เมนู

นาน ในคำพยากรณ์นั้น บัณฑิตพึงทราบความดำรงอยู่นาน โดยเหตุทั้งสอง
คือโดยประมาณแห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นบ้าง โดยยุคแห่งตน
บ้าง. ความพิสดารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ มีพระชน-
มายุสี่หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมน์ มีพระชนมายุสาม
หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสป มีพระชนมายุสองหมื่นปี
แม้พระสาวกพร้อมหน้าทั้งหลายของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็มีอายุเท่านั้นปี
เหมือนกัน. และยุคแห่งสาวกเป็นอันมากของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จักพรหม-
จรรย์ให้เป็นไป โดยความสืบต่อกันมา. พรหมจรรย์ดำรงอยู่นานโดยเหตุทั้งสอง
คือโดยประมาณแห่งพระชนมายุ ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นบ้าง โดยยุคแห่ง
สาวกบ้าง ด้วยประการฉะนี้.

[เหตุที่พระพุทธเจ้าของเราเกิดในกาลแห่งคนมีอายุน้อย]


ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ควรจะเสด็จอุบัติขึ้นในกาลแห่งคน
มีอายุหมื่นปี ซึ่งเท่ากับอายุกึ่งหนึ่ง แห่งพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสป ไม่ถึงกาลแห่งคนมีอายุหมื่นปีนั้น ก็ควรจะเสด็จอุบัติขึ้น
ในกาลแห่งคนมีอายุห้าพันปี หรือในกาลแห่งคนมีอายุหนึ่งพันปี หรือแม้ใน
กาลแห่งคนมีอายุห้างร้อยปี แต่เพราะเมื่อพระองค์ทรงเสาะหา คือแสวงหาธรรม
อันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้า ทรงยังญาณให้แก่กล้า ให้ตั้งครรภ์ (เพื่อ
ตลอดคุณพิเศษ) ญาณได้ถึงความแก่กล้า ในกาลแห่งคนมีอายุร้อยปี เพราะ
ฉะนั้น พระองค์จึงเสด็จอุบัติขึ้น ในกาลแห่งคนมีอายุน้อยเหลือเกิน เพราะ
ฉะนั้น ควรกล่าวได้ว่า พรหมจรรย์แม้ดำรงอยู่ได้นาน ด้วยอำนาจความสืบต่อ
กันแห่งพระสาวกของพระองค์ แต่ก็ดำรงอยู่ได้ไม่นานโดยการนับปี ด้วยอำนาจ
ปริมาณแห่งอายุเหมือนกัน.

[พระสารีบุตรทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]


ถามว่า ในคำว่า อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต มีอะไรเป็น
อนุสนธิ. ตอบว่า คือ ท่านพระสารีบุตร ครั้นได้ฟังเหตุการณ์ดำรงอยู่นาน
แห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า 3 พระองค์อย่างนี้แล้ว ถึงความตกลงใจว่า
การบัญญัติสิกขาบทเท่านั้น เห็นเหตุแห่งความดำรงอยู่ได้นาน เมื่อปรารถนา
ความดำรงอยู่นาน แห่งพรหมจรรย์ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลวิงวอน
ขอการบัญญัติสิกขาบทกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระอุบาลีเถระกล่าว คำว่า
อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต อุฏฺฐายาสนา ฯเปฯ จิรฏฺฐิติก นี้
เพื่อแสดงวิธีทูลวิงวอนของการบัญญัติสิกขาบทนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อทฺธนิยํ คือ ควรแก่กาลนาน มีคำอธิบายว่า มีกาลยาวนาน. คำที่เหลือ
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตร
นั้นว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิ
ตฺวํ สารีปุตฺต
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อาคเมหิ ตฺวํ
ความว่า เธอจงรอก่อน มีคำอธิบายว่า เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ. ด้วยคำว่า อาคเมหิ
เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัย
ของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย
จึงตรัสคำว่า ตถาคโตว เป็นต้น. ก็ในคำว่า ตถาคโตว นี้ คำว่า ตตฺถ
เป็นสัตตมีวิภัตติ เพ่งถึงการอ้อนวอน ขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. ในคำว่า