เมนู

อันพระศาสดาผู้จะบัญญัติ ควรบัญญัติ. ฝ่ายชนเหล่าอื่นไม่เห็นวีติกกมโทษ
แต่รู้พระบัญญัตินี้ จะพึงยังความค่อนขอด ความคัดค้านและความติเตียนให้
เป็นไปอย่างนี้ว่า นี่อย่างไรกัน พระสมณโคดมจักผูกมัดด้วยสิกขาบททั้งหลาย
จักบัญญัติปาราชิก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า ภิกษุสงฆ์ยอมตามเรา ทำตามคำ
ของเรา กุลบุตรเหล่านี้ละกองโภคะใหญ่ละเครือญาติใหญ่ และละแม้ซึ่งราช-
สมบัติอันอยู่ในเงื้อมมือบวช เป็นผู้สันโดษด้วยความเป็นผู้มีอาหารและเครื่อง
นุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง มีความเคารพจัดในสิกขา ไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิตอยู่
มิใช่หรือ ในกุลบุตรเหล่านั้น ใครเล่า จักเสพเมถุนซึ่งเป็นโลกามิสหรือจัก
ลักของ ๆ ผู้อื่น หรือจักเข้าไปตัดชีวิตของผู้อื่น ซึ่งเป็นของปรารถนารักใคร่
หวานยิ่งนัก หรือจักสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอวดคุณที่ไม่มี, เมื่อปาราชิกแม้
ไม่ทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั่นเป็นอันพระองค์ทรงทำให้ปรากฏแล้ว โดยสังเขป
ในบรรพชานั่นเอง มิใช่หรือ ? ชนทั้งหลายไม่ทราบเรี่ยวแรง และกำลังแม้
แห่งพระตถาคต, สิขาบทแม้ที่ทรงบัญญัติไว้ จะพึงกำเริบ คือไม่คงอยู่ใน
สถานเดิม.

[เปรียบด้วยแพทย์ผู้ไม่ฉลาดทำการผ่าตัด]


แพทย์ผู้ไม่ฉลาด เรียกบุรุษบางคน ซึ่งหัวฝียังไม่เกิดขึ้นมาแล้ว
บอกว่า มานี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ ! หัวฝีใหญ่จักเกิดขึ้นในสรีระประเทศตรงนี้
ของท่าน, จักยังความเสื่อมฉิบหายให้มาถึงท่าน, ท่านจงรีบให้หมอเยียวยามัน
เสียเถิด ดังนี้ ผู้อันบุรุษนั้นกล่าวว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ! ท่านนั่นแหละจง
เยียวยามันเถิด จึงผ่าสรีรประเทศซึ่งหาโรคมิได้ของบุรุษนั้น คัดเลือดออกแล้ว
ทำสรีรประเทศตรงนั้นให้กลับมีผิวดีด้วยยาทาและพอก และการชะล้างเป็นต้น
แล้ว จึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า โรคใหญ่ของท่าน เราได้เยียวยาแล้ว ท่านจง

ให้บำเหน็จแก่เรา. บุรุษนั้น พึงค่อนขอด พึงคัดค้าน และพึงติเตียนนายแพทย์
อย่างนี้ว่า หมอโง่นี้พูดอะไร ได้ยินว่าโรคชนิดไหนของเรา ซึ่งหมอโง่นี้ได้
เยียวยาแล้ว, หมอโง่นี้ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา และทำให้เราต้องเสียเลือดไป
มิใช่หรือ ดังนี้ และไม่พึงรู้คุณของหมอนั้น ข้อนี้ ชื่อแม้ฉันใด, ถ้าเมื่อ
วีติกกมโทษยังไม่เกิดขึ้น พระศาสดา พึงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกไซร้
พระองค์ไม่พึงพ้นจากอนิฏฐผล มีความค่อนขอดของผู้อื่นเป็นต้น และชน
ทั้งหลายจะไม่พึงรู้กำลังพระปรีชาสามารถของพระองค์ ฉันนั้นนั่นแล และ
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว จะพึงกำเริบ คือไม่ตั้งอยู่ในสถานเดิม. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ตาว สารีปุตฺต สตฺถา สาวภานํ
ฯ เป ฯ ปาตุภวนฺติ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลอันไม่ควร
อย่างนี้แล้ว จึงตรัสคำว่า ยโต จ โข สารีปุตฺต เป็นอาทิ เพื่อแสดงกาลอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต คือเมื่อใด มีคำอธิบายว่า ในกาลใด.
คำที่เหลือ พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล.*
อีกนัยหนึ่ง ในคำว่า ยโต เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-
วีติกกมโทษอันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ ย่อมมีปรากฏในสงฆ์
ในกาลชื่อใด, ในกาลนั้น พระศาสนา ย่อมทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวก
ย่อมทรงแสดงปาฏิโมกข์, เพราะเหตุไร ? เพราะเพื่อกำจัดวีติกกมโทษเหล่านั้น
นั่นแล อันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงบัญญัติอย่างนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ควรค่อนขอดเป็นต้น และเป็นผู้มี
อานุภาพปรากฏ ในสัพพัญญูวิสัยของพระองค์ ย่อมถึงสักการะ และสิกขาบท
ของพระองค์นั้นย่อมไม่กำเริบ คือตั้งอยู่ในสถานเดิม, เปรียบเหมือนนายแพทย์
ผู้ฉลาดเยียวยาหัวฝีที่เกิดขึ้นแล้วด้วยการผ่าตัดพอกยาพันแผลและชะล้างเป็นต้น

ทำให้สบายมีผิวดี เป็นผู้ไม่ควรค่อนขอดเป็นต้นเลย และเป็นผู้มีอานุภาพ
ปรากฏในเพราะกรรมแห่งอาจารย์ของตน ย่อมประสบสักการะฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความเกิดขึ้น และความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมเป็นที่ตั้งของอาสวะ อกาลและกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงกาลยังไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นแล
จึงตรัสคำว่า น ตาว สารปุตฺต อิเธกจฺเจ เป็นต้น. ในคำว่า ตาว
เป็นต้นนั้น บททั้งหลายที่มีอรรถตื้น พึงทราบด้วยอำนาจพระบาลีนั่นแล.
ส่วยการพรรณนาบทที่ไม่ตื้นดังต่อไปนี้ :-

[อธิบายเหตุที่ให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]


ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า รัตตัญญู เพราะอรรถว่า รู้ราตรีนาน คือ
รู้ราตรีเป็นอันมากตั้งแต่วันที่ตนบวชมา, มีอธิบายว่า บวชมานาน. ความ
เป็นหมู่ด้วยพวกภิกษุผู้รู้ราตรีนาน ชื่อว่า รัตตัญญุมหัตตะ. อธิบายว่า
ความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยพวกภิกษุผู้บวชมานาน.
*บัณฑิตพึงทราบว่า สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ
พระอุปเสนวังคันตบุตรบัญญัติ เพราะสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยภิกษุผู้รู้
ราตรีนาน ในบรรดาความเป็นหมู่ใหญ่เหล่านั้น, จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนั้น
ได้เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีพรรษาหย่อนสิบให้อุปสมบทอยู่ ตนมีพรรษาเดียว
จึงให้สัทธิวิหาริกอุปสมบทบ้าง. ครั้งนั้นแล พระผู้พระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิขาบทว่า ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรอันภิกษุผู้มีพรรษาหย่อนสิบ ไม่พึงให้
อุปสมบท, ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุนั้น1 เมื่อสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบสนามหลวง พ.ศ. 2482-85
1 วิ. มหา. 4 / 109.