เมนู

ตถาคโตว นั้น มีโยชนาดังต่อไปนี้ :- ในคำที่เธอกล่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงบัญญัติสิกขาบทนั้น พระตถาคตเท่านั้นจักรู้กาลแห่งอันบัญญัติ
สิกขาบทนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงสมัยมิใช่
กาลก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว สารีปุตฺต ดังนี้. ในคำว่า น ตาว
สารีปุตฺต
เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยว่า อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้
เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมทั้งหลายอันอาสวะพึงตั้งอยู่ คือไม่พึงผ่านเลยไป เพราะเหตุนั้น ธรรม
เหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อธิบายว่า อาสวะคือทุกข์ และอาสวะ
คือกิเลส อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและในสัมปรายภพ อาสวะมีการค่อนขอด
ของคนอื่น ความวิปฏิสาร การฆ่าและการจองจำเป็นต้น และอาสวะอันเป็น
ทุกข์พิเศษในอบาย ย่อมตั้งอยู่นั่นเทียว ในวิติกกมธรรมเหล่าใด เพราะ
วีติกกมธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุแห่งอาสวะมีอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม
เป็นต้นเหล่านั้น.
* วาจาสำหรับประกอบในคำว่า น ตาว เป็นต้นนี้ ดังนี้ว่า วีตกกมธรรม
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยังไม่มีปรากฏในสงฆ์เสียงใด
พระศาสดาจะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเพียงนั้น. ก็ถ้าพึงบัญญัติ
ไซร้ ไม่พึงพ้นจากความค่อนขอดของผู้อื่น จากความคัดค้านของผู้อื่น จาก
โทษคือความติเตียน,

[ข้อที่จะถูกตำหนิในการบัญญัติสิกขาบท]


ถามว่า ไม่พึงพ้นอย่างไร ? ตอบว่า จริงอยู่ สิขาบททั้งปวงมี
อาทิว่า โย ปน ภิกฺขุ เมถุนํ ธมมํ ปฏิสเวยฺย ดังนี้ พึงเป็นสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2480

อันพระศาสดาผู้จะบัญญัติ ควรบัญญัติ. ฝ่ายชนเหล่าอื่นไม่เห็นวีติกกมโทษ
แต่รู้พระบัญญัตินี้ จะพึงยังความค่อนขอด ความคัดค้านและความติเตียนให้
เป็นไปอย่างนี้ว่า นี่อย่างไรกัน พระสมณโคดมจักผูกมัดด้วยสิกขาบททั้งหลาย
จักบัญญัติปาราชิก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า ภิกษุสงฆ์ยอมตามเรา ทำตามคำ
ของเรา กุลบุตรเหล่านี้ละกองโภคะใหญ่ละเครือญาติใหญ่ และละแม้ซึ่งราช-
สมบัติอันอยู่ในเงื้อมมือบวช เป็นผู้สันโดษด้วยความเป็นผู้มีอาหารและเครื่อง
นุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง มีความเคารพจัดในสิกขา ไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิตอยู่
มิใช่หรือ ในกุลบุตรเหล่านั้น ใครเล่า จักเสพเมถุนซึ่งเป็นโลกามิสหรือจัก
ลักของ ๆ ผู้อื่น หรือจักเข้าไปตัดชีวิตของผู้อื่น ซึ่งเป็นของปรารถนารักใคร่
หวานยิ่งนัก หรือจักสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอวดคุณที่ไม่มี, เมื่อปาราชิกแม้
ไม่ทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั่นเป็นอันพระองค์ทรงทำให้ปรากฏแล้ว โดยสังเขป
ในบรรพชานั่นเอง มิใช่หรือ ? ชนทั้งหลายไม่ทราบเรี่ยวแรง และกำลังแม้
แห่งพระตถาคต, สิขาบทแม้ที่ทรงบัญญัติไว้ จะพึงกำเริบ คือไม่คงอยู่ใน
สถานเดิม.

[เปรียบด้วยแพทย์ผู้ไม่ฉลาดทำการผ่าตัด]


แพทย์ผู้ไม่ฉลาด เรียกบุรุษบางคน ซึ่งหัวฝียังไม่เกิดขึ้นมาแล้ว
บอกว่า มานี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ ! หัวฝีใหญ่จักเกิดขึ้นในสรีระประเทศตรงนี้
ของท่าน, จักยังความเสื่อมฉิบหายให้มาถึงท่าน, ท่านจงรีบให้หมอเยียวยามัน
เสียเถิด ดังนี้ ผู้อันบุรุษนั้นกล่าวว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ! ท่านนั่นแหละจง
เยียวยามันเถิด จึงผ่าสรีรประเทศซึ่งหาโรคมิได้ของบุรุษนั้น คัดเลือดออกแล้ว
ทำสรีรประเทศตรงนั้นให้กลับมีผิวดีด้วยยาทาและพอก และการชะล้างเป็นต้น
แล้ว จึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า โรคใหญ่ของท่าน เราได้เยียวยาแล้ว ท่านจง