เมนู

ส่วนพระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า เหตุการณ์แม้นั่น ก็เป็นของ
ไม่หนักแก่พระอัครสาวก ผู้ได้บรรลุที่สุดยอดแห่งปัญญา 16 อย่างเลย, ส่วน
การที่พระอัครสาวก ผู้อยู่ในสถานที่เดียวกันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำการ
วินิจฉัยเสียเอง ก็เป็นเช่นกับการทิ้งตราชั่งแล้วกลับชั่งด้วยมือ ; เพราะเหตุนั้น
พระเถระจึงเข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียทีเดียว. ถัดจากนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาคำทูลถามของพระเถระนั้น จึงตรัสพระดำรัส
มีอาทิว่า ภควโต จ สารีปุตฺต วิปสฺสิสฺส ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความตื้น
ทั้งนั้น.
พระเถระ เมื่อจะทูลถามถึงเหตุการณ์ต่อไปอีก จึงได้กราบทูลคำมี
อาทิว่า โก นุ โข ภนฺเต เหตุ (ที่แปลว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ พระเจ้าข้า!)
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โข ภนฺเต เป็นคำทูลถามถึง
เหตุการณ์. ใจความแห่งบทนั้นว่า เหตุเป็นไฉนหนอแล พระเจ้าข้า !
คำทั้งสองนี้คือ เหตุ ปจฺจโย เป็นชื่อแห่การณ์ จริงอยู่ การณ์
ท่านเรียกว่า เหตุ เพราะเป็นเครื่องไหลออก คือเป็นไปแห่งผลของการณ์นั้น.
เพราะผลอาศัยการณ์นั้นแล้วจึงดำเนิน คือจึงเป็นไปได้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
ปัจจัย. บทแม้ทั้งสองนี้ในที่นั้น ๆ แม้เป็นอันเดียวกันโดยใจความถ้อยคำ ดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น. คำที่เหลือในคำว่า โก นุ โข เป็นต้นนี้ ก็มีเนื้อความ
ตื้นทั้งนั้น.

[พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพราะบริษัทมีมากหรือน้อยก็หาไม่]


ก็เพื่อแสดงเหตุและปัจจัยนั้น ในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สารีปุตฺต วิปสฺสี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิลาสุโน อเหสํ ความว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้น ไม่ทรงใฝ่พระทัยเพราะความเกียจคร้าน ก็หา
มิได้. จริงอยู่ ความเกียจคร้านก็ดี ความมีพระวิริยภาพย่อหย่อนก็ดี ของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หามีไม่. เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะทรง
แสดงธรรมแก่จักรวาลหนึ่งก็ดี สองจักรวาลก็ดี จักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ย่อมทรง
แสดงด้วยพระอุตสาหะเสมอกันทีเดียว ครั้นทอดพระเนตรเห็นบริษัทมีจำนวน
น้อยแล้ว ทรงลดมีพระวิริยภาพลงก็หาไม่ ทั้งทอดพระเนตรเห็นบริษัทมีจำนวน
มากแล้ว ทรงมีพระวิริยภาพมากขึ้นก็หาไม่. เหมือนอย่างว่า พญาสีหมฤคราช
ล่วงไป 7 วัน จึงออกไปเพื่อหากิน ครั้นพบเห็นสัตว์เล็กหรือใหญ่ก็ตาม
ย่อมวิ่งไปโดยเชาว์อันเร็ว เช่นเดียวกันเสมอ, ข้อนั้น เพราะเหตุแห่งอะไร ?
เพราะเหตุแห่งความใฝ่ใจว่า ความเร็วของเราอย่าได้เสื่อมไป ดังนี้ ฉันใด
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงธรรมแก่บริษัท จะมีจำนวน
น้อยหรือมากก็ตาม ก็ด้วยพระอุตสาหะเสมอกันทั้งนั้น, ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุแห่งความใฝ่พระทัยอยู่ว่า เหล่าชนผู้หนักในธรรมของเรา อย่าได้
เสื่อมไป ดังนี้. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงหนักในธรรม ทรงเคารพ
พระธรรมแล. เหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้ทรง
แสดงธรรมโดยพิสดาร ดุจ (วลาหกเทวดา) ยังมหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมอยู่
ฉันใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น หาได้แสดงธรรม
ฉันนั้นไม่.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะความที่สัตว์ทั้งหลาย มีธุลี คือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย
เบาบาง.

ดังได้สดับมาว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายมี
อายุยืนนาน ได้เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อยเบาบาง. สัตว์เหล่านั้น
พอได้สดับแม้พระคาถาเดียว ที่ประกอบด้วยสัจจะ 4 ย่อมบรรลุธรรมได้ ;
เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงไม่ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร. ก็
เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ นวังคสัตถุศาสน์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น คือ สุตตะ
เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
จึงได้มีน้อย. ความที่นวังคสัตถุศาสน์มีสุตตะเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในคำว่า อปิปกญฺจ เป็นต้นนั้น เป็นต่าง ๆกัน ข้าพเจ้าได้กล่าว
ไว้แล้วในวรรณนาปฐมสังคีตินั้นแล.

[พระวิปัสสีเป็นต้นหาได้ทรงบัญญัติสิกขาบทเป็นต้นไม่]


หลายบทว่า อปฺปญฺญตฺตํ สาวกานํ สิกฺขาปทํ ความว่า สิกขาบท
คือข้อบังคับด้วยอำนาจอาบัติ 7 กอง ที่ควรทรงบัญญัติ โดยสมควรแก่โทษ
อันพระพุทธเจ้ามีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ แก่พระสาวก
ทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ไม่มีโทษ.
สองบทว่า อนุทฺทิฏฺฐํ ปาฏิโมกฺขํ ความว่า พระปาฏิโมกข์คือ
ข้อบังคับ ก็มิได้ทรงแสดงทุกกึ่งเดือน. พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ทรงแสดง
เฉพาะโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น และแม้โอวาทปาฏิโมกข์นั้น ก็มิได้แสดงทุก
กึ่งเดือน. *จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี ทรงแสดงโอวาทปฏิโมกข์
6 เดือนต่อครั้ง ๆ ก็แลโอวาทปาฏิโมกข์นั้น ทรงแสดงด้วยพระองค์เองทั้งนั้น.
ส่วนพวกสาวกของพระองค์มิได้แสดงในที่อยู่ของตน ๆ ภิกษุสงฆ์แม้ทั้งหมด
ในสกลชมพูทวีป กระทำอุโบสถ ในที่แห่งเดียวเท่านั้น คือในอุทยาน-
* พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป. ธ. 9 ) วัดสัมพันธวงค์ แปล