เมนู

ในคำว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา พหุกิจฺจา ฆราวาส นั้นมีการ
ประกอบความดังต่อไปนี้:- พราหมณี เมื่อจะตำหนิการอยู่ครองเรือน จึงได้
กราบทูลว่า เพราะการอยู่ครองเรือนมีกิจมาก ฉะนั้น ภายในไตรมาสนี้ เมื่อ
ไทยธรรม และความประสงค์จะถวายแม้มีอยู่ พระองค์พึงได้ไทยธรรมที่ข้าพเจ้า
จะพึงถวายแก่พระองค์แต่ที่ไหน คือพระองค์อาจได้ไทยธรรมนั้น จากที่ไหน
ได้ยินว่า เวรัญชพราหมณ์นั้น ย่อมไม่รู้ความที่ตนถูกมารดลใจ จึงได้สำคัญว่า
เราเกิดเป็นผู้มีสติหลงลืม เพราะกังวลอยู่ ด้วยการครองเรือน. เพราะฉะนั้น
พราหมณ์จึงได้กราบทูลอย่างนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา นี้ พึงทราบการ
ประกอบความอย่างนี้ว่า ภายในไตรมาสนี้ ข้าพเจ้าจะพึงถวายไทยธรรมอันใด
แด่พระองค์ ไทยธรรมอันนั้น ข้าพเจ้าจะพึงได้จากไหน ? เพราะว่า การอยู่
ครองเรือนมีกิจมาก.

[เวรัญชพราหมณ์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยภัตตาหาร]


ครั้งนั้น พราหมณ์ดำริว่า ไฉนหนอ ไทยธรรมอันใด เป็นของอัน
เราจะพึงถวาย โดย 3 เดือน เราควรถวายไทยธรรมอันนั้นทั้งหมด โดย
วันเดียวเท่านั้น แล้ว จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ ทรง
พระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพเจ้าเถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฺวาตนาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่
บุญกุศล และปีติปราโมทย์ซึ่งจะมีในวันพรุ่งนี้ ในเมื่อข้าพเจ้าได้กระทำ
สักการะในพระองค์.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำอาราธนาของพราหมณ์]


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตถาคต ทรงพระรำพึงว่า ถ้าเราจะ
ไม่รับคำอาราธนาไซร้ พราหมณ์และชาวเมืองเวรัญชา จะพึงติเตียน อย่างนี้