พระอานนท์. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตรัสที่พระตำหนักหลวงในพระราช
อุทยานชื่ออัมพลัฏฐิกา ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อกัน
พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ?
พระอานนท์. ทรงปรารภสุปปิยปริพาชก และพรหมทัตตมานพ.
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานบ้าง บุคคลบ้าง
แห่งพรหมชาลสูตร.
พระมหากัสสป. ท่านอานนท์ผู้มีอายุ ! ก็สามัญญผลสูตร พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัส ณ ที่ไหน
1-2. วิ. จุลฺ. 7 / 384

พระอานนท์. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ตรัส ณ ที่สวนอัมพวันของหมอชีวก
ใกล้กรุงราชคฤห์.
พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ?
พระอานนท์. ทรงปรารภพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ถึงนิทานบ้าง
บุคคลบ้าง แห่งสามัญญผลสูตร. ถามนิกายทั้ง 5 โดยอุบายนี้นั่น* แล
[

นิกาย 5

]
ที่ชื่อว่านิกาย 5 คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตร-
นิกาย ขุททกนิกาย. บรรดานิกายเหล่านั้น พระพุทธพจน์ที่เหลือยกเว้น 4
นิกายเสีย ชื่อว่าขุททกนิกาย. ในขุททกนิกายนั้น พระวินัย ท่านอุบาลีเถระ
ได้วิสัชนาแล้ว. ขุททกนิกายที่เหลือ และอีก 4 นิกาย พระอานนทเถระวิสัชนา.
[

พระพุทธพจน์มีจำนวนต่าง ๆ กัน

]
พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมดนี้นั้น พึงทราบว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรส
มี 2 อย่าง ด้วยอำนาจธรรมและวินัย มี 3 อย่าง ด้วยอำนาจปฐมะ มัชฌิมะ
ปัจฉิมะ อนึ่ง มี 3 อย่าง ด้วยอำนาจปิฎก มี 5 อย่าง ด้วยอำนาจนิกาย มี 9
อย่าง ด้วยอำนาจองค์ มี 84,000 อย่าง ด้วยอำนาจพระธรรมขันธ์.
[

พระพุทธพจน์มีอย่างเดียว

]
พระพุทธพจน์ ชื่อว่ามีอย่างเดียว ด้วยอำนาจรสอย่างไร ? คือ ตาม
ความเป็นจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณจนถึง
* วิ. จุลฺ. 7 / 384 - 385.